ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก 2015

เล่นหุ้นอย่างมีจินตนาการ ตอนที่ 3

ลูกศิษย์ : วันที่ผมขอระบายความในใจให้อาจารย์ฟังหน่อยนะครับ … คือว่า ตลอดเวลาที่ผ่านมา ผมตามอ่านบทความและได้เข้าไปฟังการบรรยายของอาจารย์มาเป็นประจำ ผมชอบอาจารย์มากนะครับ อาจารย์ : แต่ผมไม่ได้เป็นเXX ต้องขอโทษด้วยที่ไม่สามารถตอบรับความปรารถนาดีของคุณได้ ลูกศิษย์ : ผมพูดผิดครับ ผมขอเปลี่ยนคำพูดจากชอบอาจารย์ เป็น ชอบแนวทางการลงทุนของอาจารย์ อาจารย์ถอนหายใจเพราะไม่ชอบทำให้ใครผิดหวัง และเสริมต่อว่า ตกลงคุณจะระบายเรื่องอื่นใช่หรือเปล่า ลูกศิษย์ : ใช่ครับ จากแนวทางที่อาจารย์สอนในการลงทุน ผมได้ลองลงทุนตามแล้วเครียดมากเลยครับ เพราะตลาดหุ้นตกลงมาเรื่อยๆ จาก 1,550 จุด เหลือ เพียง 1,400 จุด ในช่วงเวลาไม่กี่เดือน ผมควรทำอย่างไรดีครับ อาจารย์ : นอกจากคุณอ่านบทความผมแล้ว ผมเห็นว่าคุณควรอ่านหนังสือธรรมะด้วย เพราะการลงทุนที่ประสบความสำเร็จ คือ การต้องมีความมั่นคงในอารมณ์ และเข้าใจว่าทุกสิ่งทุกอย่างอยู่ภายใต้กฎของความไม่แน่นอน ดังนั้นวันนี้คุณอาจขาดทุน แต่พรุ่งนี้คุณอาจกำไร และจำไว้เสมอว่า เวลาคุณขาดทุน คุณขาดทุนอย่างจำกัด แต่เวลาคุณมีกำไร คุณมีกำไรอย่างไม่จำกัด ลูกศิษย์ : หมายความว่าอย

เล่นหุ้นอย่างมีจินตนาการ ตอนที่ 2

ลูกศิษย์ : ครั้งที่แล้ว อาจารย์ให้ผมจินตนาการ ว่าหุ้น A ราคาตกลงจาก 100 บาท เหลือ 50 บาท แล้วต่อมาราคาเด้งกลับมาที่ 100 บาท เหมือนเดิมก่อนตก แต่ยังไม่ได้พูดถึง “ปรัชญาการลงทุนที่สำคัญ ก็คือ ราคาหุ้นจะปรับตัวเข้าใกล้มูลค่าที่แท้จริงของมันเองเสมอ (Intrinsic Value : V) ในระยะยาว” อาจารย์ช่วยอธิบายเพิ่มเติมด้วยครับ อาจารย์ : จะเห็นว่าราคาหุ้นที่ยกตัวอย่างนั้น ยังไม่ได้พูดถึงมูลค่าที่แท้จริง สมมติว่า หุ้น A มีมูลค่าหุ้นที่แท้จริงเท่ากับ 200 บาท ดังนั้นจะเห็นว่าหุ้นก่อนตกคือ ราคา 100 บาท ก็ต่ำกว่ามูลค่าหุ้นที่ 200 บาท โดยสามารถคำนวณหาส่วนลดมูลค่าหุ้น (Share Discount) ได้ดังนี้ ส่วนลดมูลค่าหุ้น = (มูลค่าหุ้น – ราคาหุ้น) x 100% / มูลค่าหุ้น สามารถคำนวณส่วนลดมูลค่าหุ้น A โดยการแทนค่าในสมการได้ดังนี้ ส่วนลดมูลค่าหุ้น = (200 – 100) x 100% / 200 = 50% หากหุ้น A ตกลงมาเหลือ 50 บาท ดังนั้นส่วนลดมูลค่าหุ้นจะเท่ากับ 75% จะเห็นได้ว่าหุ้น A ถูกสุดๆ เหมือนฤดูกาลลดราคาสินค้าในห้างเลย แบบนี้เราต้องรีบ shopping เลย มีเท่าไหร่ซื้อหมด ซื้อแบบหมดตัว แต่หากหุ้น A ในอนาคตเด้งกลับไปสูงกว่าราคาเดิมที่

เล่นหุ้นอย่างมีจินตนาการ ตอนที่ 1

ลูกศิษย์ : ผมอยากรู้ว่าอาจารย์มีเคล็ดลับพิเศษอื่นเพิ่มเติมหรือเปล่าที่จะทำกำไรจากตลาดหุ้น อาจารย์ : เคล็ดลับที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง ก็คือ ต้องมีจินตนาการในการเล่นหุ้น ลูกศิษย์ : จินตนาการในการเล่นหุ้น เป็นอย่างไรครับ อาจารย์ : ก่อนจะตอบ ขอถามคุณเคยเห็นดูฟุตบอลหรือเปล่า ลูกศิษย์ : เคยดูแน่นอนครับ ทำไมหรือครับ อาจารย์ : คุณเคยเห็นจินตนาการในการเล่นฟุตบอลหรือเปล่า ลูกศิษย์ : จินตนาการในการเล่นฟุตบอล คือ การเล่นบอลแบบฝ่ายตรงข้ามคาดการณ์ไม่ถึงใช่หรือเปล่าครับ อาจารย์ : ถูกต้อง เพราะจินตนาการ คือ การคิดล่วงหน้าออกไปว่าเหตุการณ์จะเป็นอย่างไรแล้ว แล้วเล่นไปตามความคิดของตนเอง ดังนั้น ทีมบอลที่จะประสบความสำเร็จได้ ต้องมีนักเต๊ะที่มีจินตนาการในการเล่น เพราะเขาสามารถเปลี่ยนจากเกมรับกลายเป็นเกมรุกทันที โดยฝ่ายตรงกันข้ามไม่ทันตั้งตัว และเป็นฝ่ายเก็บชัยชนะไปในที่สุด ส่วนจินตนาการในการเล่นหุ้น คือ การเล่นหุ้นแบบตลาดหุ้นคาดไม่ถึง ซึ่งนักลงทุนระดับโลกก็ทำกันเป็นประจำ ยกตัวอย่าง กรณีง่ายๆ ก็คือ ซื้อหุ้นแบบทุ่มสุดตัว เมื่อตลาดตกหนักๆ ซึ่งจะเห็นว่าการกระทำแบบนี้คนส่วนใหญ่ในตลาดหุ้นคาดไม่ถึงว่

ความเสี่ยงต่ำ ผลตอบแทนสูง ตอนที่ 3

ลูกศิษย์ : อาจารย์นอนพอหรือยังครับ เพราะจะได้อธิบายผมต่อเสียที อาจารย์ : บางครั้งชีวิตคนเราก็ไม่ได้เป็นดั่งใจเราเสมอไป อยากรู้อาจจะไม่รู้ ไม่อยากรู้อาจเข้าใจเองก็ได้ ลูกศิษย์คิดในใจ สงสัยอาจารย์จะเพี้ยน ถามเรื่องหนี่งตอบเรื่องหนึ่ง อาจารย์ : ที่ขอให้ผม ยกตัวอย่างประกอบคำบรรยายที่ว่า สถานการณ์ “กลัวสุดขีด” มาคิดจะทำให้เราพบว่า ราคาหุ้นจะต่ำมาก เพราะมีแต่ละคนเทขายหุ้น ส่งผลให้ ROI เพิ่มสูงขึ้น หรือ High Return ในขณะเดียวกัน Low Risk เพราะเมื่อราคาต่ำมาก โอกาสที่หุ้นจะลดลงไปอีกจะน้อยลง เนื่องจาก DY จะเพิ่มขึ้น ทำให้มีนักลงทุนเริ่มกลับเข้ามาลงทุนเพราะ DY ยั่วยวนเหลือเกิน” ตัวอย่าง สมมติว่าเราจะซื้อหุ้น โดยแบ่งออกเป็น 4 กรณี เปรียบเทียบกัน ดังนี้ 1) กรณีปรกติ คือ ไม่มีข่าวดีหรือข่าวร้ายมากระทบกับหุ้นที่เราจะซื้อ 2) กรณีกลัวบ้าง คือ  มีข่าวร้ายมากระทบกับหุ้นที่เราจะซื้อจึงทำให้ราคาลดลง 10% จากราคาปรกติ 3) กรณีกลัวมาก คือ มีข่าวร้ายมากระทบหุ้นที่เราจะซื้อจึงทำให้ราคาลดลง 30% จากราคาปรกติ 4) กรณีกลัวสุดขีด คือ มีข่าวร้ายมากระทบหุ้นที่เราจะซื้อจึงทำให้ราคาลดลง 50% จากราคาปรกติ ท

ความเสี่ยงต่ำ ผลตอบแทนสูง ตอนที่ 2

ลูกศิษย์ : ครั้งที่แล้ว อาจารย์เหมือนจะอธิบายเรื่อง ความเสี่ยงต่ำ ผลตอบแทนสูง ในครบทั้งหมดนะครับ อาจารย์ช่วยอธิบายต่อได้ไหมครับ อาจารย์ : ขอเวลานึกก่อน ตอนนั้นเราเลิกคุยกันตอนกี่โมง คุณจำได้ไหมจะได้ช่วยให้ผมคิดออก ลูกศิษย์ : ประมาณตี 4.30 ครับ อาจารย์ : อ้อ นึกออกแล้ว ตอนนั้นผมบอกคุณว่า สถานการณ์ “กลัวสุดขีด” จะทำให้เกิด ความเสี่ยงต่ำ ผลตอบแทนต้องสูง (Low Risk High Return) สถานการณ์ “โลภสุดขีด” จะทำให้เกิด ความเสี่ยงสูง ผลตอบแทนต้องต่ำ (High Risk Low Return) จากทั้งสองสถานการณ์ พบว่า สถานการณ์ “กลัวสุดขีด” จะทำให้เราสามารถสร้างกำไรได้อย่างเป็นกอบเป็นกำ หรือ อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI) ได้อย่างในระดับที่สูง คุณลองนึกถึงสมการ ROI ที่มีสูตรดังนี้ ROI =  เงินปันผล x 100% / ราคาหุ้น + กำไรส่วนต่างราคาหุ้น x 100% / ราคาหุ้น ROI  =  อัตราผลตอบแทนจากเงินปันผล + อัตราผลตอบแทนจากส่วนต่างราคาหุ้น  ROI  =     Dividend Yield (DY) + Capital Gain (CG) จากสมการข้างต้น จะพบว่า หากราคาหุ้นลดลง จะทำให้ อัตราผลตอบแทนเงินปันผลสูงขึ้น และจะทำให้ อัตราผลตอบแทนจากส่วนต่างราคาหุ้นเพิ่มสูง

ความเสี่ยงต่ำ ผลตอบแทนสูง ตอนที่ 1

ลูกศิษย์ : ผมได้อ่านหนังสือการเงินมาทุกเล่มเชียนเหมือนกันหมดเลยว่า “ความเสี่ยงสูง ผลตอบแทนต้องสูง (High Risk High Return)”  จึงอยากถามอาจารย์ว่า มันมีหรือเปล่าครับที่ ความเสี่ยงต่ำ ผลตอบแทนต้องสูง (Low Risk High Return) อาจารย์ :  คุณชอบคำถามที่ตอบยาก ผมอยากเลิกเป็นอาจารย์คุณแล้ว เพราะคุณทำให้ผมเครียดนับตั้งแต่รู้จักกับคุณ ชีวิตผมมีแต่ต้องตอบคำถามที่คุณหาคำตอบไม่ได้ ลูกศิษย์ : ขอร้องเถอะครับ อย่าเลิกคบกับผมเลย เพราะไม่มีใครมาช่วยระบายความเครียดของผม เพราะชีวิตผมมีคำถามมากมายที่หาคำตอบไม่ได้ อาจารย์ :  ตกลง ผมจะไม่เลิกคบกับคุณ เพราะถือว่าเรามีวาสนาต่อกัน เราคงเคยทำบุญทำกรรมร่วมกันมาก่อน แต่ชาตินี้ผมจะพยายามคิดว่าผมชดใช้กรรมกับคุณแล้วกัน เผื่อชาติหน้าจะไม่ต้องได้เจอะกันอีก ลูกศิษย์ : ไม่เป็นไรครับ งั้นชาติหน้าค่อยว่ากันอีกที ตอนนี้ขอออาจารย์ตอบคำถามผมก่อนครับ อาจารย์ : ความเสี่ยงต่ำ ผลตอบแทนสูง (High Risk High Return) นั้นจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อเหตุการณ์นั้นมันมีอารมณ์ความรู้สึกอยู่ในนั้น มันจึงเกิดอาการแบบไม่มีเหตุผล ซึ่งหนังสือการเงินก็เขียนถูกต้องที่ว่า “ความเสี่ยงสูง ผลตอบแทนต

อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI) ตอนที่ 2

ลูกศิษย์ : ตอนนี้ผมพอทราบค่า ROI ตามที่อาจารย์บอกแล้วครับ แต่เพื่อความชัดเจนกำไรจากการลงทุนคืออะไรครับ อาจารย์ : กำไรจากการลงทุนประกอบด้วย 2 รายการดังนี้ 1)  เงินปันผล หมายถึง เมื่อเราลงทุนในหุ้นที่เป็นธุรกิจดีมีกำไร บริษัทจะจ่ายเงินปันผลเทียบกับกำไรสุทธิให้แก่ผู้ถือหุ้นของบริษัท ตัวอย่างเช่น บริษัท A มีกำไรสุทธิต่อหุ้น (EPS) เท่ากับ 10 บาท ดังนั้น หากมีการจ่ายปันผล 50% ของกำไรสุทธิต่อหุ้น จะทำให้มีเงินปันผลต่อหุ้น (DPS) เท่ากับ 10 x 50% = 5 บาท ต่อปี เป็นต้น 2)  กำไรจากส่วนต่างราคาหุ้น หมายถึง ราคาขายหุ้นสูงกว่าราคาซื้อหุ้น ตัวอย่างเช่น บริษัท A เราซื้อหุ้นมาที่ราคา 100 บาท แต่ขายหุ้นที่ 110 บาท ภายในระยะเวลา 1 ปี ดังนั้น จะมีกำไรจากการขายหุ้นเท่ากับ 110 – 100 = 10 บาท เป็นต้น  จากสมการ ROI = กำไรที่เกิดจากการลงทุน x 100% / เงินลงทุน เราสามารถเขียนใหม่ได้ดังต่อไปนี้     ROI = (เงินปันผล + กำไรส่วนต่างราคาหุ้น) x 100% / เงินลงทุน    ROI =  เงินปันผล x 100% / เงินลงทุน + กำไรส่วนต่างราคาหุ้น x 100% / เงินลงทุน    ROI  =  อัตราผลตอบแทนจากเงินปันผล + อัตราผลตอบแทนจากส่วนต่า

อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI) ตอนที่ 1

ลูกศิษย์ : เราจะทราบได้อย่างไร ว่าเราประสบความสำเร็จในการลงทุน เพราะบางคนกำไร 1.0 ล้านบาท บางคนกำไร 0.1 ล้านบาท อาจารย์ : การวัดความสำเร็จในการลงทุนนั้น ต้องวัดจากอัตราผลตอบแทนจากการลงทุน หรือ เรียกว่า “Return On Investment : ROI” ซึ่งมีสมการดังนี้ อัตราผลตอบแทนของนักลงทุน (ROI)  =    กำไรที่เกิดจากการลงทุน x 100% / เงินลงทุน ตามคำถามของคุณ อาจารย์ขอแยกเป็น 2 กรณี ดังนี้ กรณีที่ 1 เราลงทุนหุ้น 100 ล้านบาท และมีกำไรทั้งปีเท่ากับ 1 ล้านบาท ดังนั้น ROI = 1% ต่อปี มาจาก:- อัตราผลตอบแทนของนักลงทุน (ROI)  =    1 x 100% / 100 = 1% ต่อปี กรณีที่ 2 เราลงทุนหุ้น 1 ล้านบาท และมีกำไรทั้งปีเท่ากับ 0.1 ล้านบาท ดังนั้น ROI = 1% ต่อปี มาจาก:- อัตราผลตอบแทนของนักลงทุน (ROI)  =    0.1 x 100% / 1 = 10% ต่อปี ดังนั้นจะเห็นว่า หากดูเฉพาะตัวเงินเปรียบเทียบกัน พบว่ากรณีที่ 1 มีกำไร มากกว่า กรณีที่ 2 ถึง 10 เท่า (1.0 / 0.1) แต่หากพิจารณาจาก ROI พบว่า กรณีที่ 2 มี ROI สูงกว่า กรณีที่ 2 ถึง 10 เท่า (10% / 1%) ซึ่งสรุปได้ว่า กรณีที่ 2 เป็นการลงทุนที่ประสบความสำเร็จมากกว่ากรณีที 1 อย่างเทียบกันไม่ติด

P/E สูง ควรลงทุน ? ตอนที่ 4

ลูกศิษย์ : ผมเป็นคนชอบความเสี่ยง อยากรวยๆเร็ว เพราะชีวิตคนมันแสนสั้นเหลือเกิน แนะนำวิธีการเล่นหุ้นฟื้นตัว (Turn Around) เพิ่มเติมให้ได้ไหมครับ อาจารย์ : ชีวิตนี้มันจะแสนสั้น หรือ ยาว นั้นมันขึ้นอยู่กับคุณต่างหาก หากคุณมีความสุข…ชีวิตมันจะแสนสั้น หากชีวิตมีความทุกข์ มันจะแสนยาว ลูกศิษย์ : อาจารย์ครับ ช่างมันเถอะครับจะสั้นหรือยาว แต่บอกวิธีเล่นหุ้นผมเร็วหน่อยได้ไหมครับ อาจารย์ :  หากคุณจะเล่นหุ้นฟื้นตัวให้ประสบความสำเร็จ คุณต้องเข้าใจรอบวัฎจักรของธุรกิจนั้นก่อน ซึ่งดูได้จากข้อมูลย้อนหลังไปหลายๆปี โดย ดูสังเกตได้จากรายได้ต่ำสุด และกำไรต่ำสุด จนถึงรายได้สูงสุดและกำไรสูงสุด ซึ่งทำให้รู้รอบ 1 รอบของธุรกิจแล้ว เช่น :-  บริษัท A มี รายได้ต่ำสุด คือ 2,000 ล้านบาท และกำไร 20 ล้านบาท และงบการเงิน 5 ปี ต่อมา มีรายได้สูงสุด 10,000 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิสูงสุด ถึง 3,000 ล้านบาท หลังจากนั้นก็รายได้ลดลง และกำไรลดลง ดังนั้นคุณจะทราบว่ารอบธุรกิจ คือ ประมาณ 5 ปี เมื่อคุณทราบรอบธุรกิจแล้ว คุณต้องพยายามซื้อหุ้นตอนธุรกิจมีรายได้ต่ำสุด และมีกำไรต่ำสุด โดยหลักเกณฑ์ในการซื้อให้ใช้ PEG ประกอบ โดยมีสู

P/E สูง ควรลงทุน ? ตอนที่ 3

ลูกศิษย์ : หุ้นฟื้นตัว (Turn Around Stocks) ที่อาจารย์เคยสอนผม มีเทคนิคการลงทุนอย่างไรบ้างครับ อาจารย์ : ธรรมชาติของหุ้นฟื้นตัวจะเป็นไปวัฏจักรของเศรษฐกิจ เช่น เศรษฐกิจดีจะส่งผลให้ผลประกอบการปรับตัวดีขึ้นอย่างก้าวกระโดด ในทางกลับกันเวลาเศรษฐกิจแย่จะส่งผลให้ผลประกอบการตกต่ำอย่างน่าใจหาย ดังนั้น ราคาหุ้นฟื้นตัวจะสอดคล้องกับเศรษฐกิจเป็นหลัก เพราะเศรษฐกิจดีจะทำให้มีความต้องการสินค้าหรือบริการเป็นอย่างมากจนส่งผลให้อุปสงค์ (Demand) มากกว่าอุปทาน (Supply) ทำให้ราคาสินค้าหรือบริการปรับตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว จนทำให้ผลประกอบการที่ดีจนมีกำไรสุทธิอย่างน่าประทับใจ ในขณะที่เศรษฐกิจแย่จะทำให้มีความต้องการสินค้าหรือบริการต่ำมากจนส่งผลให้อุปทาน (Supply) มากกว่าอุปสงค์ (Demand) ทำให้ราคาสินค้าหรือบริการปรับตัวลดลงอย่างรวดเร็ว จนทำให้ผลประกอบการย่ำแย่จนน่าตกใจ เทคนิคในการลงทุน ก็คือ จงเริ่มทยอยซื้อ เมื่อ P/E สูงมากๆ และทยอยขาย เมื่อ P/E ต่ำมากๆ ดังนั้นการลงทุนในหุ้นฟื้นตัวจะมีหลักการตรงกันข้ามกับหลักการลงทุนตามปรกติที่ให้ซื้อหุ้นเมื่อมี P/E ต่ำ และขายหุ้นเมื่อมี P/E สูง ตัวอย่างเช่น ก่อนหุ้น A จะฟื้น

P/E สูง ควรลงทุน ? ตอนที่ 2

ลูกศิษย์ : คำถามครั้งก่อนที่ถามอาจารย์ไว้ว่า ผมจะรู้ได้อย่างไรว่าหุ้น P/E สูง ที่ผมสนใจเป็นหุ้นกลุ่มไหนจาก 3 กลุ่ม  คือ หุ้นกลุ่มฟื้นตัว (Turn Around Stocks) หุ้นกลุ่มเติบโตสูง (Hyper Growth Stocks) และหุ้นกลุ่มเก็งกำไร (Speculative Stocks) อาจารย์ : ตกลงคุณไปทำบุญมาหรือยัง ลูกศิษย์อ้ำอึ้งไม่ยอมตอบ เพราะไม่เชื่อว่าทำบุญแล้วจะทำให้รวย แต่ก็พยักหน้าสื่อว่าได้ทำบุญมาแล้วครับ อาจารย์ : ถ้าคุณจะดูว่าเป็นหุ้นกลุ่มไหน วิธีง่ายๆ คือ ให้กลับไปดูงบการเงินย้อนหลังของบริษัทฯ ลูกศิษย์ : ดูอย่างไงครับ ช่วยอธิบายเพิ่มเติมได้ไหมครับ อาจารย์ : งบการเงินย้อนหลัง หมายถึงงบการเงินที่ผ่านมา จะประกอบด้วย งบกำไรขาดทุน งบแสดงฐานะการเงิน และงบกระแสเงินสด แต่ง่ายๆก่อน ให้ดูที่งบกำไรขาดทุน และงบแสดงฐานะการเงิน งบกำไรขาดทุน จะแสดงรายการ รายได้ ค่าใช้จ่าย และกำไรสุทธิ (ขาดทุนสุทธิ)   งบแสดงฐานการเงิน จะแสดงรายการ สินทรัพย์ หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น หาก 5 ปี ที่ผ่านมา รายได้และกำไรสุทธิ ลดลงอย่างต่อเนื่อง แสดงว่าอาจเป็นหุ้นกลุ่มฟื้นตัว หรือ หุ้นเก็งกำไร ก็ได้ แต่หากดูส่วนของผู้ถือหุ้นด้วย พบว่ามีข

P/E สูง ควรลงทุน ?

ลูกศิษย์ : ผมสงสัยว่าหุ้นที่มี P/E สูง สามารถลงทุนได้หรือไม่ อาจารย์ : จากประสบการณ์ของผมพบว่าหุ้นที่มี P/E สูง สามารถแบ่งหุ้นออกเป็น 3 กลุ่ม ได้ดังนี้ 1) หุ้นกลุ่มฟื้นตัว (Turn Around Stocks) คือ หุ้นที่เป็นตัวแทนของบริษัทที่มีผลประกอบการตกต่ำ หรือ แทบไม่มีกำไรสุทธิ แต่จะฟื้นตัวในอนาคต ตัวอย่าง หุ้น A มีราคาหุ้น (P) 10 บาท แต่มีกำไรสุทธิต่อหุ้น (EPS) เพียง 0.1 บาท ดังนั้น P/E จะเท่ากับ 100 เท่า (10/0.1)  ต่อมาบริษัทนี้แห่งนี้มีการฟื้นตัวจนทำให้กำไรสุทธิต่อหุ้นเพิ่มขึ้นจาก 0.1 บาท เป็น 1 บาท ดังนั้นหากราคาหุ้นเท่าเดิมคือ 10 บาท จะทำให้ P/E ลดลงจาก 100 เหลือเพียง 10 เท่า (100/10) 2) หุ้นกลุ่มเติบโตสูง (Hyper Growth Stocks) คือ หุ้นที่เป็นตัวแทนของบริษัทที่นักลงทุนคาดว่ามีผลประกอบเติบโตสูง หรือ กำไรสุทธิเติบโตสูงไม่น้อยกว่า P/E ต้วอย่าง หุ้น B มีราคาหุ้น (P) 30 บาท แต่มีกำไรสุทธิต่อหุ้น (EPS) เท่ากับ 1 บาท ดังนั้น P/E จะเท่ากับ 30 เท่า (30/1) บาท ซึ่งบริษัทแห่งนี้นักลงทุนคาดว่าจะต้องมีอัตราการเติบโตของกำไรสุทธิต่อหุ้นสูงกว่า 30% ต่อปี 3) หุ้นกลุ่มเก็งกำไร (Speculative Stocks) คือ

ทำไมราคาหุ้นหยุดตก (ต่อ)

จากบทความก่อนหน้านี้ที่กล่าวว่า “เมื่อราคาหุ้นลดลงจะทำให้อัตราผลตอบแทนเงินปันผลเพิ่มขึ้น จนในที่สุดราคาหุ้นจะไม่ลดลงอีกเพราะนักลงทุนจะรู้สึกว่าได้รับอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลสูงมากจึงเริ่มมีแรงซื้อมากกว่าแรกขาย ตรงจุดนั้นจึงเป็นจุดต่ำสุด หรือใกล้เคียงกับจุดต่ำสุด” กล่าวเพิ่มเติมได้ว่าเมื่อราคาหุ้นตกลงมากความเสี่ยงจะลดลง แต่ผลตอบแทนจากการลงทุนเพิ่มขึ้น ซึ่งตลาดหุ้นจะปรับไปสู่สมดุลในเวลาต่อมาคือ ความเสี่ยงเพิ่มขึ้น แต่ผลตอบแทนจากการลงทุนลดลง โดยสามารถอธิบายเป็นวัฏจักรได้ดังนี้ ขั้นที่ 1 ราคาหุ้นและตลาดหุ้นมีความสมเหตุผลพอสมควร คือ ราคาหุ้น (P) เท่ากับ 12 บาท และกำไรสุทธิต่อหุ้น (EPS) เท่ากับ 1 บาท ดังนั้น P/E = 12 เท่า (12/1) และจ่ายเงินปันผลต่อหุ้น (DPS) เท่ากับ 0.5 บาท ดังนั้น Dividend Yield เท่ากับ 4.2% (0.5x100%/12) กล่าวคือ ความเสี่ยงปรกติ และอัตราผลตอบแทนเท่ากับ 4.2% ต่อปี ขั้นที่ 2 ราคาหุ้นและตลาดหุ้นตื่นตระหนกแบบขาดเหตุผลจากข่าวร้ายต่างๆทั้งในประเทศและต่างประเทศ ส่งผลให้ราคาหุ้น (P) ลดลงจาก 12 บาท เหลือ 6 บาท หรือลดลง 50% แต่กำไรสุทธิต่อหุ้นเท่าเดิม 1 บาท ดังนั้น P/E = 6 เ

ทำไมราคาหุ้นหยุดตก

สวัสดีปีใหม่ 2558 ขอให้ทุกท่านประสบความสำเร็จในชีวิตตามที่ตั้งใจไว้ ขอเริ่มต้นบทความด้วยข่าวลบ แต่จบลงด้วยเหตุผลและโอกาส หากท่านย้อนกลับไปดูวิกฤติต่างๆที่เกิดขึ้นตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นวิกฤติเศรษฐกิจ การเมือง เทคโนโลยีดอทคอม ราคาน้ำมัน โรคระบาด จนกระทั่งถึงสงคราม พบว่าตลาดหุ้นในโลกนี้จะมีราคาหุ้นตกต่ำลงจนถึงระดับหนึ่งแล้วจะหยุดไม่ตกต่ำลงไปอีก เคยสงสัยหรือไม่เพราะเหตุใด ??? สาเหตุสำคัญที่ไม่ทำให้ราคาหุ้นตกต่ำลงไปเรื่อยๆ เนื่องจากตลาดหุ้นนั้นประกอบด้วยหุ้นจำนวนมากและหุ้นแต่ละตัวก็มีธุรกิจของมันเองค้ำประกันอยู่ หากเมื่อใดที่เกิดวิกฤติตามที่กล่าวมาข้างต้น แต่ธุรกิจไม่ได้รับผลกระทบ หรือได้รับผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญแต่ไม่ถึงกับล้มหายตายจากไปจากโลกนี้ หุ้นนั้นก็ยังคงมีมูลค่าอยู่ และสามารถกลับมามีราคาสูงกว่าเดิมได้อีกด้วย ถ้าในอนาคตผลกำไรของธุรกิจเติบโตอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นเมื่อหุ้นถูกค้ำประกันด้วยตัวธุรกิจ ราคาหุ้นจึงเกี่ยวข้องโดยตรงกับกำไรสุทธิของธุรกิจ เพราะกำไรสุทธิเป็นของผู้ถือหุ้น โดยมีหลักการง่ายๆ คือ กำไรมาก ราคาหุ้นจะสูง หรือในทางกลับกัน กำไรน้อย ราคาหุ้นจะต่ำ อีก