ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

มูลค่าหุ้นตามแฟรนไชด์

มูลค่าหุ้นตามแฟรนด์ไชด์ คือ มูลค่าแฟรนด์ไชด์ของธุรกิจ ซึ่งหมายถึง ธุรกิจนั้นมีความได้เปรียบในการแข่งขันเมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมของตนเอง โดยความได้เปรียบในการแข่งขัน (Competitive Advantage) ประกอบด้วยรายละเอียดหลักๆดังนี้

1) สัมปทาน หรือ ใบอนุญาตจากรัฐ ส่งผลให้เกิดการกีดกันการแข่งขันทางการค้าที่รุนแรง เพราะผู้ได้สัมปทานจะมีจำนวนจำกัด และสามารถกำหนดราคากันได้เอง

2) ส่วนแบ่งการตลาด (Market Share) ขนาดใหญ่ ส่งผลให้เกิดการประหยัดขนาดในธุรกิจนำไปสู่ต้นสินค้าและบริการที่ต่ำ กล่าวคือ ธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีส่วนแบ่งการตลาดสูงมากจะมีอำนาจในการต่อรองซื้อสินค้าจากผู้ผลิตในราคาที่ต่ำกว่าธุรกิจขนาดเล็ก

3) ความต้องการสินค้าของผู้บริโภคที่ยั่งยืน กล่าวคือ สินค้านั้นมีแบรนด์ที่่ได้รับการยอมรับจากผู้บริโภค ซึ่งส่งผลให้สินค้านั้นเกิดการซื้อซ้ำๆในอนาคต

ด้วยการที่ธุรกิจมีแฟรนไชด์ย่อมส่งผลให้มีความธุรกิจสามารถทำกำไรได้สูงกว่าอุตสาหกรรมของตนเอง ซึ่งสามารถวิเคราะห์ได้จากงบการเงินที่ผ่านมา โดยใช้อัตราส่วนทางการเงินดังต่อไปนี้

                       ผลตอบแทนของเงินลงทุน (ROCE)  =  กำไรจากการดำเนินงาน x 100%
                                                                                             เงินลงทุนที่ต้องการ

                    
                        กำไรจากการดำเนินงาน = ขาย - ต้นทุนขาย - คชจ. ขายและบริหาร

                        เงินลงทุนที่ต้องการ = สินทรัพย์รวม - หนี้สินที่ไม่มีดอกเบี้ย

* ขาย ต้นทุนขาย และคชจ. ขายและบริหาร สามารถนำตัวเลขจากงบกำไรขาดทุน
* สินทรัพย์รวม และหนี้สินไม่มีดอกเบี้ย สามารถนำตัวเลขมาจากงบแสดงฐานะการเงิน
* ผลตอบแทนของเงินลงทุนต้องคิดเป็นรายปี ดังนั้น หากกำไรจากการดำเนินงานนำมาจากงบการเงินไตรมาสที่ 1 ต้อง คูณด้วย 4 เพื่อเป็นรายปี หากนำมาจากงบการเงิน 6 เดือน ต้องคูณด้วย 2 และหากเป็นงบการเงิน 9 เดือน ต้องคูณด้วย 4/3

ดังน้้นการพิจารณาว่าธุรกิจมีแฟรนด์ไชด์หรือไม่ ให้คำนวณหา ROCE ย้อนหลังประมาณ 5 ปี หากมี ROCE สูงกว่าอุตสาหกรรม และมีความสม่ำเสมอพอสมควร ย่อมแสดงว่าธุรกิจมีแฟรนไชด์ ซึ่งหากเป็นเช่นนี้ราคาหุ้นควรสูงกว่ามูลค่าตามบัญชี คือ P/BV > 1.0 หากพบว่าเมื่อใดราคาหุ้นต่ำกว่ามูลค่าหุ้นตามบัญชี (BVPS) แสดงว่าหุ้นเข้าข่าย undervalued ซึ่งเป็นโอกาสในการเข้าไปซื้อ

สมมติว่า อุตสาหกรรมอาหาร มี ROCE ของอุตสาหกรรมเท่ากับ 12% ต่อปี แต่ในขณะที่บริษัท ก ที่อยู่ในอุตสาหกรรมอาหาร มี ROCE เท่ากับ 18% ต่อปี แสดงว่า บริษัท ก มีแฟรนไชด์ธุรกิจ เพราะว่ามี ROCE = 18% มากกว่า อุตสาหกรรมฯที่ 12% หากศึกษาลงไปในธุรกิจพบว่า บริษัท ก มีแบรนด์ที่ได้รับการยอมรับของลูกค้าและมีจำนวนสาขาเป็นจำนวนมากครอบคลุมไปยังพื้นที่ลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย

ดังนั้นหากเราเป็นนักลงทุนควรติดตามหุ้น ก ต่อไปว่ามีราคาหุ้นต่่ำกว่า BVPS หรือไม่ หากต่ำกว่าแล้วแสดงว่าเป็นโอกาสในการเข้าไปซื้อหุ้นแล้ว ซึ่งเป็นไปตามหลักการที่ว่า ซื้อถูก และขายแพงในอนาคต

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

กระบวนการลงทุนแนว VI

ควรมีทุนจดทะเบียนและชำระแล้วเท่าไหร่ดี

ถาม : ดิฉันกำลังคิดจะทำธุรกิจ อยากทราบว่าควรมีทุนจดทะเบียนและชำระแล้วเท่าไหร่ดีค่ะ ตอบ : คุณต้องประมาณเงินลงทุนทั้งหมด โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้ (1) ประมาณการเงินลงทุนสินทรัพย์ถาวร (2) ประมาณการเงินหมุนเวียนสุทธิ (Net Working Capital)  หลังจากนั้นคุณก็นำรายการที่ (1) บวกกับรายการที่ (2) แล้ว ผลรวมที่ได้คือ เงินลงทุนทั้งหมด ในกรณีที่คุณไม่ต้องการกู้เงิน เงินลงทุนทั้งหมดจะเป็นทุนที่ชำระแล้ว ตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์กำหนดไว้ว่า ผู้ถือหุ้นต้องชำระค่าหุ้นขั้นต่ำ 25% ของทุนจดทะเบียน ยกตัวอย่างเช่น หากคุณจดทะเบียน 1.0 ล้านบาท คุณต้องชำระค่าหุ้นขั้นต่ำ 250,000 บาท ส่วนที่เหลืออีก 75% ถือว่าเป็นภาระผูกพันของผู้ถือหุ้นที่มีต่อบริษัท ดังนั้นในกรณีที่บริษัทดำเนินธุรกิจจนเจ๊ง เจ้าหนี้สามารถใช้สิทธิบังคับให้ผู้ถือหุ้นชำระค่าหุ้นคงเหลืออีก 75% ซึ่งหมายความว่า หุ้นที่ชำระไม่ครบ 75% มีสถานะเป็นหนี้ของผู้ถือหุ้นนั่นเอง ตัวอย่าง การประมาณงินลงทุน เช่น บริษัท ABCD จำกัด มีสมมติฐานว่าปีหน้าจะมียอดขายประมาณ 10 ล้านบาท ต้นทุนขายประมาณ 7.5 ล้านบาท และงบประมาณการลงทุนในสินทรัพย์ถาวร...

ช่วงเวลาในการซื้อขายหุ้น (Investment Timing)

ราคาหุ้นในตลาดหุ้น (Market Price) ถูกกำหนดมาจากปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก โดยมีรายละเอียดดังนี้ ปัจจัยภายนอก (External Factor) คือ ปัจจัยที่ไม่ได้มาจากกิจการโดยตรงซึ่งเป็นปัจจัยที่กิจการไม่สามารถควบคุมได้ เช่น กระแสเงินเงินทุนไหลออกและไหลเข้า (Fund Flow) วิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ การอัดฉีดเงินของธนาคารกลางของสหรัฐฯและยุโรป การลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ การปรับลดค่าเงินหยวน สงครามระหว่างประเทศและการก่อการร้ายในกลุ่มประเทศยุโรป จนถึง ตลาดหุ้นในสหรัฐอเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น และจีน ปรับตัวเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างรุนแรง การปรับลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล การปรับเพิ่มขึ้นหรือลดลงของราคาน้ำมัน การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ การเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมของธนาคาร การกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล การเปิดเสรีการค้าระหว่างประเทศ เป็นต้น ปัจจัยภายใน (Internal Factor) คือ ปัจจัยที่มาจากกิจการโดยตรง เช่น การขยายตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ การขยายไปสู่ธุรกิจใหม่ การขายหุ้นเพิ่มทุน การควบรวมกิจการ การซื้อและขายกิจการ การเพิ่มอัตราการก่อหนี้ในกิจการ การปิดบริษัทย่อย...

ต้นทุนเงินทุน (WACC)

ต้นทุนเงินทุน (Cost of Capital) หรือ ที่นิยมเรียกกันโดยทั่วไป คือ WACC (Weighted Average Cost of Capital) หมายถึง ต้นทุนทางการเงินเฉลี่ยของเงินทุน  มีประโยชน์เพื่อใช้ในการตัดสินใจว่าควรลงทุนหรือไม่ควรลงทุนในโครงการใดบ้างของบริษัท เช่น คุ้มค่าหรือไม่ที่จะลงทุนในโครงการใหม่ของบริษัท เป็นต้น อีกทั้ง WACC นี้ยังสามารถใช้ในการคำนวณหามูลค่าของกิจการ (Enterprise Value) และมูลค่าที่แท้จริงของหุ้น (Intrinsic Value of Stock) ได้อีกด้วย WACC ประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก 2 ประเภท คือ :- ประเภทที่ 1 ต้นทุนจากการเงินกู้ยืม หรือ ที่เข้าใจโดยทั่วไป คือ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืม (kd)   ประเภทที่ 2 ต้นทุนจากเงินทุนของผู้ถือหุ้น  หรือ ที่เข้าใจโดยทั่วไป คือ อัตราผลตอบแทนจากเงินปันผล (ke) เพื่อความง่ายในการทำความเข้าใจ WACC ขอยกตัวอย่างประกอบดังนี้ บริษัท A มีเงินทุนประกอบด้วย เงินกู้จากเจ้าหนี้ที่มีดอกเบี้ย 100 ล้านบาท และเงินทุนจากผู้ถือหุ้น 100 ล้านบาท ดังนั้นเงินทุนทั้งหมดของกิจการ A คือ เงินกู้จากเจ้าหนี้ฯ + เงินทุนจากผู้ถือหุ้น = 100 + 100 ล้านบาท เท่ากับ 200 ล...

ควรตั้งเป้ายอดขายขั้นต่ำเท่าไหร่

ถาม : ตอนนี้ผมทำธุรกิจส่วนตัว และต้องการตั้งเป้าหมายการขายให้กับฝ่ายขาย อาจารย์พอจะมีวิธีที่ใช้ประมาณการขายหรือเปล่าครับ ตอบ : การตั้งเป้าหมายในการขายให้กับฝ่ายขาย เราสามารถคำนวณหาได้จากจุดคุ้มทุนขาย (Break-Even point of Sales) คือ ยอดขายที่ทำไม่มีผลกำไรสุทธิและขาดทุนสุทธิ หรือ ยอดขายที่พอดีกับค่าใช้จ่ายของกิจการ หรืออีกนัยหนึ่ง คือยอดขายขั้นต่ำที่ต้องให้กับฝ่ายขาย โดยมีสูตรดังนี้                                              จุดคุ้มทุนขาย  =   ค่าใช้จ่ายคงที่                                                  ...