ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก 2013

เจ้าสัว...สอนธรรมในวันปีใหม่

วันที่ได้เข้าไปสวัสดีปีใหม่ล่วงหน้าประจำปี 2557 กับเจ้าสัวที่คอยให้เป็นทั้งนายทุน เจ้าหนี้ หุ้นส่วนธุรกิจ และที่ปรึกษา ให้กับผม แกเลยถือโอกาสให้พรพร้อมทั้งสอนธรรมดังนี้ มนุษย์และสัตว์ทุกตัวในโลกนี้ ล้วนแต่แสวงหาความสุขเหมือนกันทั้งหมด แต่ที่แตกต่างกัน คือ พระพุทธเจ้าท่านทรงค้นหาวิธีแสวงหาความสุขที่เป็นนิรันดร์ ท่านจึงพบว่าอริยสัจ 4 อันประกอบด้วย ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เป็นทางพ้นทุกข์ที่แท้จริงทำให้ใจไม่กลับไปทุกข์อีก คือ มีใจอยู่แต่ความทุกข์เข้าไม่ถึงใจ การปฎิบัติเริ่มต้นจากการรู้ทุกข์ ซึ่งการจะรู้ทุกข์ได้นั้น ต้องอาศัยสติเป็นเครื่องรู้ แล้วใช้สติเข้าไปรู้ทุกข์ที่ปรากฎในกายใจของตนเอง เมื่อมีสติรู้บ่อยๆย่อมจะพบว่าสิ่งต่างๆที่ปรากฎในกายใจ มีลักษณะเป็นไตรลักษณ์ ประกอบด้วย อนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา เหมือนกันทั้งหมด ไม่มีสิ่งใดที่ไม่เป็นไตรลักษณ์ (อนิจจัง คือ ความไม่เที่ยง ทุกขัง คือ ความแปรปรวน และอนัตตา คือ ความไม่มีตัวตน) เมื่อใจได้เรียนรู้กายและใจว่าเป็นไตรลักษณ์แบบเต็มที่แล้ว ใจจะเกิดความเบื่อหน่ายต่อกายและใจ อันนำไปสู่ความเข้าใจแบบรวบยอดว่า กายและใจไม่ใช่เรา ซึ่งข้อสรุปนี้เป็

เจ้าสัว...สอนชีวิต

ลมหนาวได้พัดมาอีกครั้ง มันทำให้ผมนึกถึงชีวิตที่ผ่านมา เพราะทุกครั้งที่ได้สัมผัสลมหนาว เหมือนธรรมชาติจะบอกว่าเวลาได้ผ่านไปแล้วอีก 1 ปี มันทำให้ผมได้ทบทวนตัวเองว่า 1 ปี ที่ผ่านมา ได้ทำสิ่งใดไปบ้าง เป็นไปตามที่ตั้งเป้าหมายไว้หรือไม่ ถ้าไม่เป็นไปตามเป้าหมายเพราะสาเหตุใด และมันทำให้ผมได้วางเป้าหมายสำหรับปีหน้าด้วย เจ้าสัวเคยเล่าให้ผมฟังว่า แกเคยผ่านความตายมาแล้วถึง 3 ครั้งในชีวิต ซึ่งในแต่ละครั้งมันทำให้แกได้ได้เลือกดำเนินชีวิตที่แตกต่างจากเดิม แกเล่าให้ฟังว่า เมื่อคุณรู้ว่าคุณกำลังตาย คุณจะรู้ทันทีว่าสิ่งใดสำคัญที่สุดในชีวิต และหากคุณรอดมาได้คุณจะกระตือรือร้นที่จะทำสิ่งใดก่อนเป็นอันดับแรก ซึ่งสิ่งนี้มันทำให้คุณรู้จักการจัดลำดับความสำคัญของชีวิต แกสอนต่อว่า 30 ปี แรกของการมีชีวิตอยู่ คือ การค้นหาตัวเองให้พบ เพื่อสร้างความความสำเร็จให้กับตนเอง 30 ปีต่อมา คือ การมีชีวิตอยู่เพื่อผู้อื่นที่ใกล้ชิด เพราะเราช่วยเหลือตัวเองได้แล้ว ก็เริ่มต้นที่จะช่วยเหลือคนใกล้ชิด อันประกอบด้วย ครอบครัว พี่น้อง และเพื่อนฝูง ส่วน 30 ปีสุดท้าย คือ การมีชีวิตอยู่เพื่อสังคม คือ คนอื่นที่เราไม่รู้จักแต่เป็นเพื่อนร่

เจ้าสัว…การหาเงินขยายธุรกิจ

หลังจากดำเนินธุรกิจมาได้หลายปีแล้ว ผมได้รับคำสั่งซื้อจำนวนมากจากลูกค้าเดิม เพราะการทำธุรกิจที่มีแต่ความซื่อสัตย์ จริงใจ และเอาใจใส่ต่อลูกค้ามาโดยตลอด แต่สิ่งหนึ่งที่ยังคงเป็นปัญหาของธุรกิจในขณะนี้ก็คือ การตึงตัวของฐานะการเงิน ผมจึงได้เข้าไปหารือกับเจ้าสัวซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทว่าจะดำเนินการอย่างไรกับสภาพคล่องของกิจการ เจ้าสัวจึงได้ให้ข้อเสนอแนะดังนี้ การหาเงินเข้าสู่กิจการคือ 1) การกู้ยืมเงินจากธนาคาร ซึ่งมีต้นทุนทางการเงินแก่กิจการ ก็คือดอกเบี้ยจ่าย 2) การเพิ่มทุนจากผู้ถือหุ้น ซึ่งมีต้นทุนทางการเงินแก่กิจการ ก็คือเงินปันผลแก่ผู้ถือหุ้น 3) การบริหารทรัพย์สินของกิจการ เช่น การเก็บหนี้ให้เร็วขึ้นโดยการให้ส่วนลด การขายสินค้าคงเหลือในราคาส่วนลด เป็นต้น ซึ่งกรณีนี้ไม่มีต้นทุนทางการเงินที่เพิ่มขึ้น หากเปรียบเทียบต้นทุนทั้ง 3 แหล่งเรียงตามลำดับจากต้นทุนต่ำสุดไปหาสูงสุด ก็คือการขายสินค้าคงเหลือมีต้นทุนต่ำที่สุด หากสามารถขายได้ก็ยังเป็นลดต้นทุนการเก็บสินค้าคงเหลือ เนื่องจากประหยัดพื้นที่และการดูแลรักษา รวมทั้งได้ตรวจสอบสินค้าคงเหลือในเวลาเดียวกันว่าตรงกับการบันทึกบัญชีหรือไม่ ส

เจ้าสัว...บริหารเวลา

หลังจากผมร่วมลงทุนธุรกิจกับเจ้าสัวมากว่าครึ่งปี แกได้มอบหมายให้ผมเป็น กรรมการผู้จัดการ (Managing Director) และมอบหมายให้คนของแกมาเป็นรองกรรมการผู้จัดการดูแลเรื่องการเงินและบัญชีและเซ็นเอกสารสำคัญบริษัทคู่กับผม   ผมจึงบอกกับแกว่า ต้องการผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ เพื่อจะมาแบ่งเบาภาระงานของผม ซึ่งต้องดูแลเรื่องผลิต การตลาด และบุคคล แกถามกลับว่าผมทำงานอาทิตย์ละกี่วัน ผมตอบกลับ 5 วันต่ออาทิตย์ โดยมาทำงานตั้งแต่ 8.00 - 17.00 น. และหยุดตามวันหยุดของบริษัทซึ่งจะตรงตามวันหยุดในปฏิทิน แกบอกผมว่าเท่าที่ได้ข้อมูลจากผม แกไม่เห็นด้วยการหาผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ เนื่องจากผมยังสามารถทำงานได้อยู่ โดยอ้างอิงจาก ผมควรทำงานอย่างน้อย 6 วันต่ออาทิตย์ และควรยืดเวลาทำงานแต่ละวันโดยให้เลิกทำงาน 4 ทุ่ม ดังนั้นจะเห็นว่ามีเวลาทำงานเพิ่มขึ้นถึงอย่างน้อย 80% แกอธิบายต่อว่า เวลาทำงานของผมต่อเดือนเท่ากับ 160 ชั่วโมง (5 วัน x 8 ชั่วโมง x 4 อาทิตย์) หากผมทำงานตามที่แกบอกเวลาจะเพิ่มขึ้นเป็น 128 ชั่วโมง (5 วัน x 4 ชั่วโมง (ตั้งแต่ 6 โมงถึง 4 ทุ่ม)  x 4 อาทิตย์) + (4 วัน x 12 ชั่วโมง (ทำงานทุกวันเสาร์ตั้งแต่ 8.00 -

เจ้าสัว...สอนทำธุรกิจ

หลังจากที่เจ้าสัวสอนผมแล้ว แกถามว่า "โครงการของคุณต้องใช้เงินลงทุนเท่าไหร่" ผมตอบกลับทันควัน "ใช้เงินลงทุนทั้งหมด 10 ล้านบาทครับ" แกถามต่อ "คุณลงทุนเท่าไหร่ และให้ผมลงทุนเท่าไหร่" ผมตอบกลับอย่างกระอักกระอ่วนใจ "ผมลงทุน 5 ล้านบาท และท่านลงทุนอีก 5 ล้านบาท แต่ตอนนี้ผมยังไม่มีเงินลงทุนครับ แต่ผมจะชำระให้ครบจำนวนในภายหลัง" แกจ้องหน้าและเสนอกลับมาว่า "ผมเห็นตัวผมในตัวคุณเมื่อหลาย 10 ปีก่อน ผมขอเสนอว่าจะลงทุน 5.1 ล้านบาท และอีก 4.9 ล้านบาท ผมจะให้คุณกู้โดยคิดอัตราดอกเบี้ย 5% ต่อปี" ผมเข้าใจแกดีว่าเหตุผลที่แกถึงหุ้น 5.1 ล้านบาท เพราะแกต้องการเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่ควบคุมกิจการได้ เพราะสัดส่วนหุ้นของแกจะเป็น 51% ส่วนของผมจะเท่ากับ 49% แกเสริมต่อ "ผมจะให้คุณเขียนเช็คส่วนตัวให้ผมล่วงหน้าทั้งหมด 5 ใบ ใบที่ 1-4 ยอดเงิน 1.0 ล้านบาท และใบสุดท้าย 2,125,000 บาท (900,000 + 5,000,000 x 5% x 5) แต่ละใบลงวันที่ห่างกัน 1 ปี โดยใบแรกลงวันที่ 1 ปีให้หลังจากตั้งโครงการนี้" แกหยุดหายใจและพูดต่อ " ผมจะเตือนคุณว่าเช็คแต่ละใบเป็นคดีอา

คำสอน...เจ้าสัว

ผมนั่งมองนาฬิกาที่ติดผนังห้องอย่างตั้งใจเพื่่อรอคอยการได้เข้าพบกับคนสำคัญที่อาจเปลี่ยนแปลงชีวิตไปตลอดกาล สายตาเหลือบไปมองซองสีน้ำตาลที่บรรจุแผนธุรกิจที่เตรียมไว้อย่างดี ซึ่งผมใช้เวลาเขียนพร้อมหาข้อมูลมาประกอบเป็นเวลาเกือบสองเดือน สองเดือนที่ผ่านมามีเรื่องราวเกิดขึ้นมากมาย และยาวนานกว่าครั้งใดๆในชีวิต แต่ละนาทีที่ผ่านไปเดินไปอย่างช้าๆทำให้เข้าใจเรื่องเวลา 1 นาทีของแต่ละชีวิตไม่เท่ากัน "เมื่อชีวิตมีความสุข หนึ่งนาทีนั้นแสนสั้น แต่เมื่อชีวิตมีความทุกข์ หนึ่งนาทีนั้นแสนยาวนาน" เลขาฯของเจ้าสัวบอกว่าท่านให้เข้าไปพบในห้องได้แล้ว ผมเดินเข้าไปในขณะที่แกยังก้มหน้าเซ็นเอกสารที่กองอยู่บนโต๊ะทำงาน แกเชิญให้นั่งและให้ผมช่วยอธิบายโครงการในแผนธุรกิจให้ฟังอย่างย่อเพราะแกบอกว่าคงไม่มีเวลาได้อ่านแผนธุรกิจทั้งเล่ม เนื่องจากในช่วงนี้เป็นช่วงเวลาการเตรียมตัวขยายการลงทุนจะมีขึ้นในปี 2558 ซึ่งเข้าสู่ยุคของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ซึ่งมีตลาดที่ใหญ่กว่าประเทศไทยถึง 10 เท่า ในทำนองกลับกัน หมายถึงการแข่งขันที่รุนแรงเพิ่มขึ้นเป็น 10 เท่าเช่นเดียวกัน ผมใช้เวลา 15 นาทีในการอธิบายโครงการทั้งหมดเป็น

มีแต่ได้กับได้ ... หุ้นปันผล

หุ้นปันผล คือ หุ้นที่มีการจ่ายเงินปันผลอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลามากกว่า 5 ปีที่ผ่านมา ซึ่งสะท้อนถึงธุรกิจมีความสามารถในการทำกำไรอย่างสม่ำเสมอจึงสามารถนำกำไรส่วนหนึ่งมาจ่ายปันผล และเหลือกำไรอีกส่วนหนึ่งเอาไว้ขยายกิจการเพื่อสร้างการเติบโตของรายได้และกำไร และส่งผลให้การปันผลเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในอนาคต สมการต่อไปนี้จะนำไปใช้อ้างอิงในตัวอย่างข้างล่าง                กำไรสุทธิ = เงินปันผล + กำไรสุทธิคงเหลือ               มูลค่าหุ้นตามบัญชี = ทุนที่ชำระแล้ว + กำไรสะสม + กำไรสุทธิคงเหลือ               อัตราผลตอบแทนจากเงินปันผล = เงินปันผล x 100% / ราคาหุ้น ตัวอย่าง บริษัท A มีรายได้จากการขายต่อปี 1,000 ล้านบาท และกำไรสุทธิต่อปี เท่ากับ 100  ล้านบาท และมีจำนวนหุ้น 100 ล้านหุ้น ดังนั้น บริษัท A จะมีกำไรสุทธิต่อหุ้น  (EPS) เท่ากับ 1.0 บาท (100/100) และบริษัทมีนโยบายจ่ายปันผลเท่ากับ 50% ของกำไรสุทธิ จึงทำให้บริษัทฯจ่ายเงินปันผลเท่ากับ 50 ล้านบาท (100x50%) หรือ 0.5 บาทต่อหุ้น ดังนั้นบริษัทฯจะมีเงินคงเหลือหลังจ่ายปันผลเท่ากับ 50 ล้านบาท (100-50) หรือ 0.5 บาทต่อหุ้น ซึ่งบริษัทฯจะนำเงิน

หุ้นถูก VS. แพง

คนส่วนใหญ่ในตลาดหุ้น มักจะสับสนระหว่าง คำว่า "หุ้นราคาแพง" กับ " หุ้นราคาสูง" หุ้นราคาแพงของคนส่วนใหญ่ หมายถึง ราคาหุ้นเกิน 100 บาท ยิ่งถ้าราคาหุ้น 1,000 บาท ก็ยิ่งแพงกว่าหุ้นราคา 100 บาท ซึ่งความเข้าใจนี้ผิดอย่างมหันต์ ที่ถูกต้อง ก็คือ หุ้นราคา 1,000 บาท ราคาสูงกว่าหุ้นราคา 100 บาท แต่จะ แพงกว่า หรือไม่นั้นยังตอบไม่ได้จากการดูจากราคาหุ้น การจะพิจารณาว่าหุ้นใดราคาแพงได้นั้น นักลงทุนต้องเทียบราคาหุ้น (Market Price) กับมูลค่าที่แท้จริงของหุ้น (Intrinsic Value) ถ้า ราคาหุ้น สูงกว่า มูลค่าหุ้น แสดงว่าหุ้นนั้น "แพง" ในทางกลับกัน หากราคาหุ้น ต่ำกว่า มูลค่าหุ้น แสดงว่าหุ้นนั้น "ถูก" ตัวอย่าง หุ้น A มีราคาหุ้น 500 บาท แต่มีมูลค่าที่แท้จริงเท่ากับ 1,000 บาท แสดงว่าหุ้น A มีราคาถูก หรือจะเรียกหุ้น A ว่า Undervalued ส่วนหุ้น B มีราคาหุ้น 100 บาท แต่มีมูลค่าที่แท้จริงเท่ากับ 50 บาท แสดงว่าหุ้น B มีราคาแพง หรือจะเรียกหุ้น B ว่า Overvalued จากกรณีตัวอย่างพบว่า หุ้น A มีราคาหุ้น 500 บาท ราคาสูงกว่า หุ้น B ที่มีราคา 100 บาท แต่ หุ้น A ถูกกว่าหุ้น

งานที่ปรึกษาทางการเงิน

นับตั้งแต่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจปี 40 จนถึงปัจจุบัน มันทำให้ผมได้รับประสบการณ์ที่รอบด้าน นับตั้งแต่การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ การฟื้นฟูกิจการ การ Refiance หนี้จากเจ้าหนี้รายหลายให้เหลือเพียงเจ้าหนี้รายเดียว การระดมทุนผ่านกองทุนต่างประเทศในรูปแบบ Private Placement  การทำประชาสัมพันธ์กิจการต่อผู้ลงทุน (Investor Relations Activities) จนกระทั่งถึงการขยายกิจการ กล่าวโดยย่อคือ ได้รับประสบการณ์อันมีค่านับเริ่มตั้งแต่กิจการกำลังจะตาย จนกิจการฟื้นคืนชีพ และกลับมาเติบโตอีกครั้ง และหวังเป็นอย่างยิ่งว่ากิจการในประเทศไทยจะไม่วนกลับไปใกล้ตายอีก   จากความรู้ความเข้าใจในการทำงานมาอย่างต่อเนื่องมาแล้วในหลายอุตสาหกรรม ทำให้สามารถกำหนดขอบเขตงานของที่ปรึกษาทางการเงินให้กับผู้ที่สนใจจะก้าวเดินในเส้นทางนี้ได้โดยย่อดังนี้ 1) การวางแผนทางการเงินระยะเร่งด่วนสำหรับกิจการ     (Ad-Hoc Financial Planning for the Enterprise) ประกอบด้วย การประเมินสภาพคล่องของกิจการ และวงเงินกู้เดิม การกำหนดวงเงินกู้ที่เหมาะสมสำหรับกิจการ การจัดทำแผนการเงินสำหรับขอวงเงินกู้จากธนาคาร 2) การวางแผนทางการเงินระยะสั้น กลาง และยาวสำหร

กลยุทธ์การลงทุนหุ้นภายใต้วิกฤต

ตลาดหุ้นประสบกับภาวะวิกฤตแทบจะตลอดเวลา เพราะเศรษฐกิจสะท้อนภาพมายังตัวธุรกิจ และส่งต่อมาในราคาหุ้น และส่งผ่านไปยังตลาดหุ้นในที่สุด ดังนั้นในแทบทุกปีจะมีข่าวลบเกิดขึ้นในโลกตลอดเวลา ซึ่งเกือบทุกข่าวจะเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการก่อการร้าย สงคราม การปฏิวัติ และการเมือง   จนกระทั่งทุกวันนี้ ข่าวดียังเป็นข่าวลบในตลาดหุ้นได้ ซึ่งเห็นได้ชัดเจนจากกรณีของสหรัฐฯคาดว่าจะลด (Tapering) QE4 ลง ทั้งที่การลด QE4 ครั้งนี้เนื่องจากเศรษฐกิจของอเมริการเริ่มฟื้นตัว ซึ่งหากเป็นสามัญสำนึกตามปรกติหุ้นต้องปรับตัวขึ้น เพราะเศรษฐกิจจะดีขึ้น แต่กลับไม่เป็นเช่นนั้นเลย ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงอย่างรุนแรงจากระดับประมาณ 1,700 จุด เหลือเพียงประมาณ 1,300 จุด หรือลดลงถึง 23.5% ในช่วงเวลาเพียง 2-3 เดือนที่ผ่านมา เหตุการณ์นี้อธิบายได้อย่างสั้นๆว่า คือ วิกฤตเงินไหลออก (Fund Flow Crisis)  เพราะตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบันมีเงินไหลออกเกือบ 120,000 ล้านบาท (โฮ้ แม่เจ้า เกิดอะไรขึ้น) ทั้งที่ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนไทยเติบโตอย่างน่าประทับใจ จากสวรรค์สู่ขุมนรกในเวลาแค่พริบตา ดังนั้นตลาดหุ้นจึงเป็นเรื่องคาดการ

ชีวิตที่ต้องค้นหา

ย้อนหลังกลับไปไกลเกินกว่า 10 ปีที่ผ่านมา ผมได้เปลี่ยนเส้นทางชีวิตของตนเองจากการทำอาชีพวิศวกรก้าวมาสู่การเป็นนักการเงินอย่างเต็มตัว เส้นทางเส้นนี้ถูกลิขิตหรือกำหนดไว้ล่วงหน้าหรือไม่ ไม่มีใครทราบได้ เพียงแต่วันนั้นผมรู้แต่ว่าทุกวันที่ตื่นขึ้นมาแล้วไปทำงานเป็นวิศวกรจะมีเสียงคอยกระซิบอยู่แทบทุกวันว่า "เวลาผ่านไป บัดนี้ท่านกำลังทำอะไรอยู่" ซึงมันเหมือนเสียงที่คอยส่งสัญญาณเตือนใจว่ามีบางสิ่งบางอย่างที่ยิ่งใหญ่รอคอยอยู่ข้างหน้า... แล้วการตัดสินใจครั้งสำคัญก็เกิดขึ้น เมื่อพายุลูกใหญ่ได้กระหน่ำฤาโถมกระหน่ำซ้ำลงไปที่ถนนสุขุมวิท 71 ผมเดินฝ่าทั้งกระแสลมและฝนเพื่่อมุ่งตรงไปขึ้นเรือหางยาวเพื่อหนีรถติดในมหานครกรุงเทพฯ (หนีไม่ได้จริง) เสื้อผ้าที่เปียกโชกไปทั้งตัว หนาวสั่นจนแทบเดินไม่ออก คลองแสนแสบส่งกลิ่นโชยมาเป็นระยะๆ สมกับชื่อของมัน และผมก็ไม่เคยชินกับมันซักทีทั้งที่ได้กลิ่มมันแทบทุกวัน เสียงดังเปรี้ยงราวกับเกิดสงครามกลางเมือง ผมเงยหน้ามองขึ้นไปบนฟ้าแต่ไม่เห็นสายฟ้าแต่อย่างใด ผมได้ยินเสียงคนเอะอะโวยวาย แตกตื่นกันยกใหญ่ เรือหางยาวที่กำลังจะมารับผู้โดยสารเกิดพลิกคว่ำเพราะเสียหลักไปกระแ

มูลค่าหุ้นตามแฟรนไชด์ (ต่อ 2)

มูลค่าหุ้นที่แท้จริง ประกอบด้วย มูลค่าหุ้นตามบัญชี + มูลค่าหุ้นตามแฟรนไชด์ + มูลค่าหุ้นตามการเติบโต โดยที่ มูลค่าหุ้นตามบัญชี สามารถคำนวณได้จากงบแสดงฐานะการเงินล่าสุด ซึ่งได้กล่าวไปแล้วในบทความที่ผ่านมา มูลค่าหุ้นตามแฟรนไชด์ คำนวณได้จาก ROE - Ke เช่น หุ้น ABCD มี  ROE 20% ในขณะที่มี Ke เท่ากับ 10% ซึ่งจะแสดงรายการคำนวณข้างล่าง ดังนั้นมูลค่าแฟรนไชด์จะเท่ากับ 10% มาจาก 20%-10% หากต้องการจะแปลงเป็นมูลค่าเป็นตัวเงิน สามารถทำได้โดยการ นำมูลค่าแฟรนไชด์ คูณกับ มูลค่าหุ้นตามบัญชี สมมติว่าหุ้นต้วนี้มีมูลค่าหุ้นตามบัญชีเท่ากับ 100 บาท ดังน้้นมูลค่าแฟรนไชด์จะเท่ากับ 10% x 100 = 10 บาท อย่างไรก็ตามมูลค่าแฟรนไชด์ที่เกิดขึ้นตามที่กล่าวข้างต้นเป็นมูลค่าที่เกิดขึ้นเพียง 1 ปีเท่านั้น หากหุ้นตัวนี้มีมูลค่าแฟรนไชด์ตลอดไปของการทำธุรกิจ สามารถทำได้โดยการ มูลค่าแฟรนไชด์ทีคำนวณได้ คือ 10 บาท หารด้วย Ke ซึ่งกรณีนี้มีเงื่อนไขว่าหุ้น ABCD ไม่มีการเติบโตของกำไรสุทธิ จากตัวอย่างข้างต้น Ke เท่ากับ 10% ดังนั้นมูลค่าแฟรนไชด์จะเท่ากับ 10/10% = 100 บาท ค่า Ke คือ ผลตอบแทนขั้นต่ำที่ผู้ถือหุ้นต้องการจากการลง

มูลค่าหุ้นตามแฟรนไชด์ (ต่อ 1)

เมื่อธุรกิจมีมูลค่าแฟรนไชด์ ย่อมแปรเปลี่ยนไปเป็นมูลค่าหุ้นตามแฟรนไชด์ ทั้งนี้เพราะหุ้นเป็นของเจ้าของธุรกิจและเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจ ดังสมการต่อไปนี้                           ธุรกิจ = เจ้าหนี้ + เจ้าของธุรกิจ อาจเทียบเคียงได้กับสมการบัญชี คือ ธุรกิจ คือ สินทรัพย์   หนี้สิน คือ เจ้าหนี้   และ เจ้าของธุรกิจ คือ ส่วนของผู้ถือหุ้น  ดังนั้นมูลค่าแฟรนไชด์ของธุรกิจ จะไปแสดงทั้งหมดในส่วนของของผู้ถือหุ้นและจะสะท้อนออกมาในมูลค่าที่แท้จริงของหุ้น (IVPS) และสุดท้ายจะไปปรากฎในราคาหุ้น (Market Price) เหตุที่มูลค่าแฟรนไชด์ของธุรกิจไม่ได้เป็นของเจ้าหนี้ เพราะเจ้าหนี้ได้รับค่าตอบแทนที่ชัดเจนแล้วในรูปแบบดอกเบี้ยจ่ายจึงไม่มีสิทธิใดๆทั้งสิ้นกับมูลค่าแฟรนไชด์ของธุรกิจ หากเข้าใจหลักการที่กล่าวมาข้างต้นนี้ ท่านจะรู้ทันทีว่าการกู้เงินมาทำธุรกิจที่มีแฟรนด์ไชด์จะสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผู้ถือหุ้นเป็นอย่างมาก ท้้งนี้เพราะมูลค่าแฟรนไชด์ตกเป็นของผู้ถือหุ้นแต่เพียงฝ่ายเดียว                         มูลค่าแฟรนไชด์ของธุรกิจ วัดได้จาก  ROCE                           มูลค่าแฟรนไชด์ของหุ้น วัดได้จาก ROE  

มูลค่าหุ้นตามแฟรนไชด์

มูลค่าหุ้นตามแฟรนด์ไชด์ คือ มูลค่าแฟรนด์ไชด์ของธุรกิจ ซึ่งหมายถึง ธุรกิจนั้นมีความได้เปรียบในการแข่งขันเมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมของตนเอง โดยความได้เปรียบในการแข่งขัน (Competitive Advantage) ประกอบด้วยรายละเอียดหลักๆดังนี้ 1) สัมปทาน หรือ ใบอนุญาตจากรัฐ  ส่งผลให้เกิดการกีดกันการแข่งขันทางการค้าที่รุนแรง เพราะผู้ได้สัมปทานจะมีจำนวนจำกัด และสามารถกำหนดราคากันได้เอง 2) ส่วนแบ่งการตลาด (Market Share) ขนาดใหญ่ ส่งผลให้เกิดการประหยัดขนาดในธุรกิจนำไปสู่ต้นสินค้าและบริการที่ต่ำ กล่าวคือ ธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีส่วนแบ่งการตลาดสูงมากจะมีอำนาจในการต่อรองซื้อสินค้าจากผู้ผลิตในราคาที่ต่ำกว่าธุรกิจขนาดเล็ก 3) ความต้องการสินค้าของผู้บริโภคที่ยั่งยืน กล่าวคือ สินค้านั้นมีแบรนด์ที่่ได้รับการยอมรับจากผู้บริโภค ซึ่งส่งผลให้สินค้านั้นเกิดการซื้อซ้ำๆในอนาคต ด้วยการที่ธุรกิจมีแฟรนไชด์ย่อมส่งผลให้มีความธุรกิจสามารถทำกำไรได้สูงกว่าอุตสาหกรรมของตนเอง ซึ่งสามารถวิเคราะห์ได้จากงบการเงินที่ผ่านมา โดยใช้อัตราส่วนทางการเงินดังต่อไปนี้                         ผลตอบแทนของเงินลงทุน (ROCE)  =  กำไรจากการดำเนินงาน x

แกะรอยมูลค่าหุ้นที่แท้จริง

มูลค่าหุ้นที่แท้จริง (Intrinsic Value per Share : IVPS ) ประกอบด้วยมูลค่าหลัก 3 ส่วนด้วยกันดังต่อไปนี้ [การคำนวณหามูลค่าที่แท้จริงของหุ้นได้อธิบายแล้วในบทความก่อนหน้านี้] มูลค่าส่วนที่ 1 คือ มูลค่าหุ้นตามบัญชี (Book Value per Share : BVPS ) คำนวณได้ตามงบดุล หรือ ปัจจุบันเรียกกันว่า งบแสดงฐานะการเงิน ซึ่งมีสมการดังนี้                                   มูลค่าหุ้นตามบัญชี = ส่วนของผู้ถือหุ้น                                                                    จำนวนหุ้นที่ชำระแล้ว  มูลค่าส่วนที่ 2 คือ มูลค่าหุ้นตามแฟรนไชด์ (Franchise Value per Share : FVPS ) คำนวณได้จากส่วนต่างของมูลค่าหุ้นที่แท้จริงที่ไม่มีการเติบโตของกำไรกับมูลค่าหุ้นตามบัญชี มีสมการดังนี้                    มูลค่าหุ้นตามแฟรนไชด์ = มูลค่าหุ้นที่แท้จริง  - มูลค่าหุ้นตามบัญชี  มูลค่าส่วนที่ 3 คือ มูลค่าหุ้นตามการเติบโต (Growth Value per Share : GVPS) คำนวณได้จากส่วนต่างของมูลค่าหุ้นที่แท้จริงที่มีการเติบโตของกำไรกับมูลค่าหุ้นตามบัญชีและมูลค่าตามแฟรนไชด์ ซึ่งมีสมการดังนี้                  มูลค่าหุ้นตามการเต

บทสุดท้ายของไดอารี่พ่อ

บทสุดท้ายของไดอารี่มีข้อความดังนี้ มันคงจะดีหากพ่อได้มีโอกาสบอกกับเดี่ยวด้วยตัวของพ่อเอง แต่หากพ่อไม่มีโอกาสได้บอกให้ลูกรู้ เพราะพ่ออาจจะจากไปก่อนเวลาอันควร พ่อก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่าไดอารี่เล่มนี้จะบอกเล่าเรื่องราวทั้งหมดแทนพ่อได้เป็นอย่างดี เมื่อครั้งที่ลูกอยากทำธุรกิจส่วนตัว แต่พ่อไม่เห็นด้วยนั่นเป็นเหตุที่ทำให้เราพ่อลูกต้องทะเลาะกัน ด้วยเหตุผลก็คือ พ่อคิดว่ามันไม่ใช่ช่วงเวลาที่เหมาะสมด้านความรู้ ประสบการณ์ และความพร้อมทางอารมณ์ ของเดี่ยว เปรียบเหมือนคำกล่าวที่ว่า ผลไม้ต้องรอเวลาสุก ความจริงแล้วพ่อก็อยากเห็นลูกมีธุรกิจส่วนตัวเช่นกัน ดังนั้นพ่อจึงได้ทำงานพิเศษเพื่อเก็บเงินไว้ให้ลูกเป็นทุนในการทำธุรกิจ ถึงแม้มันอาจจะไม่มากมาย แต่ก็พอที่จะเริ่มต้นทำธุรกิจได้ และพ่อขอให้ลูกอย่ามองข้ามสิ่งเล็กๆไป เพราะสิ่งเล็กๆเหล่านี้จะสร้างสิ่งที่ยิ่งใหญ่เสมอ ตัวอย่างเช่น เงินลงทุน 1.0 ล้านบาท หากลงทุนแล้วให้ผลตอบแทน 10% ต่อปี เรานำผลตอบแทนที่ได้มาลงทุนซ้ำอีกจะพบว่าอีก 10 ปีต่อมา เราจะมีเงินทั้งหมด 2.6 ล้านบาท ถ้าหากลงทุนเป็นระยะเวลา 20 ปี จะมีเงินทั้งหมด 6.7 ล้านบาท หรือหากลงทุนเป็นระยะเวลา 30 ปี

นักล่าอาณานิคมยุคโลกาภิวัฒน์ (ต่อ)

หลังจากวิกฤติประมาณสักประมาณ 2 ปี ก็ได้เวลาเริ่มเข้าสู่การลงทุนของกองทุนล่าอาณานิคม เพราะช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาที่สุกงอมและทราบแล้วว่าบริษัทจดทะเบียนใด (บริษัทที่มีหุ้นซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์) สามารถผ่านพ้นวิกฤติไปได้ แต่ยังคงบาดเจ็บและอ่อนแออยู่ ถ้าได้รับการเยียวยาที่ถูกต้องจะเกิดอาการ "เกือบตาย แล้วฟื้นคืนชีพ" หรือนักลงทุนเรียกกันว่าธุรกิจ / หุ้น ประเภท Turnaround โดยกองทุนเหล่านี้จะเสนอตัวเข้ามาซื้อหุ้นของบริษัทฯแบบเฉพาะเจาะจง (Private Placement) ในราคาถูกแสนถูก และบริษัทฯส่วนใหญ่ก็ยินดีจะขายด้วย เนื่องจาก ถ้าไม่ขายอาการเกือบตายอาจจะกลับไปตายได้ คือสูญเสียทุกอย่างให้กับเจ้าหนี้เงินกู้ เพราะอาจไม่มีกำลังจ่ายดอกเบี้ยและเงินต้น และจะถูกยึดทรัพย์ในที่สุด ดังนั้นการขายหุ้นครั้งนี้เปรียบได้กับการตัดอวัยวะเพื่อรักษาชีวิต กองทุนนักล่าเหล่านี้จะเลือกบริษัทที่มีลักษณะ คือ มีกำไรจากการดำเนินงาน แต่มีผลขาดทุนสุทธิ โดยผลขาดทุนสุทธินี้สาเหตุหลักมาจากดอกเบี้ยจ่ายที่มีจำนวนสูงมากซึ่งจะแสดงในรูปแแบบงบการเงินดังนี้ งบกำไรขาดทุน ก่อนขายหุ้นเพิ่มทุน หน่วย : ล้านบาท รายได้จากการขาย   

นักล่าอาณานิคมยุคโลกาภิวัฒน์

เหตุการณ์ในยุควิกฤติต้มยำกุ้งที่ผ่านมานั้นเป็นช่วงเวลานั้นที่่บริษัทส่วนใหญ่ประสบกับปัญหาหนี้สินล้นพ้นตัว ทั้งนี้เพราะกู้เป็นเงินสกุล US$ ในขณะที่อัตราเงินบาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ ได้ลอยตัวจาก 25 บาท/US$ ไปสูงเกินกว่าเท่าตัว อีกทั้งถูกกระหนำซ้ำเติมด้วยอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ได้ปรับตัวสูงขึ้นเป็นอย่างมากในช่วงเวลาสั้นๆ ส่งผลให้เกิดวิกฤตทางการเงินอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ บริษัทฯส่วนใหญ่รวมถึงสถาบันการเงินได้พังพินาศไปตามๆกัน บริษัทฯที่ประคองตัวอยู่ได้ส่วนใหญ่เป็นบริษัทที่เน้นการส่งออกเป็นหลัก เพราะรายได้เพิ่มขึ้นไปพร้อมกับค่าเงินบาทที่อ่อนตัว อย่างไรก็ตามยังคงประสบปัญหาหนี้รุมเร้าอยู่เหมือนเดิม เพราะทรัพย์สินส่วนใหญ่เป็นเงินบาท แต่ในขณะที่หนี้สินเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก ส่งผลให้ทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันไม่คุ้มกับมูลหนี้แล้ว เจ้าหนี้จึงบังคับหนี้คืนทันทีเพราะส่วนใหญ่ดันกู้เป็นหนี้ระยะสั้นที่เรียกคืนได้ตามเจ้าหนี้ต้องการ ส่งผลให้เกิดการขาดสภาพคล่องอย่างรุนแรง ขณะนั้นทรัพย์สินแทบทุกอย่างในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นที่ดินจนถึงหุ้นมีราคาถูกแสนถูกราวชั่งกิโลขาย กองทุนต่างชาติในซีกโลกตะวันตกใช้กลยุทธ์  WAIT &

ประเมินมูลค่าหุ้น ตอนที่ 2

2) การประเมินมูลค่าหุ้น โดยวิธีกระแสเงินสด (Discounted Cash Flow : DCF Model)   วิธีนี้ DCF Model นี้ได้รับการยอมรับมากที่สุด และนักลงทุนระดับโลกใช้วิธีนี้การคำนวณหามูลค่าหุ้นก่อนการตัดสินใจลงทุน                      V = มูลค่ากิจการ               CF = กระแสเงินสดคงเหลือสำหรับกิจการ                k = ต้นทุนทางการเงินเฉลี่ยของกิจการ เมื่อคำนวณมูลค่ากิจการได้แล้ว ให้นำหนี้สุทธิมาหักออกจากกิจการ ค่าที่ได้จะเป็นของผู้ถือหุ้น และเมื่อนำส่วนของผู้ถือหุ้นมาหารด้วยจำนวนหุ้น ค่าที่ได้จะเป็น มูลค่าที่แท้จริงของหุ้น (Intrinsic Value of Stock) โดยมีตัวอย่างบางส่วนประกอบดังต่อไปนี้               ตัวอย่างต่อไปนี้เป็นกรณีศึกษาบริษัทจำลอง "บริษัท ทริปเปิลบุ๊คแบงค์ จำกัด (มหาชน)" ซึ่งใช้เป็นตัวอย่างในหนังสือ เลือกหุ้น เล่นหุ้น ประเมินราคาหุ้นด้วยตนเอง ซึ่งมีรายละเอียดการคำนวณทั้งหมด ซึ่งท่านสามารถอ่านเพิ่มเติมได้จาก www.mebmarket.com จากการคำนวณข้างต้นพบว่า มูลค่าหุ้นที่แท้จริงเท่ากับ 11.62 บาท ในขณะที่ราคาหุ้นอยู่ที่ 5.3 บาท กรณีเช่นนี้ พบว่า หุ้นมีราคาถูก (Undervalue

ประเมินมูลค่าหุ้น ตอนที่ 1

การประเมินมูลค่าหุ้นยอดนิยมได้ถูกแบ่งเป็น 2 วิธี ดังนี้ 1) การประเมินมูลค่าหุ้น โดยใช้วิธีผลคูณ (Multiples Model) ซึ่งประกอบด้วยรายละเอียดดังนี้                                       มูลค่าหุ้น = P/E x EPS 1      โดยที่ P/E คือ ค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรมหุ้นที่ต้องการลงทุน               P คือ ราคาหุ้นในตลาดของอุตสาหกรรม               E คือ  กำไรสุทธิต่อหุ้นปีหน้าของอุตสาหกรรม               EPS 1 คือ กำไรสุทธิต่อหุ้นปีหน้าของหุ้นที่ต้องการลงทุน      ตัวอย่าง : หุ้น D อยู่ในอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ สมมติให้อุตสาหกรรมนี้มีหุ้นทั้งหมด 3 ตัว ไม่รวมหุ้น D โดยแต่ตัวมีราคาหุ้น และกำไรสุทธิต่อหุ้นปีหน้า ดังต่อไปนี้        หุ้น              ราคาหุ้น (บาท)          กำไรสุทธิต่อหุ้นปีหน้า (บาท)                                P                                           E                                         A                    10                                         1.0                  B                    20                                         1.8         C       

มูลค่าหุ้น VS. ราคาหุ้น

มูลค่าหุ้น (Value of Stock) คือ สิ่งที่นักลงทุนได้รับจากหุ้น ราคาหุ้น (Price of Stock) คือ สิ่งที่นักลงทุนจ่ายให้กับหุ้น การลงทุนที่ประสบความสำเร็จ คือ มูลค่าหุ้น มากกว่า ราคาหุ้น หรือ เรียกอีกแบบหนึ่งว่า "หุ้นราคาถูก (Undervalued)" เมื่อหุ้นราคาถูกย่อมมีโอกาสสูงมากที่หุ้นจะปรับราคาขึ้นในอนาคต เพราะไม่ช้าก็เร็วตลาดจะรับรู้และเข้าสู่จุดสมดุลในที่สุด ปรกติ เราสามารถจะหา หุ้นราคาถูก ได้เสมอ เมื่อตลาดเข้าสู่สภาวะหมีใหญ่ (กลัวจัด) ในทางกลับกัน การลงทุนที่ล้มเหลว คือ  ราคาหุ้น มากกว่า มูลค่าหุ้น   หรือ เรียกอีกแบบหนึ่งว่า "หุ้นราคาแพง (Overvalued)" เมื่อหุ้นราคาแพงย่อมมีโอกาสสูงมากที่หุ้นจะปรับราคาลงในอนาคต เพราะไม่ช้าก็เร็วตลาดจะรับรู้และเข้าสู่จุดสมดุลในที่สุดเช่นเดียวกัน ปรกติ เราสามารถจะพบ หุ้นราคาแพง ได้เสมอ เมื่อตลาดเข้าสู่สภาวะพญากระทิง (โลภจัด) หลักการลงทุนง่ายๆ คือ ซื้อหุ้นตอนตลาดหมีใหญ่ และขายหุ้นตอนตลาดพญากระทิง หรือ ซื้อถูก (Undervalued) ขายแพง (Overvalued) แต่หลักการนี้ถ้าคิดให้ดีฝืนความรู้สึกของคน คือ ให้ซื้อหุ้นในขณะที่ตลาดกำลังตกต่ำไปเรื่อยๆ

รางวัลของการชนะ ความกลัว VS. ความโลภ

บทความก่อนหน้านี้ได้เขียนเรื่องราวเกี่ยวกับความกลัวและความโลภในตลาดหุ้นซึ่งเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาในตลาดหุ้นไม่ว่าในประเทศใดก็ตาม เพราะตลาดหุ้นที่พัฒนาแล้ว เช่น อเมริกา ยุโรป และญี่ปุ่น ก็เผชิญกับเหตุการณ์เหล่านี้เช่นกัน เนื่องจากความกลัวและความโลภมีทุกหนทุกแห่งไม่ได้ยืนยันว่าคนที่มีความรู้มากกว่าจะควบคุมรู้สึกได้ดีกว่าคนที่มีความรู้น้อยด้อยกว่า ดังนั้นการเอาชนะตลาดหุ้นได้ในระยะยาวนั้นจึงเป็นเรื่องของสภาพจิตใจมากกว่าเรื่องความรู้ในการลงทุน  กล่าวโดยย่อคือ ตลาดหุ้นชนะกันด้วย EQ มากกว่า IQ อย่างไรก็ตามก่อนลงทุน ผู้ลงทุนต้องมีความรู้พื้นฐานในการลงทุนก่อน เพื่อจะได้เข้าใจว่ากระบวนขึ้นลงของหุ้นว่ามาจากสาเหตุใด เพื่อจะนำไปใช้ในการตัดสินใจในการลงทุนต่อไป ความรู้พื้นฐานในการลงทุนหุ้น คือ การเข้าใจธุรกิจ การเข้าใจงบการเงิน และสามารถวิเคราะห์งบการเงินได้ด้วยตนเอง เพราะ ราคาหุ้นเกี่ยวข้องโดยตรงกับผลประกอบการของหุ้นตัวนั้น   หากกิจการของหุ้นตัวนั้นมีกำไรสุทธิต่อหุ้น (Earnings per Share : EPS) เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ย่อมส่งผลให้ราคาของหุ้นตัวนั้นปรับตัวขึ้นด้วยในทิศทางเดียวกัน ในทางกลับกัน หากกิจการข

ความกลัว VS. ความโลภ

การลงทุนในหุ้นเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ในตัวของมันเอง ความเป็นศาตร์ คือ ความเหตุและมีผล ในขณะที่ความเป็นศิลป์ คือ ความไร้เหตุและผล ดังสังเกตได้จากบางครั้งราคาหุ้นก็ผันผวนไร้ทิศทางไม่สอดคล้องกับผลประกอบการของหุ้นต้วนั้น ซึ่งความมีเหตุผลและไร้เหตุผลในตัวเองนั้นก็สอดคล้องกับพื้นฐานของมนุษย์ ซึ่งบางครั้งก็กระทำสิ่งใดก็มีเหตุผล บางคร้้งก็มีแต่อารมณ์ความรู้สึกเป็นที่ตั้ง ดังนั้น หากต้องการเข้าใจหุ้นได้อย่างลึกซึ้ง คงต้องนับหนึ่งจากการเข้าใจมนุษย์ให้ได้เสียก่อน จำไว้เสมอว่า สิ่งมีชีวิตทุกชนิด มีสัญชาตณานในการป้องกันตัวเอง และรักตัวเองเป็นที่สุด คนก็เช่นเดียวกัน การป้องกันตัวเองของคนนั้นมีพื้นฐานมาจาก "ความกลัว" ในขณะที่การรักตัวเองนั้นมีพื้นฐานมาจาก "ความโลภ" นักลงทุนจึงเปรียบเทียบว่า ความกลัว = ตลาดหมี คือ ภาวะตลาดหุ้นตกต่ำ นิยมใช้สีแดงเป็นสัญลักษณ์ ยิ่งแดงมากยิ่งกลัวจัด ส่วน ความโลภ = ตลาดกระทิง คือ ภาวะตลาดหุ้นวิ่งกระจาย นิยมใช้สีเขียวเป็นสัญลักษณ์ ยิ่งเขียวมายิ่งโลภมาก เมื่อเราเข้าใจคนเพียงเสี้ยวเดียว คือ ความกลัว กับ ความโลภ ได้ เราก็สามารถสร้างผลกำไรจากตลาดหุ้นไ

ข้อมูลสำหรับทำธุรกิจ

ถาม :   ผมอยากทำธุรกิจส่วนตัว แต่ยังไม่ทราบว่าจะทำธุรกิจอะไรดี จะขออาจารย์ช่วยแนะนำให้ครับ ตอบ : ให้หาข้อมูลจากเว็บไซด์ตลาดหลักทรัพย์ : www.set.or.th ซึ่งมีบริษัทจดทะเบียนเป็นจำนวนมาก และคิดว่าแทบจะครอบคลุมธุรกิจเกือบทุกประเภท โดยข้อมูลสำคัญประกอบด้วย ผลการดำเนินงาน หาดูได้จาก รายงานประจำปี (Annual Report) และพื้นฐานธุรกิจ หาดูได้จาก แบบฟอร์ม 56-1 ตัวอย่างรายละเอียดอย่างย่อของรายงานประจำปี 1) ข้อมูลทั่วไป  ประกอบด้วยสถานที่ตั้งและที่ติดต่อของบริษัทมหาชนและกลุ่มบริษัทในเครือ  2) ข้อมูลคณะกรรมการบริษัท 3) สารจากประธาน แสดงถึงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารระดับสูงของบริษัทและการกำหนดทิศทางของธุรกิจในอนาคต 4) ผลการดำเนินงานและฐานะทางการเงินเปรียบเทียบย้อนหลัง ซึ่งประกอบด้วยงบกำไรขาดทุน งบดุล งบกระแสเงินสด และอัตราส่วนทางการเงิน 5) ลักษณะของธุรกิจ ทำให้ทราบว่าบริษัทดำเนินธุรกิจประเภทใด มีฐานการผลิตและการจัดจำหน่ายที่ใด และมีปัจจัยเสี่ยงใดบ้าง รวมทั้งนโยบายการบริหารความเสี่ยง 6) โครงสร้างการดำเนินธุรกิจของกลุ่มบริษัทฯ 7) โครงสร้างรายได้ของกลุ่มบริษัทฯ 8) รายชื่อผู้ถือหุ้นรายใหญ

ทำธุรกิจแบบไม่ใช่เงิน ตอนที่ 2

ถาม : ขอบคุณอาจารย์มากนะครับที่ตอบคำถามเรื่องการทำธุรกิจโดยไม่มีเงิน แต่ผมลองเช็คกับเจ้าหนี้การค้าแล้วว่าเขาจะให้เครดิตผมได้ยาวที่สุดกี่วัน เขาให้เครดิตผมเพียง 30 วัน ในขณะที่ระยะเวลาในการขายสินค้า และการให้เครดิตแก่ลูกค้า รวมกันยาวถึง 90 วัน ผมควรจะทำอย่างไรดีครับ แนะนำผมด้วยครับ ตอบ : จากสภาวะการณ์ของคุณ ทางออกที่ดีที่สุด คือ การขอวงเงินแฟคตอริ่ง (Factoring) กับแบงก์ ซึ่งเป็นวงเงินระยะสั้น โดยหลักการคือว่า คุณก็เอาลูกหนี้การค้าของคุณไปขายให้กับแบงก์ โดยแบงก์จะจ่ายเงินให้บางส่วน หลังจากแบงก์เรียกเก็บเงินกับลูกหนี้ของคุณได้แล้ว แบงก์ก็จะหักดอกเบี้ยและค่าใช้จ่ายอื่นๆของแบงก์ เหลือเท่าไหร่ก็จะคืนให้กับคุณ ตัวอย่างเช่น สมมติว่า คุณซื้อสินค้ามา 10 ล้านบาท ได้รับเครดิต 30 วัน ต่อมาคุณขายสินค้าได้ในวันที่ 30 ในราคา 12 ล้านบาท และได้ให้เครดิตกับลูกค้าอีก 60 วัน จะเห็นได้ว่า พอครบกำหนดการชำระหนี้ค่าสินค้า คุณไม่มีเงินจ่ายค่าสินค้า เนื่องจากกว่าจะเก็บเงินได้ก็ต้องใช้เวลา 90 วัน ถ้าคุณแก้ปัญหาด้วยการใช้วงเงินแฟคตอริ่ง จะทำให้คุณสามารถมีเงินจ่ายค่าสินค้าได้ แต่อาจจะได้กำไรไม่เต็มเม็ดเต็มหน

ทำธุรกิจแบบไม่ใช่เงิน ตอนที่ 1

ถาม : หลังจากเรียนจบปริญญาตรี ผมทำงานเป็นลูกจ้างมาเกือบ 10 ปี เก็บเกี่ยวประสบการณ์มาพอสมควร มาวันนี้ผมอยากจะลงมือทำธุรกิจของตนเอง แต่ขาดเงิน อาจารย์ พอมีวิธีการทำธุรกิจแบบไม่ต้องใช้เงินหรือเปล่าครับ ตอบ : การทำธุรกิจโดยไม่ต้องใช้เงินของตนเองสามารถทำได้ครับ วิธีการแบบนี้เขาเรียกกันว่า จับเสือมือเปล่า โดยมีหลักการดังนี้ ขออธิบายเป็นตัวอย่างเพื่อง่ายในการทำความเข้าใจ ขั้นตอนที่ 1) ขอเครดิตการค้ากับเจ้าหนี้การค้าให้ยาวเข้าไว้ สมมติว่าได้ 60 วัน ขั้นตอนที่ 2) ขายสินค้าโดยให้เครดิตกับลูกค้าให้สั้นมากที่สุด ถ้าได้เป็นเงินสดยิ่งดี สมมติว่าให้เครดิต 15 วัน ขั้นตอนที่ 3) ขายสินค้าให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ ซึ่งอาจทำโดยการขายยกล็อต สมมติว่าขายได้ต้องใช้เวลา 30 วัน หากคุณทำได้ตามขั้นตอน 1) – 3) จะพบว่า คุณไม่จำเป็นต้องมีเงินทุนทำธุรกิจ เนื่องจาก ได้เครดิตมา 60 วัน และได้รับเงินจากขายสินค้า 45 วัน ดังนั้น พอครบ 60 วัน คุณก็นำเงินไปจ่ายค่าสินค้า และเก็บกำไรที่ได้ใส่กระเป๋า ยกตัวอย่างเพิ่มเติม 1) ซื้อสินค้ามา 500,000 บาท และได้รับเครดิตจากเจ้าหนี้ 60 วัน 2) ขายสินค้าไปในราคา 600,000

บันได 3 ขั้นสู่อิสรภาพทางการเงิน

ถาม : ตอนนี้ผมทำงานเป็นลูกจ้างครับ และคิดว่าจะออกมาทำธุรกิจส่วนตัว ควรจะเริ่มต้นอย่างไรบ้าง ตอบ : ควรเริ่มต้นจาก “บันได 3 ขั้นสู่อิสรภาพทางการเงิน” โดยมีรายละเอียดดังนี้ บันไดขั้นแรก : ค้นหาธุรกิจ 1. เลือกหมวดอุตสาหกรรมจากตลาดหลักทรัพย์ที่ตัวเองมีความสนใจ หรือมีประสบการณ์โดยตรง หรือมีคนรู้จักที่อยู่ในอุตสาหกรรมนั้น 2. ศึกษาแนวโน้มของอุตสาหกรรมว่ามีทิศทางในระยะยาวเป็นอย่างไรเพื่อสรุปให้ได้ว่า อุตสาหกรรมอยู่ในช่วงขาลง หรือทรงตัว หรือช่วงขาขึ้น 3. เมื่อเลือกอุตสาหกรรมได้แล้ว ศึกษาบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในอุตสาหกรรมนั้นว่าสามารถทำกำไรได้หรือไม่จากงบการเงินย้อนหลัง และการแข่งขันมีความรุนแรงมากน้อยเพียงใด 4. ค้นหาว่าแต่ละบริษัทฯมีกลุ่มสินค้ากี่ประเภท ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายคือใคร และจัดจำหน่ายอย่างไร เพื่อที่จะนำมากำหนดตลาดเฉพาะ(Niche market) ของบริษัท บันไดขั้นสอง : ทำแผนการเงิน 1. กำหนดรูปแบบการทำธุรกิจ การตั้งบริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือ คณะบุคคล หรือ บุคคลธรรมดา 2. กำหนดประเภทธุรกิจว่าจะเป็นแบบ ผลิต หรือ ซื้อมาขายไป หรือ บริการ และมีการบริหารจัดการอย่างไร นับตั้งแต

แบงก์เวลาปล่อยกู้พิจารณาจากอะไร

ถาม : ผมเปิดบริษัทฯและทำธุรกิจมาแล้วประมาณ 3 ปี ตอนนี้ผมกำลังคิดจะกู้เงิน แบงก์เวลาปล่อยกู้ เขาพิจารณาจากอะไรบ้างครับ ตอบ : แบงก์จะใช้หลักการวิเคราะห์ 6C’s ซึ่งประกอบด้วยรายละเอียดอย่างย่อดังนี้ 1) Character หมายถึง ลักษณะของผู้ขอกู้ หรือกรณีท่านคือ บริษัท ว่ามีความตั้งใจในการชำระหนี้หรือไม่ ซึ่งพิจารณาได้จาก ประวัติการชำระหนี้ที่ผ่านมาของบริษัท ประวัติการถูกฟ้องร้องจากเจ้าหนี้ของบริษัท ความซื่อสัตย์และความมีธรรมภิบาลในการดำเนินธุรกิจของบริษัท เป็นต้น 2) Capacity หมายถึง ความสามารถในการชำระหนี้ของผู้ขอกู้ / บริษัท  ซึ่งพิจารณาได้จาก ความสามารถในการหารายได้ และความสามารถในการทำกำไรของบริษัท โดยดูได้จากงบการเงินที่ผ่านการตรวจสอบแล้วจากผู้สอบบัญชีรับอนุญาต 3) Capital หมายถึง ส่วนทุนของบริษัท โดยปกติแบงก์จะปล่อยกู้ไม่เกินส่วนทุนของบริษัท เหตุผลก็คือ แบงก์ต้องการให้ผู้ถือหุ้นซึ่งโดยมากก็จะเป็นเจ้าของกิจการ ไม่ทิ้งกิจการเวลาที่ธุรกิจประสบปัญหา ตัวอย่างเช่น ผู้ถือหุ้น/เจ้าของกิจการ ลงทุนเงิน 10 ล้านบาท แต่หากแบงก์ปล่อยกู้ให้แก่กิจการ 50 ล้านบาท จึงมีความเป็นไปได้ว่าเมื่อใดที่กิจการป

ควรมีทุนจดทะเบียนและชำระแล้วเท่าไหร่ดี

ถาม : ดิฉันกำลังคิดจะทำธุรกิจ อยากทราบว่าควรมีทุนจดทะเบียนและชำระแล้วเท่าไหร่ดีค่ะ ตอบ : คุณต้องประมาณเงินลงทุนทั้งหมด โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้ (1) ประมาณการเงินลงทุนสินทรัพย์ถาวร (2) ประมาณการเงินหมุนเวียนสุทธิ (Net Working Capital)  หลังจากนั้นคุณก็นำรายการที่ (1) บวกกับรายการที่ (2) แล้ว ผลรวมที่ได้คือ เงินลงทุนทั้งหมด ในกรณีที่คุณไม่ต้องการกู้เงิน เงินลงทุนทั้งหมดจะเป็นทุนที่ชำระแล้ว ตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์กำหนดไว้ว่า ผู้ถือหุ้นต้องชำระค่าหุ้นขั้นต่ำ 25% ของทุนจดทะเบียน ยกตัวอย่างเช่น หากคุณจดทะเบียน 1.0 ล้านบาท คุณต้องชำระค่าหุ้นขั้นต่ำ 250,000 บาท ส่วนที่เหลืออีก 75% ถือว่าเป็นภาระผูกพันของผู้ถือหุ้นที่มีต่อบริษัท ดังนั้นในกรณีที่บริษัทดำเนินธุรกิจจนเจ๊ง เจ้าหนี้สามารถใช้สิทธิบังคับให้ผู้ถือหุ้นชำระค่าหุ้นคงเหลืออีก 75% ซึ่งหมายความว่า หุ้นที่ชำระไม่ครบ 75% มีสถานะเป็นหนี้ของผู้ถือหุ้นนั่นเอง ตัวอย่าง การประมาณงินลงทุน เช่น บริษัท ABCD จำกัด มีสมมติฐานว่าปีหน้าจะมียอดขายประมาณ 10 ล้านบาท ต้นทุนขายประมาณ 7.5 ล้านบาท และงบประมาณการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรดังนี้ ค่าตก