มูลค่าหุ้นที่แท้จริง (Intrinsic Value per Share : IVPS) ประกอบด้วยมูลค่าหลัก 3 ส่วนด้วยกันดังต่อไปนี้ [การคำนวณหามูลค่าที่แท้จริงของหุ้นได้อธิบายแล้วในบทความก่อนหน้านี้]
มูลค่าส่วนที่ 1 คือ มูลค่าหุ้นตามบัญชี (Book Value per Share : BVPS) คำนวณได้ตามงบดุล หรือ ปัจจุบันเรียกกันว่า งบแสดงฐานะการเงิน ซึ่งมีสมการดังนี้
มูลค่าหุ้นตามบัญชี = ส่วนของผู้ถือหุ้น
จำนวนหุ้นที่ชำระแล้ว
มูลค่าส่วนที่ 2 คือ มูลค่าหุ้นตามแฟรนไชด์ (Franchise Value per Share : FVPS) คำนวณได้จากส่วนต่างของมูลค่าหุ้นที่แท้จริงที่ไม่มีการเติบโตของกำไรกับมูลค่าหุ้นตามบัญชี มีสมการดังนี้
มูลค่าหุ้นตามแฟรนไชด์ = มูลค่าหุ้นที่แท้จริง - มูลค่าหุ้นตามบัญชี
มูลค่าส่วนที่ 3 คือ มูลค่าหุ้นตามการเติบโต (Growth Value per Share : GVPS) คำนวณได้จากส่วนต่างของมูลค่าหุ้นที่แท้จริงที่มีการเติบโตของกำไรกับมูลค่าหุ้นตามบัญชีและมูลค่าตามแฟรนไชด์ ซึ่งมีสมการดังนี้
มูลค่าหุ้นตามการเติบโต = มูลค่าหุ้นที่แท้จริง - BVPS - FVPS
จากสมการข้างต้นทำให้ท่านทราบได้ว่า มูลค่าที่แท้จริงของหุ้นประกอบด้วย BVPS + FVPS + GVPS เพื่อความเข้าใจยิ่งขึ้นขอยกตัวอย่างประกอบดังนี้
สมมติว่า บริษัท ก มีมูลค่าหุ้นตามบัญชี = 10 บาทต่อหุ้น และเมื่อคำนวณมููลค่าหุุ้นที่แท้จริงด้วยวิธี Discounted Cash Flow (DCF) พบว่ามีมูลค่าหุ้นเท่ากับ 20 บาท โดยการคำนวณนี้มีสมมติฐานว่าบริษัท ก กำไรสุทธิไม่เติบโตในอนาคต หรือ อีกความหมายหนึ่งคือกำไรสุทธิคงที่ตลอดไป
ดังนั้นในกรณีนี้ มูลค่าหุ้นตามแฟรนไชด์ = 20 - 10 = 10 บาทต่อหุ้น
และสมมติว่ากิจการมีการเติบโตของกำไรสุทธิ 5% ตลอดไป พบว่ามูลค่าหุ้นที่แท้จริงจากการคำนวณโดยใช้ DCF เท่ากับ 30 บาท ดังนั้นในกรณีนี้ มูลค่าหุ้นตามการเติบโต = 30 - 10 - 10 = 10 บาทต่อหุ้น
กล่าวโดยสรุปได้ว่า มูลค่าหุ้นที่แท้จริง ประกอบด้วย มูลค่าตามบัญชี = 10 บาท และ มูลค่าหุ้นตามแฟรนไชด์ = 10 บาท รวมทั้ง มูลค่าหุ้นตามการเติบโต = 10 บาท ดังนั้นมูลค่าหุ้นที่แท้จริงเท่ากับ 30 บาท
หากใช้หลักการนี้อธิบายราคาหุ้น (Market Price) ในตลาดหลักทรัพย์จะพบว่า หุ้นบางตัวขายกันที่ราคาเท่ากับมูลค่าตามบัญชี หรือ P/BV เท่ากับ 1.0 แสดงว่านักลงทุนส่วนใหญ่มองว่าหุ้นตัวนี้ไม่มีแฟรนไชด์ และมูลค่าการเติบโต ในทำนองเดียวกันหุ้นบางตัวขายกันที่ราคาสูงกว่ามูลค่าหุ้นตามบัญชี หรือ P/BV เท่ากับ 5.0 แสดงว่านักลงทุนส่วนใหญ่มองหุ้นตัวนี้มีมูลค่าแฟรนด์ไชด์ และมูลค่าการเติบโตสูงกว่า BVPS เท่ากับ 400%
มูลค่าส่วนที่ 1 คือ มูลค่าหุ้นตามบัญชี (Book Value per Share : BVPS) คำนวณได้ตามงบดุล หรือ ปัจจุบันเรียกกันว่า งบแสดงฐานะการเงิน ซึ่งมีสมการดังนี้
มูลค่าหุ้นตามบัญชี = ส่วนของผู้ถือหุ้น
จำนวนหุ้นที่ชำระแล้ว
มูลค่าส่วนที่ 2 คือ มูลค่าหุ้นตามแฟรนไชด์ (Franchise Value per Share : FVPS) คำนวณได้จากส่วนต่างของมูลค่าหุ้นที่แท้จริงที่ไม่มีการเติบโตของกำไรกับมูลค่าหุ้นตามบัญชี มีสมการดังนี้
มูลค่าหุ้นตามแฟรนไชด์ = มูลค่าหุ้นที่แท้จริง - มูลค่าหุ้นตามบัญชี
มูลค่าส่วนที่ 3 คือ มูลค่าหุ้นตามการเติบโต (Growth Value per Share : GVPS) คำนวณได้จากส่วนต่างของมูลค่าหุ้นที่แท้จริงที่มีการเติบโตของกำไรกับมูลค่าหุ้นตามบัญชีและมูลค่าตามแฟรนไชด์ ซึ่งมีสมการดังนี้
มูลค่าหุ้นตามการเติบโต = มูลค่าหุ้นที่แท้จริง - BVPS - FVPS
จากสมการข้างต้นทำให้ท่านทราบได้ว่า มูลค่าที่แท้จริงของหุ้นประกอบด้วย BVPS + FVPS + GVPS เพื่อความเข้าใจยิ่งขึ้นขอยกตัวอย่างประกอบดังนี้
สมมติว่า บริษัท ก มีมูลค่าหุ้นตามบัญชี = 10 บาทต่อหุ้น และเมื่อคำนวณมููลค่าหุุ้นที่แท้จริงด้วยวิธี Discounted Cash Flow (DCF) พบว่ามีมูลค่าหุ้นเท่ากับ 20 บาท โดยการคำนวณนี้มีสมมติฐานว่าบริษัท ก กำไรสุทธิไม่เติบโตในอนาคต หรือ อีกความหมายหนึ่งคือกำไรสุทธิคงที่ตลอดไป
ดังนั้นในกรณีนี้ มูลค่าหุ้นตามแฟรนไชด์ = 20 - 10 = 10 บาทต่อหุ้น
และสมมติว่ากิจการมีการเติบโตของกำไรสุทธิ 5% ตลอดไป พบว่ามูลค่าหุ้นที่แท้จริงจากการคำนวณโดยใช้ DCF เท่ากับ 30 บาท ดังนั้นในกรณีนี้ มูลค่าหุ้นตามการเติบโต = 30 - 10 - 10 = 10 บาทต่อหุ้น
กล่าวโดยสรุปได้ว่า มูลค่าหุ้นที่แท้จริง ประกอบด้วย มูลค่าตามบัญชี = 10 บาท และ มูลค่าหุ้นตามแฟรนไชด์ = 10 บาท รวมทั้ง มูลค่าหุ้นตามการเติบโต = 10 บาท ดังนั้นมูลค่าหุ้นที่แท้จริงเท่ากับ 30 บาท
หากใช้หลักการนี้อธิบายราคาหุ้น (Market Price) ในตลาดหลักทรัพย์จะพบว่า หุ้นบางตัวขายกันที่ราคาเท่ากับมูลค่าตามบัญชี หรือ P/BV เท่ากับ 1.0 แสดงว่านักลงทุนส่วนใหญ่มองว่าหุ้นตัวนี้ไม่มีแฟรนไชด์ และมูลค่าการเติบโต ในทำนองเดียวกันหุ้นบางตัวขายกันที่ราคาสูงกว่ามูลค่าหุ้นตามบัญชี หรือ P/BV เท่ากับ 5.0 แสดงว่านักลงทุนส่วนใหญ่มองหุ้นตัวนี้มีมูลค่าแฟรนด์ไชด์ และมูลค่าการเติบโตสูงกว่า BVPS เท่ากับ 400%
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น