ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เขียนแผนธุรกิจ

หากท่านสนใจจะทำธุรกิจส่วนตัวด้วยตนเอง หรือ ต้องการเขียนแผนธุรกิจเพื่อใช้ในงานของตนเอง โดยยังคงต้องการรู้การจัดทำประมาณการงบการเงิน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญมากที่ทำให้แผนธุรกิจนั้นสมบูรณ์ครบถ้วน ท่านสามารถอ่านหนังสือ “เขียนแผนธุรกิจ  สร้างงบการเงิน ด้วยตนเอง”
 
หนังสือเล่มนี้ผู้เขียนเรียบเรียงจากประสบการณ์ในการทำงานร่วมกับความคิดความเข้าใจเรื่องการวิเคราะห์งบการเงิน การบริหารงบการเงิน และการจัดทำแผนธุรกิจ (Business Plan) ในช่วงระยะเวลาหลายปี ดังนั้นเทคนิคที่ใช้ในการสร้างแบบจำลองทางการเงิน (Financial Model) จึงเป็นรูปแบบเฉพาะตัว ซึ่งนำมาพัฒนาและดัดแปลงให้ง่ายในการเรียนรู้ โดยใช้เพียงฟังก์ชันพื้นฐานของโปรแกรม EXCEL และการสร้างแผนธุรกิจนี้ได้มีการอ้างถึงหลักการบัญชีและการเงินพื้นฐาน ซึ่งสรุปเนื้อหาเป็นหมวดหมู่เพื่อให้ง่ายในการจดจำและทำความเข้าใจ ตลอดระยะเวลาการเขียนหนังสือเล่มนี้ผู้เขียนมีความตั้งใจอย่างแน่วแน่ที่จะถ่ายทอดความรู้เชิงปฏิบัติให้แก่ผู้อ่านมากที่สุดเสมือนเป็นการสนทนาร่วมกันระหว่างผู้อ่านกับผู้เขียน โดยที่ผู้อ่านควรทดลองปฏิบัติการสร้างแบบจำลองในระหว่างการอ่านด้วย เพื่อให้เกิดความเข้าใจร่วมกัน ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าผู้อ่านสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในงานและเผยแพร่ต่อไป
 
วัตถุประสงค์ที่จัดทำหนังสือเล่มนี้ คือเพื่อต้องการเผยแพร่ความรู้เชิงปฏิบัติ ตั้งแต่การสร้างงบการเงินล่วงหน้า (Pro Forma Financial Statements) การวิเคราะห์งบการเงิน การบริหารงบการเงิน ตลอดจนการตัดสินใจในการลงทุนทำธุรกิจ  เพื่อเป็นแนวทางให้กับบุคคลที่สนใจประกอบธุรกิจได้มองเห็นแต่ละขั้นตอน อันจะนำไปสู่การตัดสินใจอย่างสมเหตุสมผล โดยตั้งอยู่บนสมมติฐานทางการตลาดและการเงิน ซึ่งได้แก่ การประมาณการยอดขาย ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร ระยะเวลาการเก็บหนี้ และเงินที่ต้องกู้ยืมเพื่อใช้ในการดำเนินงาน เป็นต้น จากความรู้ดังกล่าวยังสามารถเป็นแนวทางในการจัดทำแผนธุรกิจได้ด้วยตนเอง เพื่อตอบคำถามของการตัดสินใจลงทุนว่า “ธุรกิจนี้ควรลงทุนหรือไม่ ?”  , “ผลตอบแทนที่แท้จริงของโครงการมีค่าเท่าใด ?” รวมทั้ง “ระยะเวลาในการคืนทุนกี่ปี ?” หากคำตอบดังกล่าวเห็นเหมาะสมว่าควรตัดสินใจลงทุน เรายังสามารถนำแผนธุรกิจดังกล่าวไปเจรจาขอสินเชื่อจากทางธนาคารและหาผู้ร่วมลงทุนได้ อีกทั้งยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานในการจัดทำงบการเงินล่วงหน้าเพื่อขอปรับโครงสร้างหนี้กับทางธนาคารและสถาบันการเงินได้อีกด้วย
 
เนื้อหาแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 กล่าวถึงพื้นฐานทางด้านบัญชีและการเงิน เพื่อสร้างความรู้พื้นฐานที่ใช้ในการจัดทำงบการเงิน ส่วนที่ 2 กล่าวถึงวิธีการสร้างแบบจำลองทางการเงิน เพื่อจัดทำงบการเงินล่วงหน้าได้แก่ งบกำไรขาดทุน งบดุล และงบกระแสเงินสด อันจะนำไปใช้ในการวิเคราะห์ธุรกิจที่สนใจจะลงทุน ส่วนที่ 3 กล่าวถึงการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการลงทุนโดยใช้เครื่องมือทางการเงิน อันได้แก่ อัตราส่วนทางการเงิน มูลค่าสุทธิของโครงการ อัตราผลตอบแทนที่แท้จริงของโครงการ ระยะเวลาคืนทุนปัจจุบัน รวมทั้งคำนวณหาจุดคุ้มทุนขาย เพื่อช่วยในการประเมินโครงการว่าคุ้มค่ากับการลงทุนหรือไม่



หากท่านสนใจสามารถเข้าไปดูได้ที่ www.mebmarket.com

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

กระบวนการลงทุนแนว VI

ควรมีทุนจดทะเบียนและชำระแล้วเท่าไหร่ดี

ถาม : ดิฉันกำลังคิดจะทำธุรกิจ อยากทราบว่าควรมีทุนจดทะเบียนและชำระแล้วเท่าไหร่ดีค่ะ ตอบ : คุณต้องประมาณเงินลงทุนทั้งหมด โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้ (1) ประมาณการเงินลงทุนสินทรัพย์ถาวร (2) ประมาณการเงินหมุนเวียนสุทธิ (Net Working Capital)  หลังจากนั้นคุณก็นำรายการที่ (1) บวกกับรายการที่ (2) แล้ว ผลรวมที่ได้คือ เงินลงทุนทั้งหมด ในกรณีที่คุณไม่ต้องการกู้เงิน เงินลงทุนทั้งหมดจะเป็นทุนที่ชำระแล้ว ตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์กำหนดไว้ว่า ผู้ถือหุ้นต้องชำระค่าหุ้นขั้นต่ำ 25% ของทุนจดทะเบียน ยกตัวอย่างเช่น หากคุณจดทะเบียน 1.0 ล้านบาท คุณต้องชำระค่าหุ้นขั้นต่ำ 250,000 บาท ส่วนที่เหลืออีก 75% ถือว่าเป็นภาระผูกพันของผู้ถือหุ้นที่มีต่อบริษัท ดังนั้นในกรณีที่บริษัทดำเนินธุรกิจจนเจ๊ง เจ้าหนี้สามารถใช้สิทธิบังคับให้ผู้ถือหุ้นชำระค่าหุ้นคงเหลืออีก 75% ซึ่งหมายความว่า หุ้นที่ชำระไม่ครบ 75% มีสถานะเป็นหนี้ของผู้ถือหุ้นนั่นเอง ตัวอย่าง การประมาณงินลงทุน เช่น บริษัท ABCD จำกัด มีสมมติฐานว่าปีหน้าจะมียอดขายประมาณ 10 ล้านบาท ต้นทุนขายประมาณ 7.5 ล้านบาท และงบประมาณการลงทุนในสินทรัพย์ถาวร...

ช่วงเวลาในการซื้อขายหุ้น (Investment Timing)

ราคาหุ้นในตลาดหุ้น (Market Price) ถูกกำหนดมาจากปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก โดยมีรายละเอียดดังนี้ ปัจจัยภายนอก (External Factor) คือ ปัจจัยที่ไม่ได้มาจากกิจการโดยตรงซึ่งเป็นปัจจัยที่กิจการไม่สามารถควบคุมได้ เช่น กระแสเงินเงินทุนไหลออกและไหลเข้า (Fund Flow) วิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ การอัดฉีดเงินของธนาคารกลางของสหรัฐฯและยุโรป การลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ การปรับลดค่าเงินหยวน สงครามระหว่างประเทศและการก่อการร้ายในกลุ่มประเทศยุโรป จนถึง ตลาดหุ้นในสหรัฐอเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น และจีน ปรับตัวเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างรุนแรง การปรับลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล การปรับเพิ่มขึ้นหรือลดลงของราคาน้ำมัน การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ การเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมของธนาคาร การกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล การเปิดเสรีการค้าระหว่างประเทศ เป็นต้น ปัจจัยภายใน (Internal Factor) คือ ปัจจัยที่มาจากกิจการโดยตรง เช่น การขยายตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ การขยายไปสู่ธุรกิจใหม่ การขายหุ้นเพิ่มทุน การควบรวมกิจการ การซื้อและขายกิจการ การเพิ่มอัตราการก่อหนี้ในกิจการ การปิดบริษัทย่อย...

ต้นทุนเงินทุน (WACC)

ต้นทุนเงินทุน (Cost of Capital) หรือ ที่นิยมเรียกกันโดยทั่วไป คือ WACC (Weighted Average Cost of Capital) หมายถึง ต้นทุนทางการเงินเฉลี่ยของเงินทุน  มีประโยชน์เพื่อใช้ในการตัดสินใจว่าควรลงทุนหรือไม่ควรลงทุนในโครงการใดบ้างของบริษัท เช่น คุ้มค่าหรือไม่ที่จะลงทุนในโครงการใหม่ของบริษัท เป็นต้น อีกทั้ง WACC นี้ยังสามารถใช้ในการคำนวณหามูลค่าของกิจการ (Enterprise Value) และมูลค่าที่แท้จริงของหุ้น (Intrinsic Value of Stock) ได้อีกด้วย WACC ประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก 2 ประเภท คือ :- ประเภทที่ 1 ต้นทุนจากการเงินกู้ยืม หรือ ที่เข้าใจโดยทั่วไป คือ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืม (kd)   ประเภทที่ 2 ต้นทุนจากเงินทุนของผู้ถือหุ้น  หรือ ที่เข้าใจโดยทั่วไป คือ อัตราผลตอบแทนจากเงินปันผล (ke) เพื่อความง่ายในการทำความเข้าใจ WACC ขอยกตัวอย่างประกอบดังนี้ บริษัท A มีเงินทุนประกอบด้วย เงินกู้จากเจ้าหนี้ที่มีดอกเบี้ย 100 ล้านบาท และเงินทุนจากผู้ถือหุ้น 100 ล้านบาท ดังนั้นเงินทุนทั้งหมดของกิจการ A คือ เงินกู้จากเจ้าหนี้ฯ + เงินทุนจากผู้ถือหุ้น = 100 + 100 ล้านบาท เท่ากับ 200 ล...

ควรตั้งเป้ายอดขายขั้นต่ำเท่าไหร่

ถาม : ตอนนี้ผมทำธุรกิจส่วนตัว และต้องการตั้งเป้าหมายการขายให้กับฝ่ายขาย อาจารย์พอจะมีวิธีที่ใช้ประมาณการขายหรือเปล่าครับ ตอบ : การตั้งเป้าหมายในการขายให้กับฝ่ายขาย เราสามารถคำนวณหาได้จากจุดคุ้มทุนขาย (Break-Even point of Sales) คือ ยอดขายที่ทำไม่มีผลกำไรสุทธิและขาดทุนสุทธิ หรือ ยอดขายที่พอดีกับค่าใช้จ่ายของกิจการ หรืออีกนัยหนึ่ง คือยอดขายขั้นต่ำที่ต้องให้กับฝ่ายขาย โดยมีสูตรดังนี้                                              จุดคุ้มทุนขาย  =   ค่าใช้จ่ายคงที่                                                  ...