ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กันยายน, 2013

กลยุทธ์การลงทุนหุ้นภายใต้วิกฤต

ตลาดหุ้นประสบกับภาวะวิกฤตแทบจะตลอดเวลา เพราะเศรษฐกิจสะท้อนภาพมายังตัวธุรกิจ และส่งต่อมาในราคาหุ้น และส่งผ่านไปยังตลาดหุ้นในที่สุด ดังนั้นในแทบทุกปีจะมีข่าวลบเกิดขึ้นในโลกตลอดเวลา ซึ่งเกือบทุกข่าวจะเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการก่อการร้าย สงคราม การปฏิวัติ และการเมือง   จนกระทั่งทุกวันนี้ ข่าวดียังเป็นข่าวลบในตลาดหุ้นได้ ซึ่งเห็นได้ชัดเจนจากกรณีของสหรัฐฯคาดว่าจะลด (Tapering) QE4 ลง ทั้งที่การลด QE4 ครั้งนี้เนื่องจากเศรษฐกิจของอเมริการเริ่มฟื้นตัว ซึ่งหากเป็นสามัญสำนึกตามปรกติหุ้นต้องปรับตัวขึ้น เพราะเศรษฐกิจจะดีขึ้น แต่กลับไม่เป็นเช่นนั้นเลย ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงอย่างรุนแรงจากระดับประมาณ 1,700 จุด เหลือเพียงประมาณ 1,300 จุด หรือลดลงถึง 23.5% ในช่วงเวลาเพียง 2-3 เดือนที่ผ่านมา เหตุการณ์นี้อธิบายได้อย่างสั้นๆว่า คือ วิกฤตเงินไหลออก (Fund Flow Crisis)  เพราะตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบันมีเงินไหลออกเกือบ 120,000 ล้านบาท (โฮ้ แม่เจ้า เกิดอะไรขึ้น) ทั้งที่ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนไทยเติบโตอย่างน่าประทับใจ จากสวรรค์สู่ขุมนรกในเวลาแค่พริบตา ดังนั้นตลาดหุ้นจึงเป็นเรื่องคาดการ

ชีวิตที่ต้องค้นหา

ย้อนหลังกลับไปไกลเกินกว่า 10 ปีที่ผ่านมา ผมได้เปลี่ยนเส้นทางชีวิตของตนเองจากการทำอาชีพวิศวกรก้าวมาสู่การเป็นนักการเงินอย่างเต็มตัว เส้นทางเส้นนี้ถูกลิขิตหรือกำหนดไว้ล่วงหน้าหรือไม่ ไม่มีใครทราบได้ เพียงแต่วันนั้นผมรู้แต่ว่าทุกวันที่ตื่นขึ้นมาแล้วไปทำงานเป็นวิศวกรจะมีเสียงคอยกระซิบอยู่แทบทุกวันว่า "เวลาผ่านไป บัดนี้ท่านกำลังทำอะไรอยู่" ซึงมันเหมือนเสียงที่คอยส่งสัญญาณเตือนใจว่ามีบางสิ่งบางอย่างที่ยิ่งใหญ่รอคอยอยู่ข้างหน้า... แล้วการตัดสินใจครั้งสำคัญก็เกิดขึ้น เมื่อพายุลูกใหญ่ได้กระหน่ำฤาโถมกระหน่ำซ้ำลงไปที่ถนนสุขุมวิท 71 ผมเดินฝ่าทั้งกระแสลมและฝนเพื่่อมุ่งตรงไปขึ้นเรือหางยาวเพื่อหนีรถติดในมหานครกรุงเทพฯ (หนีไม่ได้จริง) เสื้อผ้าที่เปียกโชกไปทั้งตัว หนาวสั่นจนแทบเดินไม่ออก คลองแสนแสบส่งกลิ่นโชยมาเป็นระยะๆ สมกับชื่อของมัน และผมก็ไม่เคยชินกับมันซักทีทั้งที่ได้กลิ่มมันแทบทุกวัน เสียงดังเปรี้ยงราวกับเกิดสงครามกลางเมือง ผมเงยหน้ามองขึ้นไปบนฟ้าแต่ไม่เห็นสายฟ้าแต่อย่างใด ผมได้ยินเสียงคนเอะอะโวยวาย แตกตื่นกันยกใหญ่ เรือหางยาวที่กำลังจะมารับผู้โดยสารเกิดพลิกคว่ำเพราะเสียหลักไปกระแ

มูลค่าหุ้นตามแฟรนไชด์ (ต่อ 2)

มูลค่าหุ้นที่แท้จริง ประกอบด้วย มูลค่าหุ้นตามบัญชี + มูลค่าหุ้นตามแฟรนไชด์ + มูลค่าหุ้นตามการเติบโต โดยที่ มูลค่าหุ้นตามบัญชี สามารถคำนวณได้จากงบแสดงฐานะการเงินล่าสุด ซึ่งได้กล่าวไปแล้วในบทความที่ผ่านมา มูลค่าหุ้นตามแฟรนไชด์ คำนวณได้จาก ROE - Ke เช่น หุ้น ABCD มี  ROE 20% ในขณะที่มี Ke เท่ากับ 10% ซึ่งจะแสดงรายการคำนวณข้างล่าง ดังนั้นมูลค่าแฟรนไชด์จะเท่ากับ 10% มาจาก 20%-10% หากต้องการจะแปลงเป็นมูลค่าเป็นตัวเงิน สามารถทำได้โดยการ นำมูลค่าแฟรนไชด์ คูณกับ มูลค่าหุ้นตามบัญชี สมมติว่าหุ้นต้วนี้มีมูลค่าหุ้นตามบัญชีเท่ากับ 100 บาท ดังน้้นมูลค่าแฟรนไชด์จะเท่ากับ 10% x 100 = 10 บาท อย่างไรก็ตามมูลค่าแฟรนไชด์ที่เกิดขึ้นตามที่กล่าวข้างต้นเป็นมูลค่าที่เกิดขึ้นเพียง 1 ปีเท่านั้น หากหุ้นตัวนี้มีมูลค่าแฟรนไชด์ตลอดไปของการทำธุรกิจ สามารถทำได้โดยการ มูลค่าแฟรนไชด์ทีคำนวณได้ คือ 10 บาท หารด้วย Ke ซึ่งกรณีนี้มีเงื่อนไขว่าหุ้น ABCD ไม่มีการเติบโตของกำไรสุทธิ จากตัวอย่างข้างต้น Ke เท่ากับ 10% ดังนั้นมูลค่าแฟรนไชด์จะเท่ากับ 10/10% = 100 บาท ค่า Ke คือ ผลตอบแทนขั้นต่ำที่ผู้ถือหุ้นต้องการจากการลง