เมื่อธุรกิจมีมูลค่าแฟรนไชด์ ย่อมแปรเปลี่ยนไปเป็นมูลค่าหุ้นตามแฟรนไชด์ ทั้งนี้เพราะหุ้นเป็นของเจ้าของธุรกิจและเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจ ดังสมการต่อไปนี้
ธุรกิจ = เจ้าหนี้ + เจ้าของธุรกิจ
อาจเทียบเคียงได้กับสมการบัญชี คือ ธุรกิจ คือ สินทรัพย์ หนี้สิน คือ เจ้าหนี้ และเจ้าของธุรกิจ คือ ส่วนของผู้ถือหุ้น
ดังนั้นมูลค่าแฟรนไชด์ของธุรกิจ จะไปแสดงทั้งหมดในส่วนของของผู้ถือหุ้นและจะสะท้อนออกมาในมูลค่าที่แท้จริงของหุ้น (IVPS) และสุดท้ายจะไปปรากฎในราคาหุ้น (Market Price)
เหตุที่มูลค่าแฟรนไชด์ของธุรกิจไม่ได้เป็นของเจ้าหนี้ เพราะเจ้าหนี้ได้รับค่าตอบแทนที่ชัดเจนแล้วในรูปแบบดอกเบี้ยจ่ายจึงไม่มีสิทธิใดๆทั้งสิ้นกับมูลค่าแฟรนไชด์ของธุรกิจ
หากเข้าใจหลักการที่กล่าวมาข้างต้นนี้ ท่านจะรู้ทันทีว่าการกู้เงินมาทำธุรกิจที่มีแฟรนด์ไชด์จะสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผู้ถือหุ้นเป็นอย่างมาก ท้้งนี้เพราะมูลค่าแฟรนไชด์ตกเป็นของผู้ถือหุ้นแต่เพียงฝ่ายเดียว
มูลค่าแฟรนไชด์ของธุรกิจ วัดได้จาก ROCE
มูลค่าแฟรนไชด์ของหุ้น วัดได้จาก ROE
ผลตอบแทนของผู้ถือหุ้น (ROE) = กำไรสุทธิ x 100%
ส่วนของผู้ถือหุ้น
การคำนวณหา ROE สามารถคำนวณได้จากงบการเงินย้อนหลังในอดีตประมาณ 5 ปี หาก ROE ของกิจการมีความสม่ำเสมอและสูงกว่า ROE ของอุตสาหกรรมของตนเอง ย่อมแสดงว่ามีมูลค่าแฟรนไชด์ของหุ้น แต่ข้อพึงระวังคือ ROE อาจจะสูงได้เพราะมีการก่อหนี้ในการดำเนินธุรกิจ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
กิจการ A มี สินทรัพย์ = 100 ล้านบาท และไม่มีหนี้สิน โดยมีกำไรสุทธิเท่ากับ 10 ล้านบาท
กิจการ B มี สินทรัพย์ = 100 ล้านบาท และมีหนี้สิน = 50 ล้านบาท โดยมีกำไรสุทธิเท่ากับ 8 ล้านบาท
ทั้งนี้เพราะจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ไป 2 ล้านบาท
จากสมการบัญชี : สินทรัพย์ = หนี้สิน + ทุน
กิจการ A จะมีทุน = 100 ล้านบาท
กิจการ B จะมีทุน = 100 - 50 = 50 ล้านบาท
ดังนั้น ROE ของกิจการ A = 10 x 100% / 100 = 10%
และ ROE ของกิจการ B = 8 x 100% / 50 = 16%
หากท่านต้องการใช้ ROE ต้องพิจารณาความเสี่ยงด้านการเงินด้วย แต่หากใช้ ROCE ไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงความเสี่ยงทางด้านการเงิน
อีกวิธีหนึ่่งที่จะวัดว่าหุ้นมีมูลค่าแฟรนไชด์หรือไม่ อาจพิจารณาได้จาก ROE เทียบกับ ต้นทุนทางการเงินของผู้ถือหุ้น (Ke) หาก ROE มากกว่า Ke แสดงว่ามีมูลค่าแฟรนไชด์ แต่หาก ROE = Ke แสดงว่าไม่มีมูลค่าแฟรนไชด์ สุดท้ายถ้า ROE น้อยกว่า Ke แสดงว่าทำลายแฟรนไชด์ ซึ่งส่งผลให้มูลค่าหุ้นที่แท้จริงต่ำกว่ามูลค่าหุ้นตามบัญชี
ธุรกิจ = เจ้าหนี้ + เจ้าของธุรกิจ
อาจเทียบเคียงได้กับสมการบัญชี คือ ธุรกิจ คือ สินทรัพย์ หนี้สิน คือ เจ้าหนี้ และเจ้าของธุรกิจ คือ ส่วนของผู้ถือหุ้น
ดังนั้นมูลค่าแฟรนไชด์ของธุรกิจ จะไปแสดงทั้งหมดในส่วนของของผู้ถือหุ้นและจะสะท้อนออกมาในมูลค่าที่แท้จริงของหุ้น (IVPS) และสุดท้ายจะไปปรากฎในราคาหุ้น (Market Price)
เหตุที่มูลค่าแฟรนไชด์ของธุรกิจไม่ได้เป็นของเจ้าหนี้ เพราะเจ้าหนี้ได้รับค่าตอบแทนที่ชัดเจนแล้วในรูปแบบดอกเบี้ยจ่ายจึงไม่มีสิทธิใดๆทั้งสิ้นกับมูลค่าแฟรนไชด์ของธุรกิจ
หากเข้าใจหลักการที่กล่าวมาข้างต้นนี้ ท่านจะรู้ทันทีว่าการกู้เงินมาทำธุรกิจที่มีแฟรนด์ไชด์จะสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผู้ถือหุ้นเป็นอย่างมาก ท้้งนี้เพราะมูลค่าแฟรนไชด์ตกเป็นของผู้ถือหุ้นแต่เพียงฝ่ายเดียว
มูลค่าแฟรนไชด์ของธุรกิจ วัดได้จาก ROCE
มูลค่าแฟรนไชด์ของหุ้น วัดได้จาก ROE
ผลตอบแทนของผู้ถือหุ้น (ROE) = กำไรสุทธิ x 100%
ส่วนของผู้ถือหุ้น
การคำนวณหา ROE สามารถคำนวณได้จากงบการเงินย้อนหลังในอดีตประมาณ 5 ปี หาก ROE ของกิจการมีความสม่ำเสมอและสูงกว่า ROE ของอุตสาหกรรมของตนเอง ย่อมแสดงว่ามีมูลค่าแฟรนไชด์ของหุ้น แต่ข้อพึงระวังคือ ROE อาจจะสูงได้เพราะมีการก่อหนี้ในการดำเนินธุรกิจ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
กิจการ A มี สินทรัพย์ = 100 ล้านบาท และไม่มีหนี้สิน โดยมีกำไรสุทธิเท่ากับ 10 ล้านบาท
กิจการ B มี สินทรัพย์ = 100 ล้านบาท และมีหนี้สิน = 50 ล้านบาท โดยมีกำไรสุทธิเท่ากับ 8 ล้านบาท
ทั้งนี้เพราะจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ไป 2 ล้านบาท
จากสมการบัญชี : สินทรัพย์ = หนี้สิน + ทุน
กิจการ A จะมีทุน = 100 ล้านบาท
กิจการ B จะมีทุน = 100 - 50 = 50 ล้านบาท
ดังนั้น ROE ของกิจการ A = 10 x 100% / 100 = 10%
และ ROE ของกิจการ B = 8 x 100% / 50 = 16%
หากท่านต้องการใช้ ROE ต้องพิจารณาความเสี่ยงด้านการเงินด้วย แต่หากใช้ ROCE ไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงความเสี่ยงทางด้านการเงิน
อีกวิธีหนึ่่งที่จะวัดว่าหุ้นมีมูลค่าแฟรนไชด์หรือไม่ อาจพิจารณาได้จาก ROE เทียบกับ ต้นทุนทางการเงินของผู้ถือหุ้น (Ke) หาก ROE มากกว่า Ke แสดงว่ามีมูลค่าแฟรนไชด์ แต่หาก ROE = Ke แสดงว่าไม่มีมูลค่าแฟรนไชด์ สุดท้ายถ้า ROE น้อยกว่า Ke แสดงว่าทำลายแฟรนไชด์ ซึ่งส่งผลให้มูลค่าหุ้นที่แท้จริงต่ำกว่ามูลค่าหุ้นตามบัญชี
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น