ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ช่วงเวลาในการซื้อขายหุ้น (Investment Timing)

ราคาหุ้นในตลาดหุ้น (Market Price) ถูกกำหนดมาจากปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก โดยมีรายละเอียดดังนี้


ปัจจัยภายนอก (External Factor) คือ ปัจจัยที่ไม่ได้มาจากกิจการโดยตรงซึ่งเป็นปัจจัยที่กิจการไม่สามารถควบคุมได้ เช่น กระแสเงินเงินทุนไหลออกและไหลเข้า (Fund Flow) วิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ การอัดฉีดเงินของธนาคารกลางของสหรัฐฯและยุโรป การลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ การปรับลดค่าเงินหยวน สงครามระหว่างประเทศและการก่อการร้ายในกลุ่มประเทศยุโรป จนถึง ตลาดหุ้นในสหรัฐอเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น และจีน ปรับตัวเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างรุนแรง การปรับลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล การปรับเพิ่มขึ้นหรือลดลงของราคาน้ำมัน การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ การเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมของธนาคาร การกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล การเปิดเสรีการค้าระหว่างประเทศ เป็นต้น

ปัจจัยภายใน (Internal Factor) คือ ปัจจัยที่มาจากกิจการโดยตรง เช่น การขยายตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ การขยายไปสู่ธุรกิจใหม่ การขายหุ้นเพิ่มทุน การควบรวมกิจการ การซื้อและขายกิจการ การเพิ่มอัตราการก่อหนี้ในกิจการ การปิดบริษัทย่อยที่สร้างผลขาดทุนอย่างต่อเนื่อง การเปลี่ยนแปลงผู้บริหารระดับสูง การเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นรายใหญ่ การได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีเพราะขยายงานไปในนิคมอุตสาหกรรม เป็นต้น


ปัจจัยภายนอก + ปัจจัยภายใน  นำไปสู่ผลประกอบการของกิจการในอนาคต นำไปสู่ ราคาหุ้น


กรณีที่ 1 : ปัจจัยภายนอกมีแนวโน้มเป็น +  และ ปัจจัยภายในเป็น +  มีแนวโน้มจะนำไปสู่ผลประกอบการในอนาคตออกมาดีมาก ทำให้ราคาหุ้นปรับตัวสูงขึ้นได้อย่างรวดเร็ว


กรณีที่ 2 : ปัจจัยภายนอกมีแนวโน้มเป็น +  และ ปัจจัยภายในเป็น -  มีแนวโน้มจะนำไปสู่ผลประกอบการในอนาคตออกมาแย่มาก ทำให้ราคาหุ้นปรับตัวลดลงอย่างช้าๆ


กรณีที่ 3 : ปัจจัยภายนอกมีแนวโน้มเป็น -  และ ปัจจัยภายในเป็น +  มีแนวโน้มจะนำไปสู่ผลประกอบการในอนาคตออกมาดีมาก ทำให้ราคาหุ้นปรับตัวสูงขึ้นอย่างช้าๆ


กรณีที่ 4 : ปัจจัยภายนอกมีแนวโน้มเป็น -  และ ปัจจัยภายในเป็น -  มีแนวโน้มจะนำไปสู่ผลประกอบการในอนาคตออกมาแย่มาก ทำให้ราคาหุ้นปรับตัวลดลงอย่างรวดเร็ว


สำหรับสองสามปีที่ผ่านมาตลาดหุ้นไทยเข้าสู่กรณีที่ 4 จึงส่งผลให้ตลาดหุ้นผันผวนและปรับตัวลดลงอย่างรุนแรง แต่อย่าลืมว่าในภาวะการณ์แบบนี้กลับเป็นโอกาสในการซื้อหุ้นสำหรับนักลงทุนที่ต้องการลงทุนระยะยาวเพราะมันจะให้อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI) ในระดับที่ยอดเยี่ยมเทียบกับกรณีที่ 1 – 3


เมื่อซื้อหุ้นแล้วในกรณีที่ 4 ก็เฝ้ารอคอยให้กรณีที่ 1 มาถึง เมื่อมันมาถึงแล้วก็ขายหุ้นออกมาทำกำไร เพราะตอนที่ซื้อหุ้นกรณีที่ 4 เราจะซื้อหุ้นได้ราคาต่ำกว่ามูลค่ายุติธรรม หรือที่เรียกว่า Undervalue แต่ตอนกรณีที่ 1 เราจะขายหุ้นได้ราคาสูงกว่ามูลค่ายุติธรรม หรือที่เรียกว่า Overvalue
 

ตลาดหุ้นจะกำหนดราคาหุ้นโดยอาศัยปัจจัยภายในและภายนอกที่เป็นระยะสั้นเท่านั้นคือไม่เกิน 1 ปี จึงเป็นผลให้มองผลประกอบการไม่เกิน 1 ปี ด้วยเช่นกัน ดังนั้นหากท่านจินตนาการไปเกินกว่า 1 ปี อาจเป็น 5 ปีข้างหน้าท่านจะเห็นว่าภาพที่แตกต่างจากปัจจุบันเป็นอย่างมาก ท่านจะเห็นเส้นทางสู่การเป็นคนรวยไม่อยากอย่างที่คิด…

ลองนึกย้อนกลับดูนะครับ ว่า 20 ปีที่แล้ว เคยเห็นรถไฟฟ้าหรือไม่ เคยเห็นคอนโดมิเนียมผุดขึ้นเป็นดอกเห็ดหรือไม่ เคยเห็นห้างสรรพสินค้าที่มีทุกถนนในกรุงเทพหรือไม่ เคยเห็นคนไทยมีรถยนต์ของตนเองมากขนาดนี้หรือไม่ เคยเห็นปั๊มน้ำมันที่มีทำอสังหาริมทรัพย์ให้เช่าหรือไม่ เคยเห็นที่ไหนๆก็มีโรงแรมและรีสอร์ทให้พักหรือไม่

ลองจินตนาการดูครับว่า 20 ปีข้างหน้า ท่านจะเห็นอะไร….

การจะเป็นนักลงทุนที่ประสบความสำเร็จได้นั้น ต้องใช้สมองทั้งสองด้าน ทั้งด้านเหตุและผล คือ สมองด้านซ้าย และด้านจินตนาการ คือ สมองด้านขวา ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

“อย่าเชื่อสิ่งที่ตาเห็น แต่ให้เชื่อสิ่งที่นึกคิดในอนาคตภายใต้สิ่งที่เป็นไปได้ในปัจจุบัน”
 
 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

กระบวนการลงทุนแนว VI

ต้นทุนเงินทุน (WACC)

ต้นทุนเงินทุน (Cost of Capital) หรือ ที่นิยมเรียกกันโดยทั่วไป คือ WACC (Weighted Average Cost of Capital) หมายถึง ต้นทุนทางการเงินเฉลี่ยของเงินทุน  มีประโยชน์เพื่อใช้ในการตัดสินใจว่าควรลงทุนหรือไม่ควรลงทุนในโครงการใดบ้างของบริษัท เช่น คุ้มค่าหรือไม่ที่จะลงทุนในโครงการใหม่ของบริษัท เป็นต้น อีกทั้ง WACC นี้ยังสามารถใช้ในการคำนวณหามูลค่าของกิจการ (Enterprise Value) และมูลค่าที่แท้จริงของหุ้น (Intrinsic Value of Stock) ได้อีกด้วย WACC ประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก 2 ประเภท คือ :- ประเภทที่ 1 ต้นทุนจากการเงินกู้ยืม หรือ ที่เข้าใจโดยทั่วไป คือ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืม (kd)   ประเภทที่ 2 ต้นทุนจากเงินทุนของผู้ถือหุ้น  หรือ ที่เข้าใจโดยทั่วไป คือ อัตราผลตอบแทนจากเงินปันผล (ke) เพื่อความง่ายในการทำความเข้าใจ WACC ขอยกตัวอย่างประกอบดังนี้ บริษัท A มีเงินทุนประกอบด้วย เงินกู้จากเจ้าหนี้ที่มีดอกเบี้ย 100 ล้านบาท และเงินทุนจากผู้ถือหุ้น 100 ล้านบาท ดังนั้นเงินทุนทั้งหมดของกิจการ A คือ เงินกู้จากเจ้าหนี้ฯ + เงินทุนจากผู้ถือหุ้น = 100 + 100 ล้านบาท เท่ากับ 200 ล้านบาท 1) เจ้าหนี้ธนาคารคิดอัตรา

Trade Size

 ขนาดการเทรด (trade size) มีเพื่อบริหารความเสี่ยง  - Limit Loss , Unlimit Profit  - ขาดทุนมากที่สุด เท่ากับเงินลงทุน แต่กำไรได้แบบไม่มีเพดาน - แต่ดีกว่านั้น คือ ขาดทุนมากที่สุดเท่ากับ จุด cut loss แต่ยังคงมีกำไรแบบไม่มีเพดาน

หลักการลงทุนหุ้นแบบนักธุรกิจ

หุ้นเป็นทรัพย์สินที่มีมูลค่าในตัวมันเอง เหมือนกับสินทรัพย์ประเภทอื่นในโลกที่มีมูลค่าในตัวมันเอง ดังท่านจะเห็นได้จาก ที่ดิน พันธบัตร ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ต่าง อาทิ ทองคำ เงิน และโลหะมีค่าอื่นๆ แต่หุ้นอาจมีความแตกต่างจากทรัพย์สินประเภทอื่นตรงที่มูลค่าหุ้น หรือ มูลค่าที่แท้จริง (Intrinsic Value : V) ถูกกำหนดโดยกำไรในอนาคต หรือ เรียกว่าให้ชัดเจนไปเลยก็คือ กำไรสุทธิต่อหุ้นในอนาคต (EPS1) เมื่อมูลค่าหุ้น (V) มีความเกียวข้องโดยตรงกับกำไรสุทธิต่อหุ้นในอนาคต (EPS1) ดังนั้นเมื่อเราคาดการณ์กำไรสุทธิในอนาคต (EPS1) ได้ เราก็ทราบมูลค่าหุ้น (V) ได้ทันที ซึ่งการคาดการณ์ EPS1 ได้อย่างแม่นยำนั้น ต้องมีความรู้ความเข้าใจธุรกิจเป็นอย่างดี การจะเข้าใจธุรกิจได้เป็นอย่างดีนั้น ต้องอาศัยการศึกษาลงไปในตัวธุรกิจซึ่งสามารถทำได้อย่างง่ายดายในปัจจุบัน เพราะบริษัทจดทะเบียนทั้งหมดในประเทศไทยต้องเผยแพร่ข้อมูลการประกอบธุรกิจกับตลาดหลักทรัพย์ ที่ www.set.or.th มีรายละเอียดประกอบด้วย รายงานประจำปี (Annual Report) และแบบ 56-1 การอ่าน อ่าน และอ่าน เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพที่สุดที่จะทำให้ท่านเข้าใจธุรกิจอย่างรวดเร็ว