ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤษภาคม, 2014

เขียนแผนธุรกิจ

หากท่านสนใจจะทำธุรกิจส่วนตัวด้วยตนเอง หรือ ต้องการเขียนแผนธุรกิจเพื่อใช้ในงานของตนเอง โดยยังคงต้องการรู้การจัดทำประมาณการงบการเงิน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญมากที่ทำให้แผนธุรกิจนั้นสมบูรณ์ครบถ้วน ท่านสามารถอ่านหนังสือ  “เขียนแผนธุรกิจ  สร้างงบการเงิน ด้วยตนเอง”   หนังสือเล่มนี้ผู้เขียนเรียบเรียงจากประสบการณ์ในการทำงานร่วมกับความคิดความเข้าใจเรื่องการวิเคราะห์งบการเงิน การบริหารงบการเงิน และการจัดทำแผนธุรกิจ (Business Plan) ในช่วงระยะเวลาหลายปี ดังนั้นเทคนิคที่ใช้ในการสร้างแบบจำลองทางการเงิน (Financial Model) จึงเป็นรูปแบบเฉพาะตัว ซึ่งนำมาพัฒนาและดัดแปลงให้ง่ายในการเรียนรู้ โดยใช้เพียงฟังก์ชันพื้นฐานของโปรแกรม EXCEL และการสร้างแผนธุรกิจนี้ได้มีการอ้างถึงหลักการบัญชีและการเงินพื้นฐาน ซึ่งสรุปเนื้อหาเป็นหมวดหมู่เพื่อให้ง่ายในการจดจำและทำความเข้าใจ ตลอดระยะเวลาการเขียนหนังสือเล่มนี้ผู้เขียนมีความตั้งใจอย่างแน่วแน่ที่จะถ่ายทอดความรู้เชิงปฏิบัติให้แก่ผู้อ่านมากที่สุดเสมือนเป็นการสนทนาร่วมกันระหว่างผู้อ่านกับผู้เขียน โดยที่ผู้อ่านควรทดลองปฏิบัติการสร้างแบบจำลองในระหว่างการอ่านด้วย เพื่อให้เกิดคว

ทำธุรกิจส่วนตัว ใครว่ายาก…

จากการที่ผมเป็นคนชอบอ่านหนังสือหลากหลายประเภท โดยเฉพาะหนังสือที่ชื่นชอบเป็นพิเศษ คือ หนังสือที่มีเนื้อหาอ่านแล้วเกิดการเปลี่ยนแปลงชีวิตเราได้ เพราะคุ้มค่ากับเวลาที่เสียไปในการอ่าน เนื่องจาก “เวลา คือ ชีวิต นั่นเอง”   สำหรับหนังสือเล่มหนึ่งที่อ่านแล้วรู้สึกประทับใจและสร้างแรงบันดาลใจในการเปลี่ยนชีวิตจากลูกจ้างมาเป็นเจ้าของธุรกิจ คือ หนังสือ “ทำธุรกิจส่วนตัว ใครว่ายาก….” เป็นผลงานของ บริษัท เอฟ พี เอ็ม คอนซัลแท้นท์ จำกัด ซึ่งผู้เขียนเองเป็นเจ้าของบริษัทฯ และสามารถสร้างธุรกิจขึ้นมาจากสองมือเปล่า อีกทั้งเนื้อหาของหนังสือแทบทั้งหมดกลั่นกรองมาจากประสบการณ์ทำธุรกิจล้วนๆ มันจึงมีคุณค่าเป็นอย่างยิ่งที่ผมควรจะแบ่งปันเรื่องราวเหล่านี้แก่สังคม เนื้อเรื่องของหนังสือเป็นการถามและตอบ ระหว่างลูกศิษย์กับอาจารย์ โดยลูกศิษย์ตั้งใจจะลาออกมาทำธุรกิจส่วนตัว ซึ่งการที่ลูกศิษย์ต้องการจะทำธุรกิจส่วนตัวจึงเกิดคำถามมากมาย ส่วนอาจารย์เองก็สามารถตอบคำถามเหล่านั้นได้อย่างตรงไปตรงมาตามหลักวิชาการ และอ้างอิงประสบการณ์ในการทำธุรกิจของตนเองที่ผ่านมาโชกโชน อาจารย์สอน….วิธีค้นหาธุรกิจด้วยตนเอง…อุบายในการเอาชนะจิตใจ

Beta หุ้น

ค่า Beta หุ้น เป็นการวัดความเสี่ยงของหุ้นเทียบกับตลาดหลักทรัพย์ ขอขยายความดังนี้ หุ้น A ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ประเทศไทยมีค่า Beta เท่ากับ 1.0 หมายถึง ราคาหุ้น A จะเคลื่อนไหวเท่ากับการเคลื่อนไหวของตลาดหลักทรัพย์ประเทศไทย หรือ เท่ากับ SET INDEX ตัวอย่างเช่น หุ้น A มี Beta เท่ากับ 1.0 ดังนั้นหาก SET INDEX เพิ่มขึ้น 10% ราคาหุ้นต้องเพิ่มขึ้น 10% เท่ากัน เป็นต้น ในทำนองเดียวกัน หาก SET INDEX ลดลง 10% ราคาหุ้นต้องลดลง 10% เท่ากัน หุ้น B ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ประเทศไทยมีค่า Beta เท่ากับ 2.0 หมายถึง ราคาหุ้น B จะเคลื่อนไหวเป็น 2 เท่าของการเคลื่อนไหว SET INDEX ตัวอย่างเช่น หุ้น B มี Beta เท่ากับ 2.0 ดังนั้นหาก SET INDEX เพิ่มขึ้น 10% ราคาหุ้นต้องเพิ่มขึ้น 20% เป็นต้น ในทำนองเดียวกัน หาก SET INDEX ลดลง 10% ราคาหุ้นต้องลดลง 20% หุ้น C ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ประเทศไทยมีค่า Beta เท่ากับ 0.5 หมายถึง ราคาหุ้น B จะเคลื่อนไหวเป็นครึ่งหนึ่งของการเคลื่อนไหว SET INDEX ตัวอย่างเช่น หุ้น C  มี Beta เท่ากับ 0.5 ดังนั้นหาก SET INDEX เพิ่มขึ้น 10% ราคาหุ้นต้องเพิ่มขึ้น 5% เป็นต้น ใ