ค่า Beta หุ้น เป็นการวัดความเสี่ยงของหุ้นเทียบกับตลาดหลักทรัพย์ ขอขยายความดังนี้
หุ้น A ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ประเทศไทยมีค่า Beta เท่ากับ 1.0 หมายถึง ราคาหุ้น A จะเคลื่อนไหวเท่ากับการเคลื่อนไหวของตลาดหลักทรัพย์ประเทศไทย หรือ เท่ากับ SET INDEX
ตัวอย่างเช่น หุ้น A มี Beta เท่ากับ 1.0 ดังนั้นหาก SET INDEX เพิ่มขึ้น 10% ราคาหุ้นต้องเพิ่มขึ้น 10% เท่ากัน เป็นต้น ในทำนองเดียวกัน หาก SET INDEX ลดลง 10% ราคาหุ้นต้องลดลง 10% เท่ากัน
หุ้น B ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ประเทศไทยมีค่า Beta เท่ากับ 2.0 หมายถึง ราคาหุ้น B จะเคลื่อนไหวเป็น 2 เท่าของการเคลื่อนไหว SET INDEX
ตัวอย่างเช่น หุ้น B มี Beta เท่ากับ 2.0 ดังนั้นหาก SET INDEX เพิ่มขึ้น 10% ราคาหุ้นต้องเพิ่มขึ้น 20% เป็นต้น ในทำนองเดียวกัน หาก SET INDEX ลดลง 10% ราคาหุ้นต้องลดลง 20%
หุ้น C ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ประเทศไทยมีค่า Beta เท่ากับ 0.5 หมายถึง ราคาหุ้น B จะเคลื่อนไหวเป็นครึ่งหนึ่งของการเคลื่อนไหว SET INDEX
ตัวอย่างเช่น หุ้น C มี Beta เท่ากับ 0.5 ดังนั้นหาก SET INDEX เพิ่มขึ้น 10% ราคาหุ้นต้องเพิ่มขึ้น 5% เป็นต้น ในทำนองเดียวกัน หาก SET INDEX ลดลง 10% ราคาหุ้นต้องลดลง 5%
จากตัวอย่างข้างต้นทำให้สามารถกำหนดกลยุทธ์ในการลงทุนในหุ้นได้ คือ หากสภาวะเศรษฐกิจโดยรวมและภาวะตลาดเป็นบวก เราต้องเลือกหุ้นที่มี Beta สูง เพราะตลาดมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น ในขณะที่หุ้นจะปรับตัวขึ้นสูงกว่า ในทำนองเดียวกัน หากสภาวะเศรษฐกิจและภาวะตลาดเป็นลบ เราต้องต้องเลือกหุ้นที่มี Beta ต่ำ เพราะตลาดมีแนวโน้มปรับตัวลดลง ในขณะที่หุ้นจะปรับตัวลงต่ำกว่า
เหตุผลที่ยังคงแนะนำให้ลงทุนในหุ้นแม้ในภาวะที่ตลาดเป็นลบเนื่องจากการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ให้อัตราผลตอบแทนสูงสุดเมื่อเทียบกับการลงทุนในสินทรัพย์ประเภทอื่น ซึ่งท่านสามารถหาข้อมูลอ้างอิงได้จากผลงานวิจัยที่เผยแพร่ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
อีกนัยหนึ่งการทึ่ตลาดเป็นลบสิ่งที่จะได้จากหุ้นก็คืออัตราผลตอบแทนจากเงินปันผล (Dividend Yield) ที่เพิ่มสูงขึ้น และกำไรจากราคาหุ้น (Capital Gain) จากการฟิ้นตัวของตลาดในเวลาต่อมา หลังจากฝนตกหนักฟ้าจะกลับสดใสอีกครั้ง และคงเป็นเช่นนี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่าไปตลอดกาล
หุ้น A ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ประเทศไทยมีค่า Beta เท่ากับ 1.0 หมายถึง ราคาหุ้น A จะเคลื่อนไหวเท่ากับการเคลื่อนไหวของตลาดหลักทรัพย์ประเทศไทย หรือ เท่ากับ SET INDEX
ตัวอย่างเช่น หุ้น A มี Beta เท่ากับ 1.0 ดังนั้นหาก SET INDEX เพิ่มขึ้น 10% ราคาหุ้นต้องเพิ่มขึ้น 10% เท่ากัน เป็นต้น ในทำนองเดียวกัน หาก SET INDEX ลดลง 10% ราคาหุ้นต้องลดลง 10% เท่ากัน
หุ้น B ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ประเทศไทยมีค่า Beta เท่ากับ 2.0 หมายถึง ราคาหุ้น B จะเคลื่อนไหวเป็น 2 เท่าของการเคลื่อนไหว SET INDEX
ตัวอย่างเช่น หุ้น B มี Beta เท่ากับ 2.0 ดังนั้นหาก SET INDEX เพิ่มขึ้น 10% ราคาหุ้นต้องเพิ่มขึ้น 20% เป็นต้น ในทำนองเดียวกัน หาก SET INDEX ลดลง 10% ราคาหุ้นต้องลดลง 20%
หุ้น C ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ประเทศไทยมีค่า Beta เท่ากับ 0.5 หมายถึง ราคาหุ้น B จะเคลื่อนไหวเป็นครึ่งหนึ่งของการเคลื่อนไหว SET INDEX
ตัวอย่างเช่น หุ้น C มี Beta เท่ากับ 0.5 ดังนั้นหาก SET INDEX เพิ่มขึ้น 10% ราคาหุ้นต้องเพิ่มขึ้น 5% เป็นต้น ในทำนองเดียวกัน หาก SET INDEX ลดลง 10% ราคาหุ้นต้องลดลง 5%
จากตัวอย่างข้างต้นทำให้สามารถกำหนดกลยุทธ์ในการลงทุนในหุ้นได้ คือ หากสภาวะเศรษฐกิจโดยรวมและภาวะตลาดเป็นบวก เราต้องเลือกหุ้นที่มี Beta สูง เพราะตลาดมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น ในขณะที่หุ้นจะปรับตัวขึ้นสูงกว่า ในทำนองเดียวกัน หากสภาวะเศรษฐกิจและภาวะตลาดเป็นลบ เราต้องต้องเลือกหุ้นที่มี Beta ต่ำ เพราะตลาดมีแนวโน้มปรับตัวลดลง ในขณะที่หุ้นจะปรับตัวลงต่ำกว่า
เหตุผลที่ยังคงแนะนำให้ลงทุนในหุ้นแม้ในภาวะที่ตลาดเป็นลบเนื่องจากการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ให้อัตราผลตอบแทนสูงสุดเมื่อเทียบกับการลงทุนในสินทรัพย์ประเภทอื่น ซึ่งท่านสามารถหาข้อมูลอ้างอิงได้จากผลงานวิจัยที่เผยแพร่ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
อีกนัยหนึ่งการทึ่ตลาดเป็นลบสิ่งที่จะได้จากหุ้นก็คืออัตราผลตอบแทนจากเงินปันผล (Dividend Yield) ที่เพิ่มสูงขึ้น และกำไรจากราคาหุ้น (Capital Gain) จากการฟิ้นตัวของตลาดในเวลาต่อมา หลังจากฝนตกหนักฟ้าจะกลับสดใสอีกครั้ง และคงเป็นเช่นนี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่าไปตลอดกาล
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น