ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

4 Vs ของหุ้น

คิดจะรวยจากหุ้นต้องเข้าใจมูลค่าเรื่องมูลค่าหุ้นก่อนเป็นอันดับแรก หุ้นนั้นประกอบด้วยมูลค่าทั้งหมด 4 ประเภท ดังต่อไปนี้

1) มูลหุ้นที่ตราไว้ หรือที่เรียกว่า "Par Value" เป็นราคาหุ้นที่กำหนดไว้นับตั้งแต่ตั้งกิจการ เช่น บริษัท A เปิดกิจการต้องการระดมทุนจากผู้ถือหุ้นเพื่อใช้ทำธุรกิจจำนวน 100 ล้านบาท กำหนดให้มีหุ้นทั้งหมด 10 ล้านหุ้น ดังนั้นราคาหุ้นที่ตราไว้เท่ากับ 10 บาทต่อหุ้น (100/10)

มูลค่าหุ้นที่ตราไว้สามารถดูได้จากงบการเงินที่เป็นส่วนงบดุล (งบแสดงฐานะการเงิน) ในรายการส่วนของผู้ถือหุ้น

2) มูลค่าหุ้นตามบัญชี หรือที่เรียกว่า "Book Value" เป็นราคาหุ้นที่เกิดจากการทำธุรกิจที่ผ่านมา โดยมีสมการอย่างง่ายๆ

                         มูลค่าหุ้นตามบัญชี = มูลค่าที่ตราไว้ + กำไรสะสม

ตัวอย่าง สมมติว่าบริษัท A มีมูลค่าที่ตราไว้ 10 บาทต่อหุ้น ต่อมาทำธุรกิจจนมีกำไรสะสมต่อหุ้นเท่ากับ 20 บาท ดังนั้น มูลค่าหุ้นตามบัญชีเท่ากับ 30 โดยมาจากการแทนสมการดังนี้

                       มูลค่าหุ้นตามบัญชี = 10 + 20 = 30 บาทต่อหุ้น

มูลค่าหุ้นตามบัญชีสามารถคำนวณได้จากงบการเงินล่าสุดทีประกาศในเว็บไซด์ของตลาดหลักทรัพย์

3)  มูลค่าหุ้นในตลาด หรือเรียกว่า "Market Value" เป็นราคาหุ้นที่มีการซื้อขายกันทุกวันทำการที่ตลาดหุ้นเปิด ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงแทบจะทุกวันที่มีการเปิดตลาดหุ้น โดยราคาหุ้นนี้จะเพิ่มขึ้นหรือลดลงตามผลประกอบการของธุรกิจ ตามอารมณ์ของนักลงทุนในตลาดซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากปัจจัยแวดล้อมมากมาย อาทิ ตัวเลขทางเศรษฐกิจของสหรัฐที่ประกาศออกมา ข่าวการเกิดภาวะสงครามระหว่างประเทศ การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในประเทศ เป็นต้น

มูลค่าหุ้นในตลาดนี้สามารถดูได้ตามสื่อต่างๆทั้งใน โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ และเว็บไซด์ของตลาดหลักทรัพย์

4) มูลค่าหุ้นที่แท้จริง หรือเรียกว่า "Intrinsic Value" เป็นราคาหุ้นที่คำนวณได้จากการคาดการณ์ผลประกอบการในอนาคตของธุรกิจ หากธุรกิจมีกำไรเติบโตต่อเนื่องไปเรื่อยๆ มูลค่าที่แท้จริงก็จะสูง เปรียบเทียบกับธุรกิจที่ไม่มีการเติบโตของกำไร ซึ่งท่านสามารถสนใจศึกษาเพิ่มเติมอ่านได้ในหัวข้อ "มูลค่าที่แท้จริง" ที่ได้อธิบายอย่างละเอียดใน Blog นี้ หรือสามารถอ่านจากหนังสือ "เลือกหุ้น เล่นหุ้น ประเมินราคาหุ้นด้วยตนเอง"  ตามภาพข้างล่างนี้ ซึ่งสอนรายละเอียดการคำนวณทั้งหมดรวมทั้งสูตรโดยใช้ตัวอย่างกรณีศึกษาบริษัท ได้ที่ www.mebmarket.com


มูลค่าหุ้นที่แท้จริงคำนวณได้จากสูตร Discounted Cash Flow ดังต่อไปนี้




กล่าวโดยสรุปได้ว่ามูลค่าหุ้นในข้อ 1) - 3) ทุกคนจะรู้มูลค่าหุ้นเหมือนกันหมด แต่จะมีเพียงมูลค่าที่แท้จริงเท่านั้นที่ทุกคนจะรู้แตกต่างกัน และมูลค่าหุ้นที่แท้จริงนี้เป็นตัวจักรสำคัญที่ทำให้นักลงทุนสามารถประสบความสำเร็จหรือล้มเหลวได้ในการลงทุน เพราะเมื่อคุณรู้มูลค่าที่แท้จริง คุณจะตัดสินใจได้ว่าควรจะซื้อหรือขายหุ้นตัวนั้น

อยากรวยหุ้น...ตอนนี้คุณสามารถคำนวณหามูลค่าที่แท้จริงได้ด้วยตัวคุณเองหรือยัง ???






ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

กระบวนการลงทุนแนว VI

ควรมีทุนจดทะเบียนและชำระแล้วเท่าไหร่ดี

ถาม : ดิฉันกำลังคิดจะทำธุรกิจ อยากทราบว่าควรมีทุนจดทะเบียนและชำระแล้วเท่าไหร่ดีค่ะ ตอบ : คุณต้องประมาณเงินลงทุนทั้งหมด โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้ (1) ประมาณการเงินลงทุนสินทรัพย์ถาวร (2) ประมาณการเงินหมุนเวียนสุทธิ (Net Working Capital)  หลังจากนั้นคุณก็นำรายการที่ (1) บวกกับรายการที่ (2) แล้ว ผลรวมที่ได้คือ เงินลงทุนทั้งหมด ในกรณีที่คุณไม่ต้องการกู้เงิน เงินลงทุนทั้งหมดจะเป็นทุนที่ชำระแล้ว ตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์กำหนดไว้ว่า ผู้ถือหุ้นต้องชำระค่าหุ้นขั้นต่ำ 25% ของทุนจดทะเบียน ยกตัวอย่างเช่น หากคุณจดทะเบียน 1.0 ล้านบาท คุณต้องชำระค่าหุ้นขั้นต่ำ 250,000 บาท ส่วนที่เหลืออีก 75% ถือว่าเป็นภาระผูกพันของผู้ถือหุ้นที่มีต่อบริษัท ดังนั้นในกรณีที่บริษัทดำเนินธุรกิจจนเจ๊ง เจ้าหนี้สามารถใช้สิทธิบังคับให้ผู้ถือหุ้นชำระค่าหุ้นคงเหลืออีก 75% ซึ่งหมายความว่า หุ้นที่ชำระไม่ครบ 75% มีสถานะเป็นหนี้ของผู้ถือหุ้นนั่นเอง ตัวอย่าง การประมาณงินลงทุน เช่น บริษัท ABCD จำกัด มีสมมติฐานว่าปีหน้าจะมียอดขายประมาณ 10 ล้านบาท ต้นทุนขายประมาณ 7.5 ล้านบาท และงบประมาณการลงทุนในสินทรัพย์ถาวร...

ช่วงเวลาในการซื้อขายหุ้น (Investment Timing)

ราคาหุ้นในตลาดหุ้น (Market Price) ถูกกำหนดมาจากปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก โดยมีรายละเอียดดังนี้ ปัจจัยภายนอก (External Factor) คือ ปัจจัยที่ไม่ได้มาจากกิจการโดยตรงซึ่งเป็นปัจจัยที่กิจการไม่สามารถควบคุมได้ เช่น กระแสเงินเงินทุนไหลออกและไหลเข้า (Fund Flow) วิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ การอัดฉีดเงินของธนาคารกลางของสหรัฐฯและยุโรป การลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ การปรับลดค่าเงินหยวน สงครามระหว่างประเทศและการก่อการร้ายในกลุ่มประเทศยุโรป จนถึง ตลาดหุ้นในสหรัฐอเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น และจีน ปรับตัวเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างรุนแรง การปรับลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล การปรับเพิ่มขึ้นหรือลดลงของราคาน้ำมัน การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ การเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมของธนาคาร การกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล การเปิดเสรีการค้าระหว่างประเทศ เป็นต้น ปัจจัยภายใน (Internal Factor) คือ ปัจจัยที่มาจากกิจการโดยตรง เช่น การขยายตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ การขยายไปสู่ธุรกิจใหม่ การขายหุ้นเพิ่มทุน การควบรวมกิจการ การซื้อและขายกิจการ การเพิ่มอัตราการก่อหนี้ในกิจการ การปิดบริษัทย่อย...

ต้นทุนเงินทุน (WACC)

ต้นทุนเงินทุน (Cost of Capital) หรือ ที่นิยมเรียกกันโดยทั่วไป คือ WACC (Weighted Average Cost of Capital) หมายถึง ต้นทุนทางการเงินเฉลี่ยของเงินทุน  มีประโยชน์เพื่อใช้ในการตัดสินใจว่าควรลงทุนหรือไม่ควรลงทุนในโครงการใดบ้างของบริษัท เช่น คุ้มค่าหรือไม่ที่จะลงทุนในโครงการใหม่ของบริษัท เป็นต้น อีกทั้ง WACC นี้ยังสามารถใช้ในการคำนวณหามูลค่าของกิจการ (Enterprise Value) และมูลค่าที่แท้จริงของหุ้น (Intrinsic Value of Stock) ได้อีกด้วย WACC ประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก 2 ประเภท คือ :- ประเภทที่ 1 ต้นทุนจากการเงินกู้ยืม หรือ ที่เข้าใจโดยทั่วไป คือ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืม (kd)   ประเภทที่ 2 ต้นทุนจากเงินทุนของผู้ถือหุ้น  หรือ ที่เข้าใจโดยทั่วไป คือ อัตราผลตอบแทนจากเงินปันผล (ke) เพื่อความง่ายในการทำความเข้าใจ WACC ขอยกตัวอย่างประกอบดังนี้ บริษัท A มีเงินทุนประกอบด้วย เงินกู้จากเจ้าหนี้ที่มีดอกเบี้ย 100 ล้านบาท และเงินทุนจากผู้ถือหุ้น 100 ล้านบาท ดังนั้นเงินทุนทั้งหมดของกิจการ A คือ เงินกู้จากเจ้าหนี้ฯ + เงินทุนจากผู้ถือหุ้น = 100 + 100 ล้านบาท เท่ากับ 200 ล...

ควรตั้งเป้ายอดขายขั้นต่ำเท่าไหร่

ถาม : ตอนนี้ผมทำธุรกิจส่วนตัว และต้องการตั้งเป้าหมายการขายให้กับฝ่ายขาย อาจารย์พอจะมีวิธีที่ใช้ประมาณการขายหรือเปล่าครับ ตอบ : การตั้งเป้าหมายในการขายให้กับฝ่ายขาย เราสามารถคำนวณหาได้จากจุดคุ้มทุนขาย (Break-Even point of Sales) คือ ยอดขายที่ทำไม่มีผลกำไรสุทธิและขาดทุนสุทธิ หรือ ยอดขายที่พอดีกับค่าใช้จ่ายของกิจการ หรืออีกนัยหนึ่ง คือยอดขายขั้นต่ำที่ต้องให้กับฝ่ายขาย โดยมีสูตรดังนี้                                              จุดคุ้มทุนขาย  =   ค่าใช้จ่ายคงที่                                                  ...