ลูกศิษย์ : หุ้นบางตัว P/BV สูงมาก เพราะอะไรครับ
อาจารย์ : ก่อนไปถึง P/BV อยากให้ทำความเข้าใจ BV หรือ มูลค่าหุ้นตามบัญชี (Book Value) ก่อน เป็นอันดับแรกโดยสมการของ BV แสดงได้ดังต่อไปนี้
BV = ส่วนของผู้ถือหุ้น / จำนวนหุ้นที่ชำระแล้ว
ตัวอย่าง หุ้น XZY มีสินทรัพย์เท่ากับ 2,000 ล้านบาท และหนี้สินเท่ากับ 1,000 ล้านบาท ส่วนของผู้ถือหุ้นตามที่ปรากฎในงบดุล คือ 1,000 ล้านบาท และมีจำนวนหุ้นที่ชำระแล้วเท่ากับ 100 ล้านหุ้น ดังนั้น BV จะเท่ากับ 10 บาทต่อหุ้น โดยมีรายการคำนวนดังนี้
BV = ส่วนของผู้ถือหุ้น / จำนวนหุ้นที่ชำระแล้ว = 1,000 / 100 = 10 บาทต่อหุ้น
หากเราไปดูสมการบัญชีก็คือ สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของผู้ถือหุ้น
เราจะพบว่างบการเงินจะบันทึกสินทรัพย์เฉพาะที่ประเมินมูลค่าได้อย่างชัดเจนเท่านั้น ที่วัดค่าไม่ได้จะไม่บันทึก เช่น เทคนิคพิเศษในการผลิตสินค้า เครือข่ายในการขายสินค้า และแบรนด์สินค้า เป็นต้น
ดังนั้น สินทรัพย์ที่แสดงในงบการเงินอาจจะถูกบันทึกแบบปลอดภัยไว้ก่อน (Conservative) ทำให้สินทรัพย์ถูกบันทึกไว้ต่ำกว่ามูลค่าที่ควรจะเป็นก็ได้
สมมติต่อว่าหุ้น XZY มีแบรนด์สินค้าที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักและยอมรับจากผู้บริโภค นั่นหมายความว่า สินทรัพย์ที่แสดงไว้ 2,000 ล้านบาท ต่ำกว่ามูลค่าที่ควรจะเป็นเพราะยังไม่ได้บันทึกมูลค่าของแบรนด์เข้าไป และต่อมาบริษัทได้จ้างผู้ประเมินอิสระทำการประเมินมูลค่าแบรนด์ของตนเองพบว่ามีมูลค่า 2,000 ล้านบาท
ดังนั้นงบการเงินใหม่จะเป็น สินทรัพย์เท่ากับ 4,000 ล้านบาท ประกอบด้วย สินทรัพย์เดิม 2,000 ล้านบาท และมูลค่าของแบรนด์เท่ากับ 2,000 ล้านบาท มูลค่าของแบรนด์นี้จะถูกบันทึกลงไปในส่วนของผู้ถือหุ้นทั้งจำนวน ดังนั้นจะพบว่าส่วนของผู้ถือหุ้นจะเพิ่มขึ้นจาก 1,000 ล้านบาท เป็น 3,000 ล้านบาท (1,000 + 2,000) หากคำนวน BV จะเพิ่มขึ้นจาก 10 บาทต่อหุ้น เป็น 30 บาทต่อหุ้น (3,000/100)
ลูกศิษย์ : อาจารย์กำลังจะบอกผมว่าหุ้นที่ P/BV สูง จริงแล้วอาจจะไม่สูงอย่างที่เห็นใช่ไหมครับ
อาจารย์ยิ้มที่มุมปากแล้วตอบกลับว่า “สิ่งที่เห็นอาจจะไม่จริง สิ่งที่จริงอาจจะมองไม่เห็น ดังนั้นคุณต้องใช้ใจในการมองไม่ใช่ใช้ตามอง”
เหมือนกรณีหุ้น XZY หากดู P/BV ก่อนปรับมูลค่าแบรนด์เข้าไป สมมติว่ามี P/BV เท่ากับ 2 เท่า หรือตีความหมายง่ายๆว่าราคาหุ้น (P) เท่ากับ 20 บาท และ BV เท่ากับ 10 บาท นักลงทุนอาจจะคิดว่าหุ้นแพงกว่า BV แต่พอประเมินมูลค่าแบรนด์เข้าไปจะพบว่า P/BV ลดลงจาก 2 เท่า เหลือแค่ 0.66 เท่า (20/30) กลับกลายเป็นหุ้นถูกว่า BV
ลูกศิษย์คิดในใจต่อไปผมจะเป็นคนรวย…
อาจารย์ : ก่อนไปถึง P/BV อยากให้ทำความเข้าใจ BV หรือ มูลค่าหุ้นตามบัญชี (Book Value) ก่อน เป็นอันดับแรกโดยสมการของ BV แสดงได้ดังต่อไปนี้
BV = ส่วนของผู้ถือหุ้น / จำนวนหุ้นที่ชำระแล้ว
ตัวอย่าง หุ้น XZY มีสินทรัพย์เท่ากับ 2,000 ล้านบาท และหนี้สินเท่ากับ 1,000 ล้านบาท ส่วนของผู้ถือหุ้นตามที่ปรากฎในงบดุล คือ 1,000 ล้านบาท และมีจำนวนหุ้นที่ชำระแล้วเท่ากับ 100 ล้านหุ้น ดังนั้น BV จะเท่ากับ 10 บาทต่อหุ้น โดยมีรายการคำนวนดังนี้
BV = ส่วนของผู้ถือหุ้น / จำนวนหุ้นที่ชำระแล้ว = 1,000 / 100 = 10 บาทต่อหุ้น
หากเราไปดูสมการบัญชีก็คือ สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของผู้ถือหุ้น
เราจะพบว่างบการเงินจะบันทึกสินทรัพย์เฉพาะที่ประเมินมูลค่าได้อย่างชัดเจนเท่านั้น ที่วัดค่าไม่ได้จะไม่บันทึก เช่น เทคนิคพิเศษในการผลิตสินค้า เครือข่ายในการขายสินค้า และแบรนด์สินค้า เป็นต้น
ดังนั้น สินทรัพย์ที่แสดงในงบการเงินอาจจะถูกบันทึกแบบปลอดภัยไว้ก่อน (Conservative) ทำให้สินทรัพย์ถูกบันทึกไว้ต่ำกว่ามูลค่าที่ควรจะเป็นก็ได้
สมมติต่อว่าหุ้น XZY มีแบรนด์สินค้าที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักและยอมรับจากผู้บริโภค นั่นหมายความว่า สินทรัพย์ที่แสดงไว้ 2,000 ล้านบาท ต่ำกว่ามูลค่าที่ควรจะเป็นเพราะยังไม่ได้บันทึกมูลค่าของแบรนด์เข้าไป และต่อมาบริษัทได้จ้างผู้ประเมินอิสระทำการประเมินมูลค่าแบรนด์ของตนเองพบว่ามีมูลค่า 2,000 ล้านบาท
ดังนั้นงบการเงินใหม่จะเป็น สินทรัพย์เท่ากับ 4,000 ล้านบาท ประกอบด้วย สินทรัพย์เดิม 2,000 ล้านบาท และมูลค่าของแบรนด์เท่ากับ 2,000 ล้านบาท มูลค่าของแบรนด์นี้จะถูกบันทึกลงไปในส่วนของผู้ถือหุ้นทั้งจำนวน ดังนั้นจะพบว่าส่วนของผู้ถือหุ้นจะเพิ่มขึ้นจาก 1,000 ล้านบาท เป็น 3,000 ล้านบาท (1,000 + 2,000) หากคำนวน BV จะเพิ่มขึ้นจาก 10 บาทต่อหุ้น เป็น 30 บาทต่อหุ้น (3,000/100)
ลูกศิษย์ : อาจารย์กำลังจะบอกผมว่าหุ้นที่ P/BV สูง จริงแล้วอาจจะไม่สูงอย่างที่เห็นใช่ไหมครับ
อาจารย์ยิ้มที่มุมปากแล้วตอบกลับว่า “สิ่งที่เห็นอาจจะไม่จริง สิ่งที่จริงอาจจะมองไม่เห็น ดังนั้นคุณต้องใช้ใจในการมองไม่ใช่ใช้ตามอง”
เหมือนกรณีหุ้น XZY หากดู P/BV ก่อนปรับมูลค่าแบรนด์เข้าไป สมมติว่ามี P/BV เท่ากับ 2 เท่า หรือตีความหมายง่ายๆว่าราคาหุ้น (P) เท่ากับ 20 บาท และ BV เท่ากับ 10 บาท นักลงทุนอาจจะคิดว่าหุ้นแพงกว่า BV แต่พอประเมินมูลค่าแบรนด์เข้าไปจะพบว่า P/BV ลดลงจาก 2 เท่า เหลือแค่ 0.66 เท่า (20/30) กลับกลายเป็นหุ้นถูกว่า BV
ลูกศิษย์คิดในใจต่อไปผมจะเป็นคนรวย…
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น