การวัดว่าหุ้นถูกหรือแพง สามารถวัดได้จากมูลค่าที่แท้จริงของหุ้น (Intrinsic Value : IV) นั้นเทียบกับราคาตลาด (Market Price : MP) ในขณะนั้น หาก IV มากกว่า MP แสดงว่าราคาหุ้นถูก ในทางกลับกันหาก IV ต่ำกว่า MP แสดงว่าราคาหุ้นแพง เขียนเป็นสมการได้ดังนี้
X = IV – MP
หาก X เป็นบวก แสดงว่าหุ้นถูก หรือ หุ้นต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง (Undervalued) ควร “ซื้อ”
หาก X เป็นลบ แสดงว่าหุ้นราคาแพง หรือ หุ้นสูงกว่ามูลค่าที่แท้จริง (Overvalued) ควร “ขาย”
ตัวอย่างเช่น หุ้น ABC มี IV เท่ากับ 10 บาท และ MP เท่ากับ 5 บาท ดังนั้น กรณีนี้หุ้น ABC เป็นหุ้นราคาถูก เพราะ IV มากกว่า MP เท่ากับ 5 บาท (10 – 5) ดังนั้นสรุปได้ว่าหุ้น ABC ควรซื้อ
แต่สมมติว่าต่อมาหุ้น ABC ราคาเพิ่มขึ้นเป็น 15 บาท ดังนั้นกรณีหุ้น ABC เป็นหุ้นราคาแพง เพราะ IV ต่ำกว่า MP เท่ากับ 5 บาท (5-10) สรุปได้ว่าหุ้น ABC หากมีควรขาย แต่หากเป็นนักเก็งกำไรก็ยืมหุ้นมาขาย (Short) และรอให้หุ้นตกลงมาแล้วซื้อหุ้นคืน
การคำนวณหา IV สามารถทำได้โดยการคำนวณโดยใช้แบบจำลองกระแสเงินสดส่วนลด (Discounted Cash Flow : DCF) โดยรายละเอียดท่านสามารถอ่านได้ในหนังสือ "เลือกหุ้น เล่นหุ้น ประเมินราคาหุ้น ด้วยตนเอง" ส่วนแบบตัวคูณ (Multiple Approach) สามารถคำนวณได้ดังนี้
1. เลือกค่า P/E ของอุตสาหกรรมที่เราจะประเมินราคาหุ้น เช่น หุ้น A อยู่ในอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ สมมติว่าเราตรวจสอบแล้วพบว่าอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์มีค่า P/E เท่ากับ 10 เท่า
2. คำนวณกำไรสุทธิต่อหุ้น (EPS) ของหุ้น A โดยใช้ กำไรสุทธิ / จำนวนหุ้นที่ออกและชำระแล้ว สมมติว่าคำนวณ EPS ได้เท่ากับ 5 บาท
3. นำค่า P/E ของอุตสาหกรรม x EPS ค่าที่ได้คือ IV = P/E x EPS = 10 x 5 = 50 บาท
ข้อควรระวัง : การประเมินโดยใช้ P/E มีข้อด้อยที่ว่าการประเมินมูลค่าที่แท้จริงของหุ้นอ้างอิงจากกำไรสุทธิต่อหุ้นเพียงปีเดียว ดังนั้นโอกาสที่จะเกิดความผิดพลาดในการประเมินมูลค่าหุ้นจึงมีสูงมาก แตกต่างจาก DCF การประเมินมูลค่าหุ้นจะประเมินจากกำไรหลายปีข้างหน้า ซึ่งช่วยลดความผิดพลาดที่เกิดขึ้นได้
หากท่านสนใจหนังสือ เลือกหุ้น เล่นหุ้น สามารถเข้าไปดูได้ที่ www.mebmarket.com
X = IV – MP
หาก X เป็นบวก แสดงว่าหุ้นถูก หรือ หุ้นต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง (Undervalued) ควร “ซื้อ”
หาก X เป็นลบ แสดงว่าหุ้นราคาแพง หรือ หุ้นสูงกว่ามูลค่าที่แท้จริง (Overvalued) ควร “ขาย”
ตัวอย่างเช่น หุ้น ABC มี IV เท่ากับ 10 บาท และ MP เท่ากับ 5 บาท ดังนั้น กรณีนี้หุ้น ABC เป็นหุ้นราคาถูก เพราะ IV มากกว่า MP เท่ากับ 5 บาท (10 – 5) ดังนั้นสรุปได้ว่าหุ้น ABC ควรซื้อ
แต่สมมติว่าต่อมาหุ้น ABC ราคาเพิ่มขึ้นเป็น 15 บาท ดังนั้นกรณีหุ้น ABC เป็นหุ้นราคาแพง เพราะ IV ต่ำกว่า MP เท่ากับ 5 บาท (5-10) สรุปได้ว่าหุ้น ABC หากมีควรขาย แต่หากเป็นนักเก็งกำไรก็ยืมหุ้นมาขาย (Short) และรอให้หุ้นตกลงมาแล้วซื้อหุ้นคืน
การคำนวณหา IV สามารถทำได้โดยการคำนวณโดยใช้แบบจำลองกระแสเงินสดส่วนลด (Discounted Cash Flow : DCF) โดยรายละเอียดท่านสามารถอ่านได้ในหนังสือ "เลือกหุ้น เล่นหุ้น ประเมินราคาหุ้น ด้วยตนเอง" ส่วนแบบตัวคูณ (Multiple Approach) สามารถคำนวณได้ดังนี้
1. เลือกค่า P/E ของอุตสาหกรรมที่เราจะประเมินราคาหุ้น เช่น หุ้น A อยู่ในอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ สมมติว่าเราตรวจสอบแล้วพบว่าอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์มีค่า P/E เท่ากับ 10 เท่า
2. คำนวณกำไรสุทธิต่อหุ้น (EPS) ของหุ้น A โดยใช้ กำไรสุทธิ / จำนวนหุ้นที่ออกและชำระแล้ว สมมติว่าคำนวณ EPS ได้เท่ากับ 5 บาท
3. นำค่า P/E ของอุตสาหกรรม x EPS ค่าที่ได้คือ IV = P/E x EPS = 10 x 5 = 50 บาท
ข้อควรระวัง : การประเมินโดยใช้ P/E มีข้อด้อยที่ว่าการประเมินมูลค่าที่แท้จริงของหุ้นอ้างอิงจากกำไรสุทธิต่อหุ้นเพียงปีเดียว ดังนั้นโอกาสที่จะเกิดความผิดพลาดในการประเมินมูลค่าหุ้นจึงมีสูงมาก แตกต่างจาก DCF การประเมินมูลค่าหุ้นจะประเมินจากกำไรหลายปีข้างหน้า ซึ่งช่วยลดความผิดพลาดที่เกิดขึ้นได้
หากท่านสนใจหนังสือ เลือกหุ้น เล่นหุ้น สามารถเข้าไปดูได้ที่ www.mebmarket.com
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น