ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กรกฎาคม, 2013

บทสุดท้ายของไดอารี่พ่อ

บทสุดท้ายของไดอารี่มีข้อความดังนี้ มันคงจะดีหากพ่อได้มีโอกาสบอกกับเดี่ยวด้วยตัวของพ่อเอง แต่หากพ่อไม่มีโอกาสได้บอกให้ลูกรู้ เพราะพ่ออาจจะจากไปก่อนเวลาอันควร พ่อก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่าไดอารี่เล่มนี้จะบอกเล่าเรื่องราวทั้งหมดแทนพ่อได้เป็นอย่างดี เมื่อครั้งที่ลูกอยากทำธุรกิจส่วนตัว แต่พ่อไม่เห็นด้วยนั่นเป็นเหตุที่ทำให้เราพ่อลูกต้องทะเลาะกัน ด้วยเหตุผลก็คือ พ่อคิดว่ามันไม่ใช่ช่วงเวลาที่เหมาะสมด้านความรู้ ประสบการณ์ และความพร้อมทางอารมณ์ ของเดี่ยว เปรียบเหมือนคำกล่าวที่ว่า ผลไม้ต้องรอเวลาสุก ความจริงแล้วพ่อก็อยากเห็นลูกมีธุรกิจส่วนตัวเช่นกัน ดังนั้นพ่อจึงได้ทำงานพิเศษเพื่อเก็บเงินไว้ให้ลูกเป็นทุนในการทำธุรกิจ ถึงแม้มันอาจจะไม่มากมาย แต่ก็พอที่จะเริ่มต้นทำธุรกิจได้ และพ่อขอให้ลูกอย่ามองข้ามสิ่งเล็กๆไป เพราะสิ่งเล็กๆเหล่านี้จะสร้างสิ่งที่ยิ่งใหญ่เสมอ ตัวอย่างเช่น เงินลงทุน 1.0 ล้านบาท หากลงทุนแล้วให้ผลตอบแทน 10% ต่อปี เรานำผลตอบแทนที่ได้มาลงทุนซ้ำอีกจะพบว่าอีก 10 ปีต่อมา เราจะมีเงินทั้งหมด 2.6 ล้านบาท ถ้าหากลงทุนเป็นระยะเวลา 20 ปี จะมีเงินทั้งหมด 6.7 ล้านบาท หรือหากลงทุนเป็นระยะเวลา 30 ปี

นักล่าอาณานิคมยุคโลกาภิวัฒน์ (ต่อ)

หลังจากวิกฤติประมาณสักประมาณ 2 ปี ก็ได้เวลาเริ่มเข้าสู่การลงทุนของกองทุนล่าอาณานิคม เพราะช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาที่สุกงอมและทราบแล้วว่าบริษัทจดทะเบียนใด (บริษัทที่มีหุ้นซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์) สามารถผ่านพ้นวิกฤติไปได้ แต่ยังคงบาดเจ็บและอ่อนแออยู่ ถ้าได้รับการเยียวยาที่ถูกต้องจะเกิดอาการ "เกือบตาย แล้วฟื้นคืนชีพ" หรือนักลงทุนเรียกกันว่าธุรกิจ / หุ้น ประเภท Turnaround โดยกองทุนเหล่านี้จะเสนอตัวเข้ามาซื้อหุ้นของบริษัทฯแบบเฉพาะเจาะจง (Private Placement) ในราคาถูกแสนถูก และบริษัทฯส่วนใหญ่ก็ยินดีจะขายด้วย เนื่องจาก ถ้าไม่ขายอาการเกือบตายอาจจะกลับไปตายได้ คือสูญเสียทุกอย่างให้กับเจ้าหนี้เงินกู้ เพราะอาจไม่มีกำลังจ่ายดอกเบี้ยและเงินต้น และจะถูกยึดทรัพย์ในที่สุด ดังนั้นการขายหุ้นครั้งนี้เปรียบได้กับการตัดอวัยวะเพื่อรักษาชีวิต กองทุนนักล่าเหล่านี้จะเลือกบริษัทที่มีลักษณะ คือ มีกำไรจากการดำเนินงาน แต่มีผลขาดทุนสุทธิ โดยผลขาดทุนสุทธินี้สาเหตุหลักมาจากดอกเบี้ยจ่ายที่มีจำนวนสูงมากซึ่งจะแสดงในรูปแแบบงบการเงินดังนี้ งบกำไรขาดทุน ก่อนขายหุ้นเพิ่มทุน หน่วย : ล้านบาท รายได้จากการขาย   

นักล่าอาณานิคมยุคโลกาภิวัฒน์

เหตุการณ์ในยุควิกฤติต้มยำกุ้งที่ผ่านมานั้นเป็นช่วงเวลานั้นที่่บริษัทส่วนใหญ่ประสบกับปัญหาหนี้สินล้นพ้นตัว ทั้งนี้เพราะกู้เป็นเงินสกุล US$ ในขณะที่อัตราเงินบาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ ได้ลอยตัวจาก 25 บาท/US$ ไปสูงเกินกว่าเท่าตัว อีกทั้งถูกกระหนำซ้ำเติมด้วยอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ได้ปรับตัวสูงขึ้นเป็นอย่างมากในช่วงเวลาสั้นๆ ส่งผลให้เกิดวิกฤตทางการเงินอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ บริษัทฯส่วนใหญ่รวมถึงสถาบันการเงินได้พังพินาศไปตามๆกัน บริษัทฯที่ประคองตัวอยู่ได้ส่วนใหญ่เป็นบริษัทที่เน้นการส่งออกเป็นหลัก เพราะรายได้เพิ่มขึ้นไปพร้อมกับค่าเงินบาทที่อ่อนตัว อย่างไรก็ตามยังคงประสบปัญหาหนี้รุมเร้าอยู่เหมือนเดิม เพราะทรัพย์สินส่วนใหญ่เป็นเงินบาท แต่ในขณะที่หนี้สินเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก ส่งผลให้ทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันไม่คุ้มกับมูลหนี้แล้ว เจ้าหนี้จึงบังคับหนี้คืนทันทีเพราะส่วนใหญ่ดันกู้เป็นหนี้ระยะสั้นที่เรียกคืนได้ตามเจ้าหนี้ต้องการ ส่งผลให้เกิดการขาดสภาพคล่องอย่างรุนแรง ขณะนั้นทรัพย์สินแทบทุกอย่างในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นที่ดินจนถึงหุ้นมีราคาถูกแสนถูกราวชั่งกิโลขาย กองทุนต่างชาติในซีกโลกตะวันตกใช้กลยุทธ์  WAIT &

ประเมินมูลค่าหุ้น ตอนที่ 2

2) การประเมินมูลค่าหุ้น โดยวิธีกระแสเงินสด (Discounted Cash Flow : DCF Model)   วิธีนี้ DCF Model นี้ได้รับการยอมรับมากที่สุด และนักลงทุนระดับโลกใช้วิธีนี้การคำนวณหามูลค่าหุ้นก่อนการตัดสินใจลงทุน                      V = มูลค่ากิจการ               CF = กระแสเงินสดคงเหลือสำหรับกิจการ                k = ต้นทุนทางการเงินเฉลี่ยของกิจการ เมื่อคำนวณมูลค่ากิจการได้แล้ว ให้นำหนี้สุทธิมาหักออกจากกิจการ ค่าที่ได้จะเป็นของผู้ถือหุ้น และเมื่อนำส่วนของผู้ถือหุ้นมาหารด้วยจำนวนหุ้น ค่าที่ได้จะเป็น มูลค่าที่แท้จริงของหุ้น (Intrinsic Value of Stock) โดยมีตัวอย่างบางส่วนประกอบดังต่อไปนี้               ตัวอย่างต่อไปนี้เป็นกรณีศึกษาบริษัทจำลอง "บริษัท ทริปเปิลบุ๊คแบงค์ จำกัด (มหาชน)" ซึ่งใช้เป็นตัวอย่างในหนังสือ เลือกหุ้น เล่นหุ้น ประเมินราคาหุ้นด้วยตนเอง ซึ่งมีรายละเอียดการคำนวณทั้งหมด ซึ่งท่านสามารถอ่านเพิ่มเติมได้จาก www.mebmarket.com จากการคำนวณข้างต้นพบว่า มูลค่าหุ้นที่แท้จริงเท่ากับ 11.62 บาท ในขณะที่ราคาหุ้นอยู่ที่ 5.3 บาท กรณีเช่นนี้ พบว่า หุ้นมีราคาถูก (Undervalue

ประเมินมูลค่าหุ้น ตอนที่ 1

การประเมินมูลค่าหุ้นยอดนิยมได้ถูกแบ่งเป็น 2 วิธี ดังนี้ 1) การประเมินมูลค่าหุ้น โดยใช้วิธีผลคูณ (Multiples Model) ซึ่งประกอบด้วยรายละเอียดดังนี้                                       มูลค่าหุ้น = P/E x EPS 1      โดยที่ P/E คือ ค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรมหุ้นที่ต้องการลงทุน               P คือ ราคาหุ้นในตลาดของอุตสาหกรรม               E คือ  กำไรสุทธิต่อหุ้นปีหน้าของอุตสาหกรรม               EPS 1 คือ กำไรสุทธิต่อหุ้นปีหน้าของหุ้นที่ต้องการลงทุน      ตัวอย่าง : หุ้น D อยู่ในอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ สมมติให้อุตสาหกรรมนี้มีหุ้นทั้งหมด 3 ตัว ไม่รวมหุ้น D โดยแต่ตัวมีราคาหุ้น และกำไรสุทธิต่อหุ้นปีหน้า ดังต่อไปนี้        หุ้น              ราคาหุ้น (บาท)          กำไรสุทธิต่อหุ้นปีหน้า (บาท)                                P                                           E                                         A                    10                                         1.0                  B                    20                                         1.8         C       

มูลค่าหุ้น VS. ราคาหุ้น

มูลค่าหุ้น (Value of Stock) คือ สิ่งที่นักลงทุนได้รับจากหุ้น ราคาหุ้น (Price of Stock) คือ สิ่งที่นักลงทุนจ่ายให้กับหุ้น การลงทุนที่ประสบความสำเร็จ คือ มูลค่าหุ้น มากกว่า ราคาหุ้น หรือ เรียกอีกแบบหนึ่งว่า "หุ้นราคาถูก (Undervalued)" เมื่อหุ้นราคาถูกย่อมมีโอกาสสูงมากที่หุ้นจะปรับราคาขึ้นในอนาคต เพราะไม่ช้าก็เร็วตลาดจะรับรู้และเข้าสู่จุดสมดุลในที่สุด ปรกติ เราสามารถจะหา หุ้นราคาถูก ได้เสมอ เมื่อตลาดเข้าสู่สภาวะหมีใหญ่ (กลัวจัด) ในทางกลับกัน การลงทุนที่ล้มเหลว คือ  ราคาหุ้น มากกว่า มูลค่าหุ้น   หรือ เรียกอีกแบบหนึ่งว่า "หุ้นราคาแพง (Overvalued)" เมื่อหุ้นราคาแพงย่อมมีโอกาสสูงมากที่หุ้นจะปรับราคาลงในอนาคต เพราะไม่ช้าก็เร็วตลาดจะรับรู้และเข้าสู่จุดสมดุลในที่สุดเช่นเดียวกัน ปรกติ เราสามารถจะพบ หุ้นราคาแพง ได้เสมอ เมื่อตลาดเข้าสู่สภาวะพญากระทิง (โลภจัด) หลักการลงทุนง่ายๆ คือ ซื้อหุ้นตอนตลาดหมีใหญ่ และขายหุ้นตอนตลาดพญากระทิง หรือ ซื้อถูก (Undervalued) ขายแพง (Overvalued) แต่หลักการนี้ถ้าคิดให้ดีฝืนความรู้สึกของคน คือ ให้ซื้อหุ้นในขณะที่ตลาดกำลังตกต่ำไปเรื่อยๆ

รางวัลของการชนะ ความกลัว VS. ความโลภ

บทความก่อนหน้านี้ได้เขียนเรื่องราวเกี่ยวกับความกลัวและความโลภในตลาดหุ้นซึ่งเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาในตลาดหุ้นไม่ว่าในประเทศใดก็ตาม เพราะตลาดหุ้นที่พัฒนาแล้ว เช่น อเมริกา ยุโรป และญี่ปุ่น ก็เผชิญกับเหตุการณ์เหล่านี้เช่นกัน เนื่องจากความกลัวและความโลภมีทุกหนทุกแห่งไม่ได้ยืนยันว่าคนที่มีความรู้มากกว่าจะควบคุมรู้สึกได้ดีกว่าคนที่มีความรู้น้อยด้อยกว่า ดังนั้นการเอาชนะตลาดหุ้นได้ในระยะยาวนั้นจึงเป็นเรื่องของสภาพจิตใจมากกว่าเรื่องความรู้ในการลงทุน  กล่าวโดยย่อคือ ตลาดหุ้นชนะกันด้วย EQ มากกว่า IQ อย่างไรก็ตามก่อนลงทุน ผู้ลงทุนต้องมีความรู้พื้นฐานในการลงทุนก่อน เพื่อจะได้เข้าใจว่ากระบวนขึ้นลงของหุ้นว่ามาจากสาเหตุใด เพื่อจะนำไปใช้ในการตัดสินใจในการลงทุนต่อไป ความรู้พื้นฐานในการลงทุนหุ้น คือ การเข้าใจธุรกิจ การเข้าใจงบการเงิน และสามารถวิเคราะห์งบการเงินได้ด้วยตนเอง เพราะ ราคาหุ้นเกี่ยวข้องโดยตรงกับผลประกอบการของหุ้นตัวนั้น   หากกิจการของหุ้นตัวนั้นมีกำไรสุทธิต่อหุ้น (Earnings per Share : EPS) เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ย่อมส่งผลให้ราคาของหุ้นตัวนั้นปรับตัวขึ้นด้วยในทิศทางเดียวกัน ในทางกลับกัน หากกิจการข

ความกลัว VS. ความโลภ

การลงทุนในหุ้นเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ในตัวของมันเอง ความเป็นศาตร์ คือ ความเหตุและมีผล ในขณะที่ความเป็นศิลป์ คือ ความไร้เหตุและผล ดังสังเกตได้จากบางครั้งราคาหุ้นก็ผันผวนไร้ทิศทางไม่สอดคล้องกับผลประกอบการของหุ้นต้วนั้น ซึ่งความมีเหตุผลและไร้เหตุผลในตัวเองนั้นก็สอดคล้องกับพื้นฐานของมนุษย์ ซึ่งบางครั้งก็กระทำสิ่งใดก็มีเหตุผล บางคร้้งก็มีแต่อารมณ์ความรู้สึกเป็นที่ตั้ง ดังนั้น หากต้องการเข้าใจหุ้นได้อย่างลึกซึ้ง คงต้องนับหนึ่งจากการเข้าใจมนุษย์ให้ได้เสียก่อน จำไว้เสมอว่า สิ่งมีชีวิตทุกชนิด มีสัญชาตณานในการป้องกันตัวเอง และรักตัวเองเป็นที่สุด คนก็เช่นเดียวกัน การป้องกันตัวเองของคนนั้นมีพื้นฐานมาจาก "ความกลัว" ในขณะที่การรักตัวเองนั้นมีพื้นฐานมาจาก "ความโลภ" นักลงทุนจึงเปรียบเทียบว่า ความกลัว = ตลาดหมี คือ ภาวะตลาดหุ้นตกต่ำ นิยมใช้สีแดงเป็นสัญลักษณ์ ยิ่งแดงมากยิ่งกลัวจัด ส่วน ความโลภ = ตลาดกระทิง คือ ภาวะตลาดหุ้นวิ่งกระจาย นิยมใช้สีเขียวเป็นสัญลักษณ์ ยิ่งเขียวมายิ่งโลภมาก เมื่อเราเข้าใจคนเพียงเสี้ยวเดียว คือ ความกลัว กับ ความโลภ ได้ เราก็สามารถสร้างผลกำไรจากตลาดหุ้นไ

ข้อมูลสำหรับทำธุรกิจ

ถาม :   ผมอยากทำธุรกิจส่วนตัว แต่ยังไม่ทราบว่าจะทำธุรกิจอะไรดี จะขออาจารย์ช่วยแนะนำให้ครับ ตอบ : ให้หาข้อมูลจากเว็บไซด์ตลาดหลักทรัพย์ : www.set.or.th ซึ่งมีบริษัทจดทะเบียนเป็นจำนวนมาก และคิดว่าแทบจะครอบคลุมธุรกิจเกือบทุกประเภท โดยข้อมูลสำคัญประกอบด้วย ผลการดำเนินงาน หาดูได้จาก รายงานประจำปี (Annual Report) และพื้นฐานธุรกิจ หาดูได้จาก แบบฟอร์ม 56-1 ตัวอย่างรายละเอียดอย่างย่อของรายงานประจำปี 1) ข้อมูลทั่วไป  ประกอบด้วยสถานที่ตั้งและที่ติดต่อของบริษัทมหาชนและกลุ่มบริษัทในเครือ  2) ข้อมูลคณะกรรมการบริษัท 3) สารจากประธาน แสดงถึงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารระดับสูงของบริษัทและการกำหนดทิศทางของธุรกิจในอนาคต 4) ผลการดำเนินงานและฐานะทางการเงินเปรียบเทียบย้อนหลัง ซึ่งประกอบด้วยงบกำไรขาดทุน งบดุล งบกระแสเงินสด และอัตราส่วนทางการเงิน 5) ลักษณะของธุรกิจ ทำให้ทราบว่าบริษัทดำเนินธุรกิจประเภทใด มีฐานการผลิตและการจัดจำหน่ายที่ใด และมีปัจจัยเสี่ยงใดบ้าง รวมทั้งนโยบายการบริหารความเสี่ยง 6) โครงสร้างการดำเนินธุรกิจของกลุ่มบริษัทฯ 7) โครงสร้างรายได้ของกลุ่มบริษัทฯ 8) รายชื่อผู้ถือหุ้นรายใหญ

ทำธุรกิจแบบไม่ใช่เงิน ตอนที่ 2

ถาม : ขอบคุณอาจารย์มากนะครับที่ตอบคำถามเรื่องการทำธุรกิจโดยไม่มีเงิน แต่ผมลองเช็คกับเจ้าหนี้การค้าแล้วว่าเขาจะให้เครดิตผมได้ยาวที่สุดกี่วัน เขาให้เครดิตผมเพียง 30 วัน ในขณะที่ระยะเวลาในการขายสินค้า และการให้เครดิตแก่ลูกค้า รวมกันยาวถึง 90 วัน ผมควรจะทำอย่างไรดีครับ แนะนำผมด้วยครับ ตอบ : จากสภาวะการณ์ของคุณ ทางออกที่ดีที่สุด คือ การขอวงเงินแฟคตอริ่ง (Factoring) กับแบงก์ ซึ่งเป็นวงเงินระยะสั้น โดยหลักการคือว่า คุณก็เอาลูกหนี้การค้าของคุณไปขายให้กับแบงก์ โดยแบงก์จะจ่ายเงินให้บางส่วน หลังจากแบงก์เรียกเก็บเงินกับลูกหนี้ของคุณได้แล้ว แบงก์ก็จะหักดอกเบี้ยและค่าใช้จ่ายอื่นๆของแบงก์ เหลือเท่าไหร่ก็จะคืนให้กับคุณ ตัวอย่างเช่น สมมติว่า คุณซื้อสินค้ามา 10 ล้านบาท ได้รับเครดิต 30 วัน ต่อมาคุณขายสินค้าได้ในวันที่ 30 ในราคา 12 ล้านบาท และได้ให้เครดิตกับลูกค้าอีก 60 วัน จะเห็นได้ว่า พอครบกำหนดการชำระหนี้ค่าสินค้า คุณไม่มีเงินจ่ายค่าสินค้า เนื่องจากกว่าจะเก็บเงินได้ก็ต้องใช้เวลา 90 วัน ถ้าคุณแก้ปัญหาด้วยการใช้วงเงินแฟคตอริ่ง จะทำให้คุณสามารถมีเงินจ่ายค่าสินค้าได้ แต่อาจจะได้กำไรไม่เต็มเม็ดเต็มหน

ทำธุรกิจแบบไม่ใช่เงิน ตอนที่ 1

ถาม : หลังจากเรียนจบปริญญาตรี ผมทำงานเป็นลูกจ้างมาเกือบ 10 ปี เก็บเกี่ยวประสบการณ์มาพอสมควร มาวันนี้ผมอยากจะลงมือทำธุรกิจของตนเอง แต่ขาดเงิน อาจารย์ พอมีวิธีการทำธุรกิจแบบไม่ต้องใช้เงินหรือเปล่าครับ ตอบ : การทำธุรกิจโดยไม่ต้องใช้เงินของตนเองสามารถทำได้ครับ วิธีการแบบนี้เขาเรียกกันว่า จับเสือมือเปล่า โดยมีหลักการดังนี้ ขออธิบายเป็นตัวอย่างเพื่อง่ายในการทำความเข้าใจ ขั้นตอนที่ 1) ขอเครดิตการค้ากับเจ้าหนี้การค้าให้ยาวเข้าไว้ สมมติว่าได้ 60 วัน ขั้นตอนที่ 2) ขายสินค้าโดยให้เครดิตกับลูกค้าให้สั้นมากที่สุด ถ้าได้เป็นเงินสดยิ่งดี สมมติว่าให้เครดิต 15 วัน ขั้นตอนที่ 3) ขายสินค้าให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ ซึ่งอาจทำโดยการขายยกล็อต สมมติว่าขายได้ต้องใช้เวลา 30 วัน หากคุณทำได้ตามขั้นตอน 1) – 3) จะพบว่า คุณไม่จำเป็นต้องมีเงินทุนทำธุรกิจ เนื่องจาก ได้เครดิตมา 60 วัน และได้รับเงินจากขายสินค้า 45 วัน ดังนั้น พอครบ 60 วัน คุณก็นำเงินไปจ่ายค่าสินค้า และเก็บกำไรที่ได้ใส่กระเป๋า ยกตัวอย่างเพิ่มเติม 1) ซื้อสินค้ามา 500,000 บาท และได้รับเครดิตจากเจ้าหนี้ 60 วัน 2) ขายสินค้าไปในราคา 600,000

บันได 3 ขั้นสู่อิสรภาพทางการเงิน

ถาม : ตอนนี้ผมทำงานเป็นลูกจ้างครับ และคิดว่าจะออกมาทำธุรกิจส่วนตัว ควรจะเริ่มต้นอย่างไรบ้าง ตอบ : ควรเริ่มต้นจาก “บันได 3 ขั้นสู่อิสรภาพทางการเงิน” โดยมีรายละเอียดดังนี้ บันไดขั้นแรก : ค้นหาธุรกิจ 1. เลือกหมวดอุตสาหกรรมจากตลาดหลักทรัพย์ที่ตัวเองมีความสนใจ หรือมีประสบการณ์โดยตรง หรือมีคนรู้จักที่อยู่ในอุตสาหกรรมนั้น 2. ศึกษาแนวโน้มของอุตสาหกรรมว่ามีทิศทางในระยะยาวเป็นอย่างไรเพื่อสรุปให้ได้ว่า อุตสาหกรรมอยู่ในช่วงขาลง หรือทรงตัว หรือช่วงขาขึ้น 3. เมื่อเลือกอุตสาหกรรมได้แล้ว ศึกษาบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในอุตสาหกรรมนั้นว่าสามารถทำกำไรได้หรือไม่จากงบการเงินย้อนหลัง และการแข่งขันมีความรุนแรงมากน้อยเพียงใด 4. ค้นหาว่าแต่ละบริษัทฯมีกลุ่มสินค้ากี่ประเภท ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายคือใคร และจัดจำหน่ายอย่างไร เพื่อที่จะนำมากำหนดตลาดเฉพาะ(Niche market) ของบริษัท บันไดขั้นสอง : ทำแผนการเงิน 1. กำหนดรูปแบบการทำธุรกิจ การตั้งบริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือ คณะบุคคล หรือ บุคคลธรรมดา 2. กำหนดประเภทธุรกิจว่าจะเป็นแบบ ผลิต หรือ ซื้อมาขายไป หรือ บริการ และมีการบริหารจัดการอย่างไร นับตั้งแต

แบงก์เวลาปล่อยกู้พิจารณาจากอะไร

ถาม : ผมเปิดบริษัทฯและทำธุรกิจมาแล้วประมาณ 3 ปี ตอนนี้ผมกำลังคิดจะกู้เงิน แบงก์เวลาปล่อยกู้ เขาพิจารณาจากอะไรบ้างครับ ตอบ : แบงก์จะใช้หลักการวิเคราะห์ 6C’s ซึ่งประกอบด้วยรายละเอียดอย่างย่อดังนี้ 1) Character หมายถึง ลักษณะของผู้ขอกู้ หรือกรณีท่านคือ บริษัท ว่ามีความตั้งใจในการชำระหนี้หรือไม่ ซึ่งพิจารณาได้จาก ประวัติการชำระหนี้ที่ผ่านมาของบริษัท ประวัติการถูกฟ้องร้องจากเจ้าหนี้ของบริษัท ความซื่อสัตย์และความมีธรรมภิบาลในการดำเนินธุรกิจของบริษัท เป็นต้น 2) Capacity หมายถึง ความสามารถในการชำระหนี้ของผู้ขอกู้ / บริษัท  ซึ่งพิจารณาได้จาก ความสามารถในการหารายได้ และความสามารถในการทำกำไรของบริษัท โดยดูได้จากงบการเงินที่ผ่านการตรวจสอบแล้วจากผู้สอบบัญชีรับอนุญาต 3) Capital หมายถึง ส่วนทุนของบริษัท โดยปกติแบงก์จะปล่อยกู้ไม่เกินส่วนทุนของบริษัท เหตุผลก็คือ แบงก์ต้องการให้ผู้ถือหุ้นซึ่งโดยมากก็จะเป็นเจ้าของกิจการ ไม่ทิ้งกิจการเวลาที่ธุรกิจประสบปัญหา ตัวอย่างเช่น ผู้ถือหุ้น/เจ้าของกิจการ ลงทุนเงิน 10 ล้านบาท แต่หากแบงก์ปล่อยกู้ให้แก่กิจการ 50 ล้านบาท จึงมีความเป็นไปได้ว่าเมื่อใดที่กิจการป

ควรมีทุนจดทะเบียนและชำระแล้วเท่าไหร่ดี

ถาม : ดิฉันกำลังคิดจะทำธุรกิจ อยากทราบว่าควรมีทุนจดทะเบียนและชำระแล้วเท่าไหร่ดีค่ะ ตอบ : คุณต้องประมาณเงินลงทุนทั้งหมด โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้ (1) ประมาณการเงินลงทุนสินทรัพย์ถาวร (2) ประมาณการเงินหมุนเวียนสุทธิ (Net Working Capital)  หลังจากนั้นคุณก็นำรายการที่ (1) บวกกับรายการที่ (2) แล้ว ผลรวมที่ได้คือ เงินลงทุนทั้งหมด ในกรณีที่คุณไม่ต้องการกู้เงิน เงินลงทุนทั้งหมดจะเป็นทุนที่ชำระแล้ว ตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์กำหนดไว้ว่า ผู้ถือหุ้นต้องชำระค่าหุ้นขั้นต่ำ 25% ของทุนจดทะเบียน ยกตัวอย่างเช่น หากคุณจดทะเบียน 1.0 ล้านบาท คุณต้องชำระค่าหุ้นขั้นต่ำ 250,000 บาท ส่วนที่เหลืออีก 75% ถือว่าเป็นภาระผูกพันของผู้ถือหุ้นที่มีต่อบริษัท ดังนั้นในกรณีที่บริษัทดำเนินธุรกิจจนเจ๊ง เจ้าหนี้สามารถใช้สิทธิบังคับให้ผู้ถือหุ้นชำระค่าหุ้นคงเหลืออีก 75% ซึ่งหมายความว่า หุ้นที่ชำระไม่ครบ 75% มีสถานะเป็นหนี้ของผู้ถือหุ้นนั่นเอง ตัวอย่าง การประมาณงินลงทุน เช่น บริษัท ABCD จำกัด มีสมมติฐานว่าปีหน้าจะมียอดขายประมาณ 10 ล้านบาท ต้นทุนขายประมาณ 7.5 ล้านบาท และงบประมาณการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรดังนี้ ค่าตก

ควรตั้งเป้ายอดขายขั้นต่ำเท่าไหร่

ถาม : ตอนนี้ผมทำธุรกิจส่วนตัว และต้องการตั้งเป้าหมายการขายให้กับฝ่ายขาย อาจารย์พอจะมีวิธีที่ใช้ประมาณการขายหรือเปล่าครับ ตอบ : การตั้งเป้าหมายในการขายให้กับฝ่ายขาย เราสามารถคำนวณหาได้จากจุดคุ้มทุนขาย (Break-Even point of Sales) คือ ยอดขายที่ทำไม่มีผลกำไรสุทธิและขาดทุนสุทธิ หรือ ยอดขายที่พอดีกับค่าใช้จ่ายของกิจการ หรืออีกนัยหนึ่ง คือยอดขายขั้นต่ำที่ต้องให้กับฝ่ายขาย โดยมีสูตรดังนี้                                              จุดคุ้มทุนขาย  =   ค่าใช้จ่ายคงที่                                                                        อัตรากำไรส่วนเกิน                              อัตรากำไรส่วนเกิน  =  ยอดขาย – ค่าใช้จ่ายผันแปร x 100%                                                                              ยอดขาย โดยที่  ค่าใช้จ่ายคงที่ คือ ค่าใช้จ่ายที่ไม่แปรผันตามรายได้ เช่น เงินเดือนของพนักงาน ค่าเช่า ค่าธรรมเนียมต่างๆ ค่าเสื่อมราคา เป็นต้น  ค่าใช้จ่ายผันแปร คือ ค่าใช้จ่ายที่แปรผันตามรายได้ เช่น ต้นทุนขาย ค่านายหน้าในการขายสินค้า ค่าใช้จ่ายในการขายอื่นๆ เป็นต้น ตัวอย่าง

ธุรกิจขาดทุนมาตลอด มีสภาพคล่องได้หรือไม่

ถาม : ธุรกิจขาดทุนมาตลอด จะมีสภาพคล่องได้ไหมครับ ตอบ : ขาดทุนที่บึนทึกตามบัญชี เป็นเกณฑ์สิทธิ ไม่ใช่เกณฑ์เงินสดครับ ดังนั้นกิจการที่มีแต่ผลขาดทุนอาจจะมีสภาพคล่องสูงได้  ตัวอย่างต่อไปนี้จะเป็นกิจการที่ขาดทุน แต่มีสภาพคล่องหรือเงินสด ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้    สมมติว่าบริษัท ABCD จำกัด มีงบกำไรขาดทุน ปีที่ 2 ดังนี้ รายได้จากการขาย             100 ล้านบาท ต้นทุนขาย                          90 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายในการบริหาร         20 ล้านบาท ขาดทุนก่อนหักภาษี             10 ล้านบาท ภาษี                                    -   ล้านบาท ขาดทุนสุทธิ                        10 ล้านบาท งบดุลส่วนสินทรัพย์ปีที่ 1 และปีที่ 2 ดังนี้ หน่วย : ล้านบาท                                         ปีที่ 1         ปีที่ 2 เงินสด                                 10             10 ลูกหนี้การค้า                         20             20 สินค้าคงเหลือ                       30             40 รวมสินทรัพย์หมุนเวียน           60             70 รวมสินทรัพย์ถาวร                  40             40 รวมสินทรัพย์

ธุรกิจมีกำไร ทำไมถึงขาดสภาพคล่อง

ถาม : ธุรกิจของผมก็มีกำไรอย่างสม่ำเสมอ ทำไมถึงขาดสภาพคล่องได้ล่ะครับ ตอบ : กำไรที่บึนทึกตามบัญชี เป็นเกณฑ์สิทธิ ไม่ใช่เกณฑ์เงินสดครับ ดังนั้นกิจการที่มีกำไรจึงอาจขาดสภาพคล่องได้ ตัวอย่าง  สมมติว่าบริษัท กขคง จำกัด มีงบกำไรขาดทุน ปีที่ 2 ดังนี้ รายได้จากการขาย                       100 ล้านบาท ต้นทุนขาย                                     70 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายในการบริหาร                    20 ล้านบาท กำไรก่อนหักภาษี                           10  ล้านบาท ภาษี                                               3  ล้านบาท กำไรสุทธิ                                        7 ล้านบาท หากดูจากผลการดำเนินงานข้างต้นจะเห็นว่ากิจการมีกำไร แต่เป็นกำไรตามเกณฑ์สิทธิ ดังนั้นหากต้องการดูสภาพคล่อง หรือสภาพเงินสด ต้องปรับตัวเลขใหม่โดยใช้สูตรดังนี้ รายได้จากการขาย เปลี่ยนเป็น เงินสดรับจากการขาย โดยใช้สูตรนี้ เงินสดรับจากการขาย = รายได้จากการขาย + ลูกหนี้การค้าต้นงวด – ลูกหนี้การค้าปลายงวด ต้นทุนขาย เปลี่ยนเป็น เงินสดจ่ายค่าสินค้า โดยใช้สูตรนี้ เงินสดจ่ายค่าสินค้า =  ซื้อ + เจ้าหนี้การค้าต้นงวด

มีกำไรสะสมมาก แต่ทำไมจ่ายปันผลได้น้อย

ถาม :    ธุรกิจที่ผมร่วมลงทุนมีกำไรสะสมเกือบ 100 ล้านบาท แต่ทำไมถึงไม่มีเงินจ่ายปันผลสัก 20 ล้านบาทให้กับผู้ถือหุ้นเลยครับ เงินมันหายไปไหนหมด ผมไม่เข้าใจเลย !!! ตอบ : กำไรสะสมไม่จำเป็นต้องเท่ากับเงินสด เพราะกำไรสะสมที่มีอยู่ในกิจการบ้างครั้งจะเปลี่ยนสภาพจากเงินสดไปเป็นสินทรัพย์อื่นแล้ว เช่น ลูกหนี้การค้า สินค้าคงเหลือ ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ เป็นต้น   ตัวอย่าง  สมมติว่าบริษัทมีกำไรสะสม 100 ล้านบาท ทุน 20 ล้านบาท หนี้สิน 30 ล้านบาท จะเห็นได้ว่า บริษัทมีส่วนของผู้ถือหุ้นและหนี้สินเท่ากับ 150 ล้านบาท (100+20+30)  ดังนั้นเราสามารถคำนวณหาสินทรัพย์ได้จากสมการบัญชีที่ว่า  สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของผู้ถือหุ้น  สินทรัพย์ = 30 + 100 + 20  = 150 จะเห็นได้ว่าสินทรัพย์ของกิจการจะเท่ากับ 150 ล้านบาท ซึ่งสินทรัพย์ของกิจการจะประกอบด้วยรายการหลักดังนี้  สินทรัพย์    =  สินทรัพย์หมุนเวียน + สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน  สินทรัพย์หมุนเวียน = เงินสด + ลูกหนี้การค้า + สินค้าคงเหลือ  สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน = ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ จากสูตรจะเห็นได้ว่า เงินสดเป็นเพียงส่วนหนึ่งของสินทรัพย์ สมมติว่า เงินสด

กำไรทุกปี แต่ทำไมไม่มีเงิน

คำถาม : ผมทำธุรกิจเกินกว่า 10 ปี แล้ว ทำไมไม่มีเงินเก็บสักทีครับ ทั้งที่บริษัทฯมีกำไรประมาณ 10% ของรายได้เกือบทุกปี แต่ทุกปีต้องคอยหาเงินเพิ่มเข้าไปในธุรกิจ มันเกิดอะไรขึ้นกับธุรกิจของผมครับ ตอบ : น่าจะเป็นไปได้ว่าธุรกิจของคุณเติบโตขึ้น โดยสังเกตได้จากยอดขายเพิ่มขึ้น ที่ดิน อาคารอุปกรณ์ เพิ่มขึ้น แต่เหตุที่ต้องหาเงินมาเพิ่มทุกปีเพราะว่ากำไรที่ได้รับไม่เพียงพอต่อเงินทุนหมุนเวียน และเงินลงทุนในสินทรัพย์ถาวรที่เพิ่มขึ้น ตัวอย่าง  สมมติว่าปีก่อนธุรกิจมีรายได้ 100 ล้านบาท เมื่อหักด้วยค่าใช้จ่ายทั้งหมด รวมทั้งภาษี 90 ล้านบาท ทำให้ธุรกิจมีกำไรสุทธิ 10 ล้านบาท หรือ คิดเป็น 10% ตามที่คุณบอก และสมมติต่อไปอีกว่ากำไรสุทธิ 10 ล้านบาท เป็นเงินสดทั้งหมดที่ 10 ล้านบาท แต่ในปีนี้คุณวางแผนไว้ว่าจะมียอดขายเพิ่มขึ้น 20% จากปีก่อน และต้องมีการลงทุนเปิดร้านค้าเพิ่มขึ้นอีกจำนวน 2 แห่ง จากแผนงานของคุณ อันดับแรกคุณต้องลองคำนวณหาเงินทุนหมุนเวียนโดยใช้สูตรดังนี้      เงินทุนหมุนเวียน  =  ลูกหนี้การค้า + สินค้าคงเหลือ - เจ้าหนี้การค้า