ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก 2016

กระบวนการลงทุนแนว VI

หลักการลงทุนหุ้นแบบนักธุรกิจ

หุ้นเป็นทรัพย์สินที่มีมูลค่าในตัวมันเอง เหมือนกับสินทรัพย์ประเภทอื่นในโลกที่มีมูลค่าในตัวมันเอง ดังท่านจะเห็นได้จาก ที่ดิน พันธบัตร ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ต่าง อาทิ ทองคำ เงิน และโลหะมีค่าอื่นๆ แต่หุ้นอาจมีความแตกต่างจากทรัพย์สินประเภทอื่นตรงที่มูลค่าหุ้น หรือ มูลค่าที่แท้จริง (Intrinsic Value : V) ถูกกำหนดโดยกำไรในอนาคต หรือ เรียกว่าให้ชัดเจนไปเลยก็คือ กำไรสุทธิต่อหุ้นในอนาคต (EPS1) เมื่อมูลค่าหุ้น (V) มีความเกียวข้องโดยตรงกับกำไรสุทธิต่อหุ้นในอนาคต (EPS1) ดังนั้นเมื่อเราคาดการณ์กำไรสุทธิในอนาคต (EPS1) ได้ เราก็ทราบมูลค่าหุ้น (V) ได้ทันที ซึ่งการคาดการณ์ EPS1 ได้อย่างแม่นยำนั้น ต้องมีความรู้ความเข้าใจธุรกิจเป็นอย่างดี การจะเข้าใจธุรกิจได้เป็นอย่างดีนั้น ต้องอาศัยการศึกษาลงไปในตัวธุรกิจซึ่งสามารถทำได้อย่างง่ายดายในปัจจุบัน เพราะบริษัทจดทะเบียนทั้งหมดในประเทศไทยต้องเผยแพร่ข้อมูลการประกอบธุรกิจกับตลาดหลักทรัพย์ ที่ www.set.or.th มีรายละเอียดประกอบด้วย รายงานประจำปี (Annual Report) และแบบ 56-1 การอ่าน อ่าน และอ่าน เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพที่สุดที่จะทำให้ท่านเข้าใจธุรกิจอย่างรวดเร็ว

ช่วงเวลาในการซื้อขายหุ้น (Investment Timing)

ราคาหุ้นในตลาดหุ้น (Market Price) ถูกกำหนดมาจากปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก โดยมีรายละเอียดดังนี้ ปัจจัยภายนอก (External Factor) คือ ปัจจัยที่ไม่ได้มาจากกิจการโดยตรงซึ่งเป็นปัจจัยที่กิจการไม่สามารถควบคุมได้ เช่น กระแสเงินเงินทุนไหลออกและไหลเข้า (Fund Flow) วิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ การอัดฉีดเงินของธนาคารกลางของสหรัฐฯและยุโรป การลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ การปรับลดค่าเงินหยวน สงครามระหว่างประเทศและการก่อการร้ายในกลุ่มประเทศยุโรป จนถึง ตลาดหุ้นในสหรัฐอเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น และจีน ปรับตัวเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างรุนแรง การปรับลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล การปรับเพิ่มขึ้นหรือลดลงของราคาน้ำมัน การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ การเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมของธนาคาร การกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล การเปิดเสรีการค้าระหว่างประเทศ เป็นต้น ปัจจัยภายใน (Internal Factor) คือ ปัจจัยที่มาจากกิจการโดยตรง เช่น การขยายตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ การขยายไปสู่ธุรกิจใหม่ การขายหุ้นเพิ่มทุน การควบรวมกิจการ การซื้อและขายกิจการ การเพิ่มอัตราการก่อหนี้ในกิจการ การปิดบริษัทย่อย

ราคาหุ้น VS กำไรสุทธิต่อหุ้น

การลงทุนในหุ้นแบบใช้วิธีการวิเคราะห์กิจการ หรือ ที่เราเรียกนักลงทุนประเภทนี้ว่า “นักลงทุนปัจจัยพื้นฐาน” มีปรัชญาในการลงทุนก็คือต้องการรักษาเงินต้นให้ได้ตลอดระยะเวลาการลงทุน โดยเขามีแนวคิดว่า หากรักษาเงินต้น หรือ เงินลงทุนได้ จะมีกำไรจากจาการลงทุนเอง ซึ่งจะเห็นว่า การลงทุนแบบนี้มีความระมัดระวังสูง (Conservative) มากในการลงทุน เครื่องมือในการป้องกันการขาดทุน จะใช้ การอ่านค่าและวิเคราะห์งบการเงินเป็นหลัก ซึ่งสามารถจะหาข้อมูลงบการเงินได้จากเว็บไซด์ตลาดหลักทรัพย์ www.set.or.th โดยบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์จะมีการเผยแพร่งบการเงินของตนเอง ประกอบด้วย งบกำไรขาดทุน (Income Statement) งบแสดงฐานะการเงิน (Financial Position Statement) และงบกระแสเงินสด (Cash Flow Statement) เป็นประจำทั้งรายไตรมาส รายครึ่งปี ราย 9 เดือน และรายปี งบกำไรขาดทุน ประกอบด้วย รายได้ และค่าใช้จ่าย เมื่อ รายได้ มากกว่า ค่าใช้จ่าย ก็จะเป็นกำไร (Net Profit) ในทางกลับกัน เมื่อ รายได้ น้อยกว่า ค่าใช้จ่าย ก็จะเป็นขาดทุน (Net Loss) การที่บริษัทมีกำไรจะทำให้ ราคาหุ้นปรับตัวสูงขึ้น ในทางกลับกัน บริษัทมีผลขาดทุนจะทำให้ ราคาหุ

แผนภาพ ทำไมราคาหุ้นหยุดตก (ต่อ)

P/BV สูง ควรลงทุน ? ตอนที่ 1

ลูกศิษย์ : หุ้นบางตัว P/BV สูงมาก เพราะอะไรครับ อาจารย์ :  ก่อนไปถึง P/BV อยากให้ทำความเข้าใจ BV หรือ มูลค่าหุ้นตามบัญชี (Book Value) ก่อน เป็นอันดับแรกโดยสมการของ BV แสดงได้ดังต่อไปนี้ BV =  ส่วนของผู้ถือหุ้น / จำนวนหุ้นที่ชำระแล้ว ตัวอย่าง หุ้น XZY มีสินทรัพย์เท่ากับ 2,000 ล้านบาท และหนี้สินเท่ากับ 1,000 ล้านบาท ส่วนของผู้ถือหุ้นตามที่ปรากฎในงบดุล คือ 1,000 ล้านบาท และมีจำนวนหุ้นที่ชำระแล้วเท่ากับ 100 ล้านหุ้น ดังนั้น BV จะเท่ากับ 10 บาทต่อหุ้น โดยมีรายการคำนวนดังนี้ BV =  ส่วนของผู้ถือหุ้น / จำนวนหุ้นที่ชำระแล้ว = 1,000 / 100 = 10 บาทต่อหุ้น หากเราไปดูสมการบัญชีก็คือ สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของผู้ถือหุ้น เราจะพบว่างบการเงินจะบันทึกสินทรัพย์เฉพาะที่ประเมินมูลค่าได้อย่างชัดเจนเท่านั้น ที่วัดค่าไม่ได้จะไม่บันทึก เช่น เทคนิคพิเศษในการผลิตสินค้า เครือข่ายในการขายสินค้า และแบรนด์สินค้า เป็นต้น ดังนั้น สินทรัพย์ที่แสดงในงบการเงินอาจจะถูกบันทึกแบบปลอดภัยไว้ก่อน (Conservative) ทำให้สินทรัพย์ถูกบันทึกไว้ต่ำกว่ามูลค่าที่ควรจะเป็นก็ได้ สมมติต่อว่าหุ้น XZY มีแบรนด์สินค้าที่มีชื