ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

หลักการลงทุนหุ้นแบบนักธุรกิจ

หุ้นเป็นทรัพย์สินที่มีมูลค่าในตัวมันเอง เหมือนกับสินทรัพย์ประเภทอื่นในโลกที่มีมูลค่าในตัวมันเอง ดังท่านจะเห็นได้จาก ที่ดิน พันธบัตร ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ต่าง อาทิ ทองคำ เงิน และโลหะมีค่าอื่นๆ


แต่หุ้นอาจมีความแตกต่างจากทรัพย์สินประเภทอื่นตรงที่มูลค่าหุ้น หรือ มูลค่าที่แท้จริง (Intrinsic Value : V) ถูกกำหนดโดยกำไรในอนาคต หรือ เรียกว่าให้ชัดเจนไปเลยก็คือ กำไรสุทธิต่อหุ้นในอนาคต (EPS1)

เมื่อมูลค่าหุ้น (V) มีความเกียวข้องโดยตรงกับกำไรสุทธิต่อหุ้นในอนาคต (EPS1) ดังนั้นเมื่อเราคาดการณ์กำไรสุทธิในอนาคต (EPS1) ได้ เราก็ทราบมูลค่าหุ้น (V) ได้ทันที ซึ่งการคาดการณ์ EPS1 ได้อย่างแม่นยำนั้น ต้องมีความรู้ความเข้าใจธุรกิจเป็นอย่างดี

การจะเข้าใจธุรกิจได้เป็นอย่างดีนั้น ต้องอาศัยการศึกษาลงไปในตัวธุรกิจซึ่งสามารถทำได้อย่างง่ายดายในปัจจุบัน เพราะบริษัทจดทะเบียนทั้งหมดในประเทศไทยต้องเผยแพร่ข้อมูลการประกอบธุรกิจกับตลาดหลักทรัพย์ ที่ www.set.or.th มีรายละเอียดประกอบด้วย รายงานประจำปี (Annual Report) และแบบ 56-1

การอ่าน อ่าน และอ่าน เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพที่สุดที่จะทำให้ท่านเข้าใจธุรกิจอย่างรวดเร็ว

ขอสรุปเป็นแผนภาพอย่างง่ายดังนี้
อ่
านรายงานประจำปี และ 56-1 ------> ความเข้าใจธุรกิจทั้งด้านความสามารถในการแข่งขันและความเสี่ยง ----> การเห็นอนาคตของกิจการ -------> การกำหนด EPS1 ---------> มูลค่าหุ้น (V) ----------> การตัดสินใจซื้อหุ้นหรือขายหุ้น ------> การทำกำไรซ้ำซาก ---------> การมีอิสรภาพทางการเงิน 

การตัดสินใจซื้อหุ้นหรือขายหุ้น จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อว่าเราทราบว่าราคาหุ้นนั้นหุ้นถูกหรือแพง สามารถวัดได้จากมูลค่าที่แท้จริงของหุ้น (V) นั้นเทียบกับราคาตลาด (P) ในขณะนั้น หาก V มากกว่า P แสดงว่าราคาหุ้นถูก ในทางกลับกันหาก V ต่ำกว่า P แสดงว่าราคาหุ้นแพง แสดงเป็นสมการได้ดังนี้


X = V – P


หาก X เป็นบวก แสดงว่าหุ้นถูก หรือ หุ้นต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง (Undervalued) ควร “ซื้อ”

หาก X เป็นลบ แสดงว่าหุ้นราคาแพง หรือ หุ้นสูงกว่ามูลค่าที่แท้จริง (Overvalued) ควร “ขาย”


ตัวอย่างเช่น หุ้น ABCD มี V เท่ากับ 10 บาท และ P เท่ากับ 5 บาท ดังนั้น กรณีนี้หุ้น ABCD เป็นหุ้นราคาถูก เพราะ V มากกว่า P เท่ากับ 5 บาท (10 – 5) ดังนั้นสรุปได้ว่าหุ้น ABCD ควรซื้อ เพราะ Undervalued


ต่อมามีการไล่ซื้อหุ้น ABCD ทำราคาเพิ่มขึ้นจาก 5 บาท เป็น 15 บาท ดังนั้นกรณีหุ้น ABCD เป็นหุ้นราคาแพง เพราะ V ต่ำกว่า P เท่ากับ 5 บาท (10 - 15) สรุปได้ว่าหุ้น ABCD หากมีก็ควรขาย เพราะ Overvalued 

ปรากฎการณ์แบบนี้เกิดขึ้นเป็นประจำในตลาดหุ้น ดังนั้นหากเราเป็นนักลงทุนที่มีเหตุผลและมีวินัยในการลงทุน เราต้องซื้อหุ้นตอน Undervalued และเราจะขายหุ้นตอน Overvalued ดังเช่น กรณีของหุ้น ABCD เราซื้อหุ้นที่ราคา 5 บาท และเราขายหุ้นตอน 15 บาท ทำให้เรามีกำไร คือ 10 บาท หรือ คิดเป็นผลตอบแทนถึง 200% จะเห็นว่าเมื่อมันเกิดขึ้นเป็นประจำมันก็นำไปสู่การทำกำไรซ้ำซากได้

เราลองคำนวณหาค่า V โดยวิธีการที่นิยมใช้กัน คือ P/E Ratio ดังนี้

1. เลือกค่า P/E ของอุตสาหกรรมที่เราจะประเมินราคาหุ้น เช่น หุ้น A อยู่ในอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ สมมติว่าเราตรวจสอบแล้วพบว่าอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์มีค่า P/E เท่ากับ 10 เท่า

2. คำนวณกำไรสุทธิต่อหุ้นในอนาคต (EPS1) ของหุ้น A โดยใช้ กำไรสุทธิ / จำนวนหุ้นที่ออกและชำระแล้ว สมมติว่าคำนวณ EPS1 ได้เท่ากับ 5 บาทต่อหุ้น

3. นำค่า P/E ของอุตสาหกรรม x EPS1 ค่าที่ได้คือ V = P/E x EPS1 = 10 x 5 = 50 บาท

ข้อควรระวัง การประเมินโดยใช้ P/E มีข้อด้อยที่ว่าการประเมินมูลค่าที่แท้จริงของหุ้นอ้างอิงจากกำไรสุทธิต่อหุ้นเพียงปีเดียว ดังนั้นโอกาสที่จะเกิดความผิดพลาดในการประเมินมูลค่าหุ้นจึงมีสูงมาก แตกต่างจาก DCF การประเมินมูลค่าหุ้นจะประเมินจากกำไรหลายปีข้างหน้า ซึ่งช่วยลดความผิดพลาดที่เกิดขึ้นได้   

การจะเป็นนักลงทุนที่ประสบความสำเร็จได้นั้น ต้องใช้สมองทั้งสองด้าน ทั้งด้านเหตุและผล คือ สมองด้านซ้าย และด้านจินตนาการ คือ สมองด้านขวา ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

“อย่าเชื่อสิ่งที่ตาเห็น แต่ให้เชื่อสิ่งที่นึกคิดในอนาคตภายใต้สิ่งที่เป็นไปได้ในปัจจุบัน”





ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

กระบวนการลงทุนแนว VI

ช่วงเวลาในการซื้อขายหุ้น (Investment Timing)

ราคาหุ้นในตลาดหุ้น (Market Price) ถูกกำหนดมาจากปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก โดยมีรายละเอียดดังนี้ ปัจจัยภายนอก (External Factor) คือ ปัจจัยที่ไม่ได้มาจากกิจการโดยตรงซึ่งเป็นปัจจัยที่กิจการไม่สามารถควบคุมได้ เช่น กระแสเงินเงินทุนไหลออกและไหลเข้า (Fund Flow) วิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ การอัดฉีดเงินของธนาคารกลางของสหรัฐฯและยุโรป การลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ การปรับลดค่าเงินหยวน สงครามระหว่างประเทศและการก่อการร้ายในกลุ่มประเทศยุโรป จนถึง ตลาดหุ้นในสหรัฐอเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น และจีน ปรับตัวเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างรุนแรง การปรับลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล การปรับเพิ่มขึ้นหรือลดลงของราคาน้ำมัน การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ การเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมของธนาคาร การกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล การเปิดเสรีการค้าระหว่างประเทศ เป็นต้น ปัจจัยภายใน (Internal Factor) คือ ปัจจัยที่มาจากกิจการโดยตรง เช่น การขยายตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ การขยายไปสู่ธุรกิจใหม่ การขายหุ้นเพิ่มทุน การควบรวมกิจการ การซื้อและขายกิจการ การเพิ่มอัตราการก่อหนี้ในกิจการ การปิดบริษัทย่อย

ต้นทุนเงินทุน (WACC)

ต้นทุนเงินทุน (Cost of Capital) หรือ ที่นิยมเรียกกันโดยทั่วไป คือ WACC (Weighted Average Cost of Capital) หมายถึง ต้นทุนทางการเงินเฉลี่ยของเงินทุน  มีประโยชน์เพื่อใช้ในการตัดสินใจว่าควรลงทุนหรือไม่ควรลงทุนในโครงการใดบ้างของบริษัท เช่น คุ้มค่าหรือไม่ที่จะลงทุนในโครงการใหม่ของบริษัท เป็นต้น อีกทั้ง WACC นี้ยังสามารถใช้ในการคำนวณหามูลค่าของกิจการ (Enterprise Value) และมูลค่าที่แท้จริงของหุ้น (Intrinsic Value of Stock) ได้อีกด้วย WACC ประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก 2 ประเภท คือ :- ประเภทที่ 1 ต้นทุนจากการเงินกู้ยืม หรือ ที่เข้าใจโดยทั่วไป คือ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืม (kd)   ประเภทที่ 2 ต้นทุนจากเงินทุนของผู้ถือหุ้น  หรือ ที่เข้าใจโดยทั่วไป คือ อัตราผลตอบแทนจากเงินปันผล (ke) เพื่อความง่ายในการทำความเข้าใจ WACC ขอยกตัวอย่างประกอบดังนี้ บริษัท A มีเงินทุนประกอบด้วย เงินกู้จากเจ้าหนี้ที่มีดอกเบี้ย 100 ล้านบาท และเงินทุนจากผู้ถือหุ้น 100 ล้านบาท ดังนั้นเงินทุนทั้งหมดของกิจการ A คือ เงินกู้จากเจ้าหนี้ฯ + เงินทุนจากผู้ถือหุ้น = 100 + 100 ล้านบาท เท่ากับ 200 ล้านบาท 1) เจ้าหนี้ธนาคารคิดอัตรา

Trade Size

 ขนาดการเทรด (trade size) มีเพื่อบริหารความเสี่ยง  - Limit Loss , Unlimit Profit  - ขาดทุนมากที่สุด เท่ากับเงินลงทุน แต่กำไรได้แบบไม่มีเพดาน - แต่ดีกว่านั้น คือ ขาดทุนมากที่สุดเท่ากับ จุด cut loss แต่ยังคงมีกำไรแบบไม่มีเพดาน