ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เจ้าสัว...สอนการเป็นนักบริหารชั้นเยี่ยม (ต่อ)

ระหว่างที่ผมขับรถกลับจากพบเจ้าสัว จิตผมคุ้นคิดเกี่ยวกับคำสอนของแกที่กล่าวก่อนแยกจากกันว่า

การเป็นนักบริหารชั้นเยี่ยมได้นั้นจะต้องเริ่มต้นจาก เก่งงาน (Technical Skill) คือ ทำงานในสายงานของตนเองให้ได้อย่างน้อย 10 ปี เพราะเป็นช่วงระยะเวลาที่ความรู้จะปรับเปลี่ยนไปสู่ความเข้าใจ โดยกระบวนการเปลี่ยนความรู้เป็นความเข้าใจได้นั้นต้องอาศัยการปฏิบัติเพียงอย่างเดียวเท่านั้น

เมื่อเก่งงานแล้ว ก็ต้องฝึกฝนตนเองในเรื่องการสร้างทีมงาน คือ การเก่งคน (Human Skill) เพราะการทำงานใหญ่ได้นั้นต้องอาศัยทีมงาน โดยทีมงานต้องมีจิตวิญญาณรวมกัน (Team Spirit) มีจุดมุ่งหมายเดียวกัน มีความสามัคคีกัน มีความเห็นอกเห็นใจและส่งเสริมซึ่งกันและกัน โดยบุคคลที่จะสร้าง Team Spirit ได้นั้นต้องเป็นผู้บริหารเท่านั้น

เมื่อเก่งงาน และเก่งคนได้แล้ว ผู้บริหารต้องพัฒนาตนเองให้การเก่งคิด (Conceptual Skill) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการวางแผนสำหรับธุรกิจ เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน (Competitive Advantage) และสร้างการเติบโตให้แก่ธุรกิจ ซึ่งนำไปสู่การมีชีวิตที่ดีขึ้นของบุคคลในองค์กร


หากนำทั้งสามเก่งรวมกันเพื่อนำไปเปรียบเทียบกับธุรกิจ คือ การเก่งงานอย่างเดียว เสมือนการเปิดร้านค้าเล็กๆ 1 แห่ง ซึ่งเจ้าของเป็นผู้บริหารเอง ทำทุกอย่างด้วยตัวเองทั้งหมด นับตั้งแต่ การสั่งสินค้าเข้ามาขายในร้านเอง การจัดสินค้าในร้านเอง การขายสินค้าและติดต่อลูกค้าเอง การเก็บเงินเข้าแบงก์เอง การทำบัญชีและภาษีเอง ดังนั้นเวลาทำงาน 100% เป็นเรื่องงานทั้งหมด

แต่หากเก่งงานและเก่งคนด้วย เสมือนการเปิดร้านขนาดกลาง ซึ่งเจ้าของเป็นผู้บริหาร และจ้างลูกจ้างมืออาชีพเข้ามาแบ่งความรับผิดชอบบางส่วนให้ โดยเจ้าของจะใช้เวลาในการบริหารลูกจ้างมืออาชีพ และดูแลงานเฉพาะส่วนที่มีความสำคัญกับธุรกิจเท่านั้น ดังนั้นเวลาทำงาน 100% แบ่งเป็นเรื่องงาน 50% และเรื่องคน 50%

แต่หากเก่งงาน เก่งคน และเก่งคิดด้วย เสมือนการเปิดร้านจำนวนหลายสาขาทั่วประเทศ (Chain Stores) ซึ่งเจ้าของกระจายงานเกือบทั้งหมดให้กับลูกจ้างมืออาชีพ และใช้เวลาส่วนใหญ่กับการมองภาพรวมของธุรกิจและอุตสาหกรรมของตนเอง ดังนั้นเวลาทำงาน 100% แบ่งเป็นเรื่องงาน 10% เรื่องคน 40% และเรื่องคิด 50%

กล่าวโดยสรุปได้ว่า นักบริหารชั้นเยี่ยมต้องพัฒนาตนเองจาก เก่งงาน เป็น เก่งคน และเก่งคิดในที่สุด เปรียบได้กับการสร้างกระท่อมสามารถสร้างคนเดียวได้ แต่ไม่สร้างเมืองต้องอาศัยคนและการวางแผนที่ดี การทำธุรกิจขนาดเล็ก หรือ ทำธุรกิจขนาดใหญ่ เหนื่อยคนละแบบแต่เท่าๆกัน แต่ผลลัพธ์แตกต่างกันราวฟ้ากับดิน

สายตาผมมองทอดยาวออกไปสุดปลายถนนท่ามกลางแสงสลัวของไฟถนน แต่จิตใจกับสว่างไสวเสมือนได้พบแสงสว่างทีปลายอุโมงค์

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

กระบวนการลงทุนแนว VI

ควรมีทุนจดทะเบียนและชำระแล้วเท่าไหร่ดี

ถาม : ดิฉันกำลังคิดจะทำธุรกิจ อยากทราบว่าควรมีทุนจดทะเบียนและชำระแล้วเท่าไหร่ดีค่ะ ตอบ : คุณต้องประมาณเงินลงทุนทั้งหมด โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้ (1) ประมาณการเงินลงทุนสินทรัพย์ถาวร (2) ประมาณการเงินหมุนเวียนสุทธิ (Net Working Capital)  หลังจากนั้นคุณก็นำรายการที่ (1) บวกกับรายการที่ (2) แล้ว ผลรวมที่ได้คือ เงินลงทุนทั้งหมด ในกรณีที่คุณไม่ต้องการกู้เงิน เงินลงทุนทั้งหมดจะเป็นทุนที่ชำระแล้ว ตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์กำหนดไว้ว่า ผู้ถือหุ้นต้องชำระค่าหุ้นขั้นต่ำ 25% ของทุนจดทะเบียน ยกตัวอย่างเช่น หากคุณจดทะเบียน 1.0 ล้านบาท คุณต้องชำระค่าหุ้นขั้นต่ำ 250,000 บาท ส่วนที่เหลืออีก 75% ถือว่าเป็นภาระผูกพันของผู้ถือหุ้นที่มีต่อบริษัท ดังนั้นในกรณีที่บริษัทดำเนินธุรกิจจนเจ๊ง เจ้าหนี้สามารถใช้สิทธิบังคับให้ผู้ถือหุ้นชำระค่าหุ้นคงเหลืออีก 75% ซึ่งหมายความว่า หุ้นที่ชำระไม่ครบ 75% มีสถานะเป็นหนี้ของผู้ถือหุ้นนั่นเอง ตัวอย่าง การประมาณงินลงทุน เช่น บริษัท ABCD จำกัด มีสมมติฐานว่าปีหน้าจะมียอดขายประมาณ 10 ล้านบาท ต้นทุนขายประมาณ 7.5 ล้านบาท และงบประมาณการลงทุนในสินทรัพย์ถาวร...

ช่วงเวลาในการซื้อขายหุ้น (Investment Timing)

ราคาหุ้นในตลาดหุ้น (Market Price) ถูกกำหนดมาจากปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก โดยมีรายละเอียดดังนี้ ปัจจัยภายนอก (External Factor) คือ ปัจจัยที่ไม่ได้มาจากกิจการโดยตรงซึ่งเป็นปัจจัยที่กิจการไม่สามารถควบคุมได้ เช่น กระแสเงินเงินทุนไหลออกและไหลเข้า (Fund Flow) วิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ การอัดฉีดเงินของธนาคารกลางของสหรัฐฯและยุโรป การลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ การปรับลดค่าเงินหยวน สงครามระหว่างประเทศและการก่อการร้ายในกลุ่มประเทศยุโรป จนถึง ตลาดหุ้นในสหรัฐอเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น และจีน ปรับตัวเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างรุนแรง การปรับลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล การปรับเพิ่มขึ้นหรือลดลงของราคาน้ำมัน การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ การเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมของธนาคาร การกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล การเปิดเสรีการค้าระหว่างประเทศ เป็นต้น ปัจจัยภายใน (Internal Factor) คือ ปัจจัยที่มาจากกิจการโดยตรง เช่น การขยายตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ การขยายไปสู่ธุรกิจใหม่ การขายหุ้นเพิ่มทุน การควบรวมกิจการ การซื้อและขายกิจการ การเพิ่มอัตราการก่อหนี้ในกิจการ การปิดบริษัทย่อย...

ต้นทุนเงินทุน (WACC)

ต้นทุนเงินทุน (Cost of Capital) หรือ ที่นิยมเรียกกันโดยทั่วไป คือ WACC (Weighted Average Cost of Capital) หมายถึง ต้นทุนทางการเงินเฉลี่ยของเงินทุน  มีประโยชน์เพื่อใช้ในการตัดสินใจว่าควรลงทุนหรือไม่ควรลงทุนในโครงการใดบ้างของบริษัท เช่น คุ้มค่าหรือไม่ที่จะลงทุนในโครงการใหม่ของบริษัท เป็นต้น อีกทั้ง WACC นี้ยังสามารถใช้ในการคำนวณหามูลค่าของกิจการ (Enterprise Value) และมูลค่าที่แท้จริงของหุ้น (Intrinsic Value of Stock) ได้อีกด้วย WACC ประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก 2 ประเภท คือ :- ประเภทที่ 1 ต้นทุนจากการเงินกู้ยืม หรือ ที่เข้าใจโดยทั่วไป คือ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืม (kd)   ประเภทที่ 2 ต้นทุนจากเงินทุนของผู้ถือหุ้น  หรือ ที่เข้าใจโดยทั่วไป คือ อัตราผลตอบแทนจากเงินปันผล (ke) เพื่อความง่ายในการทำความเข้าใจ WACC ขอยกตัวอย่างประกอบดังนี้ บริษัท A มีเงินทุนประกอบด้วย เงินกู้จากเจ้าหนี้ที่มีดอกเบี้ย 100 ล้านบาท และเงินทุนจากผู้ถือหุ้น 100 ล้านบาท ดังนั้นเงินทุนทั้งหมดของกิจการ A คือ เงินกู้จากเจ้าหนี้ฯ + เงินทุนจากผู้ถือหุ้น = 100 + 100 ล้านบาท เท่ากับ 200 ล...

ควรตั้งเป้ายอดขายขั้นต่ำเท่าไหร่

ถาม : ตอนนี้ผมทำธุรกิจส่วนตัว และต้องการตั้งเป้าหมายการขายให้กับฝ่ายขาย อาจารย์พอจะมีวิธีที่ใช้ประมาณการขายหรือเปล่าครับ ตอบ : การตั้งเป้าหมายในการขายให้กับฝ่ายขาย เราสามารถคำนวณหาได้จากจุดคุ้มทุนขาย (Break-Even point of Sales) คือ ยอดขายที่ทำไม่มีผลกำไรสุทธิและขาดทุนสุทธิ หรือ ยอดขายที่พอดีกับค่าใช้จ่ายของกิจการ หรืออีกนัยหนึ่ง คือยอดขายขั้นต่ำที่ต้องให้กับฝ่ายขาย โดยมีสูตรดังนี้                                              จุดคุ้มทุนขาย  =   ค่าใช้จ่ายคงที่                                                  ...