ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก สิงหาคม, 2013

มูลค่าหุ้นตามแฟรนไชด์ (ต่อ 1)

เมื่อธุรกิจมีมูลค่าแฟรนไชด์ ย่อมแปรเปลี่ยนไปเป็นมูลค่าหุ้นตามแฟรนไชด์ ทั้งนี้เพราะหุ้นเป็นของเจ้าของธุรกิจและเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจ ดังสมการต่อไปนี้                           ธุรกิจ = เจ้าหนี้ + เจ้าของธุรกิจ อาจเทียบเคียงได้กับสมการบัญชี คือ ธุรกิจ คือ สินทรัพย์   หนี้สิน คือ เจ้าหนี้   และ เจ้าของธุรกิจ คือ ส่วนของผู้ถือหุ้น  ดังนั้นมูลค่าแฟรนไชด์ของธุรกิจ จะไปแสดงทั้งหมดในส่วนของของผู้ถือหุ้นและจะสะท้อนออกมาในมูลค่าที่แท้จริงของหุ้น (IVPS) และสุดท้ายจะไปปรากฎในราคาหุ้น (Market Price) เหตุที่มูลค่าแฟรนไชด์ของธุรกิจไม่ได้เป็นของเจ้าหนี้ เพราะเจ้าหนี้ได้รับค่าตอบแทนที่ชัดเจนแล้วในรูปแบบดอกเบี้ยจ่ายจึงไม่มีสิทธิใดๆทั้งสิ้นกับมูลค่าแฟรนไชด์ของธุรกิจ หากเข้าใจหลักการที่กล่าวมาข้างต้นนี้ ท่านจะรู้ทันทีว่าการกู้เงินมาทำธุรกิจที่มีแฟรนด์ไชด์จะสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผู้ถือหุ้นเป็นอย่างมาก ท้้งนี้เพราะมูลค่าแฟรนไชด์ตกเป็นของผู้ถือหุ้นแต่เพียงฝ่ายเดียว                         มูลค่าแฟรนไชด์ของธุรกิจ วัดได้จาก  ROCE                           มูลค่าแฟรนไชด์ของหุ้น วัดได้จาก ROE  

มูลค่าหุ้นตามแฟรนไชด์

มูลค่าหุ้นตามแฟรนด์ไชด์ คือ มูลค่าแฟรนด์ไชด์ของธุรกิจ ซึ่งหมายถึง ธุรกิจนั้นมีความได้เปรียบในการแข่งขันเมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมของตนเอง โดยความได้เปรียบในการแข่งขัน (Competitive Advantage) ประกอบด้วยรายละเอียดหลักๆดังนี้ 1) สัมปทาน หรือ ใบอนุญาตจากรัฐ  ส่งผลให้เกิดการกีดกันการแข่งขันทางการค้าที่รุนแรง เพราะผู้ได้สัมปทานจะมีจำนวนจำกัด และสามารถกำหนดราคากันได้เอง 2) ส่วนแบ่งการตลาด (Market Share) ขนาดใหญ่ ส่งผลให้เกิดการประหยัดขนาดในธุรกิจนำไปสู่ต้นสินค้าและบริการที่ต่ำ กล่าวคือ ธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีส่วนแบ่งการตลาดสูงมากจะมีอำนาจในการต่อรองซื้อสินค้าจากผู้ผลิตในราคาที่ต่ำกว่าธุรกิจขนาดเล็ก 3) ความต้องการสินค้าของผู้บริโภคที่ยั่งยืน กล่าวคือ สินค้านั้นมีแบรนด์ที่่ได้รับการยอมรับจากผู้บริโภค ซึ่งส่งผลให้สินค้านั้นเกิดการซื้อซ้ำๆในอนาคต ด้วยการที่ธุรกิจมีแฟรนไชด์ย่อมส่งผลให้มีความธุรกิจสามารถทำกำไรได้สูงกว่าอุตสาหกรรมของตนเอง ซึ่งสามารถวิเคราะห์ได้จากงบการเงินที่ผ่านมา โดยใช้อัตราส่วนทางการเงินดังต่อไปนี้                         ผลตอบแทนของเงินลงทุน (ROCE)  =  กำไรจากการดำเนินงาน x

แกะรอยมูลค่าหุ้นที่แท้จริง

มูลค่าหุ้นที่แท้จริง (Intrinsic Value per Share : IVPS ) ประกอบด้วยมูลค่าหลัก 3 ส่วนด้วยกันดังต่อไปนี้ [การคำนวณหามูลค่าที่แท้จริงของหุ้นได้อธิบายแล้วในบทความก่อนหน้านี้] มูลค่าส่วนที่ 1 คือ มูลค่าหุ้นตามบัญชี (Book Value per Share : BVPS ) คำนวณได้ตามงบดุล หรือ ปัจจุบันเรียกกันว่า งบแสดงฐานะการเงิน ซึ่งมีสมการดังนี้                                   มูลค่าหุ้นตามบัญชี = ส่วนของผู้ถือหุ้น                                                                    จำนวนหุ้นที่ชำระแล้ว  มูลค่าส่วนที่ 2 คือ มูลค่าหุ้นตามแฟรนไชด์ (Franchise Value per Share : FVPS ) คำนวณได้จากส่วนต่างของมูลค่าหุ้นที่แท้จริงที่ไม่มีการเติบโตของกำไรกับมูลค่าหุ้นตามบัญชี มีสมการดังนี้                    มูลค่าหุ้นตามแฟรนไชด์ = มูลค่าหุ้นที่แท้จริง  - มูลค่าหุ้นตามบัญชี  มูลค่าส่วนที่ 3 คือ มูลค่าหุ้นตามการเติบโต (Growth Value per Share : GVPS) คำนวณได้จากส่วนต่างของมูลค่าหุ้นที่แท้จริงที่มีการเติบโตของกำไรกับมูลค่าหุ้นตามบัญชีและมูลค่าตามแฟรนไชด์ ซึ่งมีสมการดังนี้                  มูลค่าหุ้นตามการเต