ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก เมษายน, 2014

หลักเกณฑ์การวัดหุ้นถูก...แพง

การวัดว่าหุ้นถูกหรือแพง สามารถวัดได้จากมูลค่าที่แท้จริงของหุ้น (Intrinsic Value : IV) นั้นเทียบกับราคาตลาด (Market Price : MP) ในขณะนั้น หาก IV มากกว่า MP แสดงว่าราคาหุ้นถูก ในทางกลับกันหาก IV ต่ำกว่า MP แสดงว่าราคาหุ้นแพง เขียนเป็นสมการได้ดังนี้ X = IV – MP หาก X เป็นบวก แสดงว่าหุ้นถูก หรือ หุ้นต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง (Undervalued) ควร “ซื้อ” หาก X เป็นลบ แสดงว่าหุ้นราคาแพง หรือ หุ้นสูงกว่ามูลค่าที่แท้จริง (Overvalued) ควร “ขาย” ตัวอย่างเช่น หุ้น ABC มี IV เท่ากับ 10 บาท และ MP เท่ากับ 5 บาท ดังนั้น กรณีนี้หุ้น ABC เป็นหุ้นราคาถูก เพราะ IV มากกว่า MP เท่ากับ 5 บาท (10 – 5) ดังนั้นสรุปได้ว่าหุ้น ABC ควรซื้อ แต่สมมติว่าต่อมาหุ้น ABC ราคาเพิ่มขึ้นเป็น 15 บาท ดังนั้นกรณีหุ้น ABC เป็นหุ้นราคาแพง เพราะ IV ต่ำกว่า MP เท่ากับ 5 บาท (5-10) สรุปได้ว่าหุ้น ABC หากมีควรขาย แต่หากเป็นนักเก็งกำไรก็ยืมหุ้นมาขาย (Short) และรอให้หุ้นตกลงมาแล้วซื้อหุ้นคืน การคำนวณหา IV สามารถทำได้โดยการคำนวณโดยใช้แบบจำลองกระแสเงินสดส่วนลด (Discounted Cash Flow : DCF) โดยรายละเอียดท่านสามารถอ่านได้ในหนังสือ &quo

เจ้าสัว...ทำงานเพื่อค้นพบตัวเอง

สงกรานต์ปี 2556 ที่ผ่านมา เจ้าสัวได้เล่าระลึกถึงความหลังครั้งเมื่อสมัยเด็ก แกเล่าให้ฟังว่า แกเกิดมาในครอบครัวยากจนมีพี่น้องร่วมท้องเดียวกันทั้งหมด 4 คน แกเป็นพี่คนโตสุด มีน้องสาว 2 คน และน้องชายสุดท้องอีก 1 คน พ่อกับแม่เป็นคนจีนที่อพยพมาจากจีนแผ่นดินใหญ่ เดินมาเมืองไทยด้วยสองมือเปล่า แต่เต็มไปด้วยจิตใจที่เป็นนักต่อสู้ ขยันแบบทะลุโลก อดทนทุ่มเทอย่างคนทั้งโลกต้องยอมรับ แต่ที่สำคัญที่สุดแม้ยากจนอย่างไรแต่ครอบครัวของแกก็รักกันมาก ซึ่งสามารถชดเชยสิ่งที่ขาดหายไปไม่ว่าจะเป็นความลำบากกายในการยังชีพ และลำบากใจจากการทนต่อการดูถูกเหยียดยามจากสังคมรอบตัวในเวลานั้น  นับตั้งแต่แกจำความได้ แกไม่เคยเห็นพ่อกับแม่หยุดทำงานเพื่อจะไปเที่ยวที่ไหน แกเห็นท่านทั้งสองทำงานอยู่ตลอดเวลาตั้งแต่ตื่นจนหลับ แกเคยถามพ่อว่าทำไมถึงต้องทำงานหนักขนาดนี้ พ่อหันมาตอบพร้อมกับรอยยิ้มที่ยังคงตรึงอยู่ในใจแกว่า  “ทำงานเพื่อให้ครอบครัวเรามีชีวิตที่ดีขึ้น และลูกๆได้มีอนาคตได้ทำตามความฝันของตัวเอง สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ ทำงานเพื่อตัวเอง และสะสมนิสัยเหลื่านี้ให้ติดตัวไปอีกนานแสนนาน” แกย้อนมาสอนผมว่า คนทำงานแทบทุกคนคิดว่าการไปท

ต้นทุนเงินทุน (WACC)

ต้นทุนเงินทุน (Cost of Capital) หรือ ที่นิยมเรียกกันโดยทั่วไป คือ WACC (Weighted Average Cost of Capital) หมายถึง ต้นทุนทางการเงินเฉลี่ยของเงินทุน  มีประโยชน์เพื่อใช้ในการตัดสินใจว่าควรลงทุนหรือไม่ควรลงทุนในโครงการใดบ้างของบริษัท เช่น คุ้มค่าหรือไม่ที่จะลงทุนในโครงการใหม่ของบริษัท เป็นต้น อีกทั้ง WACC นี้ยังสามารถใช้ในการคำนวณหามูลค่าของกิจการ (Enterprise Value) และมูลค่าที่แท้จริงของหุ้น (Intrinsic Value of Stock) ได้อีกด้วย WACC ประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก 2 ประเภท คือ :- ประเภทที่ 1 ต้นทุนจากการเงินกู้ยืม หรือ ที่เข้าใจโดยทั่วไป คือ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืม (kd)   ประเภทที่ 2 ต้นทุนจากเงินทุนของผู้ถือหุ้น  หรือ ที่เข้าใจโดยทั่วไป คือ อัตราผลตอบแทนจากเงินปันผล (ke) เพื่อความง่ายในการทำความเข้าใจ WACC ขอยกตัวอย่างประกอบดังนี้ บริษัท A มีเงินทุนประกอบด้วย เงินกู้จากเจ้าหนี้ที่มีดอกเบี้ย 100 ล้านบาท และเงินทุนจากผู้ถือหุ้น 100 ล้านบาท ดังนั้นเงินทุนทั้งหมดของกิจการ A คือ เงินกู้จากเจ้าหนี้ฯ + เงินทุนจากผู้ถือหุ้น = 100 + 100 ล้านบาท เท่ากับ 200 ล้านบาท 1) เจ้าหนี้ธนาคารคิดอัตรา