ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เล่นหุ้นอย่างมีจินตนาการ ตอนที่ 1

ลูกศิษย์ : ผมอยากรู้ว่าอาจารย์มีเคล็ดลับพิเศษอื่นเพิ่มเติมหรือเปล่าที่จะทำกำไรจากตลาดหุ้น

อาจารย์ : เคล็ดลับที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง ก็คือ ต้องมีจินตนาการในการเล่นหุ้น

ลูกศิษย์ : จินตนาการในการเล่นหุ้น เป็นอย่างไรครับ

อาจารย์ : ก่อนจะตอบ ขอถามคุณเคยเห็นดูฟุตบอลหรือเปล่า

ลูกศิษย์ : เคยดูแน่นอนครับ ทำไมหรือครับ

อาจารย์ : คุณเคยเห็นจินตนาการในการเล่นฟุตบอลหรือเปล่า

ลูกศิษย์ : จินตนาการในการเล่นฟุตบอล คือ การเล่นบอลแบบฝ่ายตรงข้ามคาดการณ์ไม่ถึงใช่หรือเปล่าครับ

อาจารย์ : ถูกต้อง เพราะจินตนาการ คือ การคิดล่วงหน้าออกไปว่าเหตุการณ์จะเป็นอย่างไรแล้ว แล้วเล่นไปตามความคิดของตนเอง ดังนั้น ทีมบอลที่จะประสบความสำเร็จได้ ต้องมีนักเต๊ะที่มีจินตนาการในการเล่น เพราะเขาสามารถเปลี่ยนจากเกมรับกลายเป็นเกมรุกทันที โดยฝ่ายตรงกันข้ามไม่ทันตั้งตัว และเป็นฝ่ายเก็บชัยชนะไปในที่สุด

ส่วนจินตนาการในการเล่นหุ้น คือ การเล่นหุ้นแบบตลาดหุ้นคาดไม่ถึง ซึ่งนักลงทุนระดับโลกก็ทำกันเป็นประจำ ยกตัวอย่าง กรณีง่ายๆ ก็คือ ซื้อหุ้นแบบทุ่มสุดตัว เมื่อตลาดตกหนักๆ ซึ่งจะเห็นว่าการกระทำแบบนี้คนส่วนใหญ่ในตลาดหุ้นคาดไม่ถึงว่าจะยังมีคนกล้าซื้อ

ที่นักลงทุนระดับโลกทำกัน เพราะเขาจินตนาการออกว่า หุ้นที่ตกหนักๆเหล่านั้นจะเด้งกลับมาอย่างแน่นอนในอนาคต เพราะเขาเข้าใจปรัชญาการลงทุนที่สำคัญ ก็คือ ราคาหุ้นจะปรับตัวเข้าใกล้มูลค่าที่แท้จริงของมันเองเสมอ (Intrinsic Value : V) ในระยะยาว

คุณลองจินตนาการตามที่ผมบอก มีข่าวว่ากรีซจะเบี้ยวหนี้ไม่ยอมจ่ายหนี้ให้กับกลุ่มเจ้าหนี้ ตลาดหุ้นจึงมีการตกลงอย่างรุนแรงเพราะไม่ชอบข่าวร้าย เพราะนักลงทุนส่วนใหญ่ก็เกิดจินตนาการว่าเศรษฐกิจยุโรปจะพังพินาศ และเศรษฐกิจโลกจะพังตามไปด้วย

หุ้น A ซึ่งอยู่ในตลาดหุ้น ก็รับพลอยได้รับข่าวร้ายไปด้วย ทำให้ราคาหุ้น (Market Price : P) ตกลงจาก 100 บาทต่อหุ้น เหลือเพียง 50 บาทต่อหุ้น ทั้งๆที่หุ้น A ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องใดๆในการทำธุรกิจกับกรีซ ไม่ว่าจะเป็นการขายสินค้าให้กรีซ หรือ การลงทุนในกรีซ

แต่คุณลองจินตนาการแตกต่างว่าหากคุณซื้อหุ้น A ที่ราคาหุ้น 50 บาทต่อหุ้น และถือหุ้น A ไว้ก่อน โดยใช้กลยุทธ์ซื้อแล้วถือ (Buy and Hold Strategy) โดยรอให้ข่าวร้ายผ่านไป แล้วโลกจะกลับเข้าสู่สมดุลเหมือนเดิม เพราะมันรักษาตัวเองเป็นประจำอยู่แล้ว สังเกตได้จากทุกวิกฤตเศรษฐกิจ จะมีการฟื้นตัวกลับมาเสมอ เพียงแต่จะช้าหรือเร็วเท่านั้น

เหมือนทุกอย่างผ่านไป เพราะเวลาไม่เคยหยุดเดิน พบว่า หุ้น A ราคาเพิ่มขึ้นไปในราคาเดิม คือ 100 บาทต่อหุ้น จะพบว่าความพิศวงของตัวเลขก็คือ คุณกำไร 100% ทั้งที่ตอนที่หุ้นตกมันตกลง 50% เท่านั้น ปริศนานี้ไขด้วยสมการดังนี้

หุ้นตก = (ราคาหุ้นก่อนตก – ราคาหุ้นตก) x 100% / ราคาหุ้นก่อนตก ………….. (1)

กำไร   = (ราคาหุ้นขี้น – ราคาหุ้นตก) x 100% / ราคาหุ้นตก ………………(2)

แทนค่าในสมการ (1) และ (2)

หุ้นตก = (100 – 50) x 100% / 100 = 50%

กำไร = (100 – 50) x 100% / 50 = 100%

จะเห็นได้ว่า ทำไมเราต้องซื้อหุ้นตอนตก เพราะมันสร้างผลตอบแทนสูงขึ้นเป็นเท่าตัวเทียบกับภาวะปรกติ การซื้อหุ้นตอนตกเป็นการติดเทอร์โบให้กับการลงทุน

ลูกศิษย์ : แค่จินตนาการตามอาจารย์ผมก็มีความสุขมากแล้วครับ

อาจารย์ : ต้องแบบนี้ ยังไม่ทันได้ซื้อหุ้นก็มีความสุขแล้ว คุ้มจริงๆ ได้ทั้งความสุข ได้ทั้งเงิน เปรียบได้กับยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัว


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

กระบวนการลงทุนแนว VI

ควรมีทุนจดทะเบียนและชำระแล้วเท่าไหร่ดี

ถาม : ดิฉันกำลังคิดจะทำธุรกิจ อยากทราบว่าควรมีทุนจดทะเบียนและชำระแล้วเท่าไหร่ดีค่ะ ตอบ : คุณต้องประมาณเงินลงทุนทั้งหมด โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้ (1) ประมาณการเงินลงทุนสินทรัพย์ถาวร (2) ประมาณการเงินหมุนเวียนสุทธิ (Net Working Capital)  หลังจากนั้นคุณก็นำรายการที่ (1) บวกกับรายการที่ (2) แล้ว ผลรวมที่ได้คือ เงินลงทุนทั้งหมด ในกรณีที่คุณไม่ต้องการกู้เงิน เงินลงทุนทั้งหมดจะเป็นทุนที่ชำระแล้ว ตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์กำหนดไว้ว่า ผู้ถือหุ้นต้องชำระค่าหุ้นขั้นต่ำ 25% ของทุนจดทะเบียน ยกตัวอย่างเช่น หากคุณจดทะเบียน 1.0 ล้านบาท คุณต้องชำระค่าหุ้นขั้นต่ำ 250,000 บาท ส่วนที่เหลืออีก 75% ถือว่าเป็นภาระผูกพันของผู้ถือหุ้นที่มีต่อบริษัท ดังนั้นในกรณีที่บริษัทดำเนินธุรกิจจนเจ๊ง เจ้าหนี้สามารถใช้สิทธิบังคับให้ผู้ถือหุ้นชำระค่าหุ้นคงเหลืออีก 75% ซึ่งหมายความว่า หุ้นที่ชำระไม่ครบ 75% มีสถานะเป็นหนี้ของผู้ถือหุ้นนั่นเอง ตัวอย่าง การประมาณงินลงทุน เช่น บริษัท ABCD จำกัด มีสมมติฐานว่าปีหน้าจะมียอดขายประมาณ 10 ล้านบาท ต้นทุนขายประมาณ 7.5 ล้านบาท และงบประมาณการลงทุนในสินทรัพย์ถาวร...

ช่วงเวลาในการซื้อขายหุ้น (Investment Timing)

ราคาหุ้นในตลาดหุ้น (Market Price) ถูกกำหนดมาจากปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก โดยมีรายละเอียดดังนี้ ปัจจัยภายนอก (External Factor) คือ ปัจจัยที่ไม่ได้มาจากกิจการโดยตรงซึ่งเป็นปัจจัยที่กิจการไม่สามารถควบคุมได้ เช่น กระแสเงินเงินทุนไหลออกและไหลเข้า (Fund Flow) วิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ การอัดฉีดเงินของธนาคารกลางของสหรัฐฯและยุโรป การลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ การปรับลดค่าเงินหยวน สงครามระหว่างประเทศและการก่อการร้ายในกลุ่มประเทศยุโรป จนถึง ตลาดหุ้นในสหรัฐอเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น และจีน ปรับตัวเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างรุนแรง การปรับลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล การปรับเพิ่มขึ้นหรือลดลงของราคาน้ำมัน การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ การเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมของธนาคาร การกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล การเปิดเสรีการค้าระหว่างประเทศ เป็นต้น ปัจจัยภายใน (Internal Factor) คือ ปัจจัยที่มาจากกิจการโดยตรง เช่น การขยายตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ การขยายไปสู่ธุรกิจใหม่ การขายหุ้นเพิ่มทุน การควบรวมกิจการ การซื้อและขายกิจการ การเพิ่มอัตราการก่อหนี้ในกิจการ การปิดบริษัทย่อย...

ต้นทุนเงินทุน (WACC)

ต้นทุนเงินทุน (Cost of Capital) หรือ ที่นิยมเรียกกันโดยทั่วไป คือ WACC (Weighted Average Cost of Capital) หมายถึง ต้นทุนทางการเงินเฉลี่ยของเงินทุน  มีประโยชน์เพื่อใช้ในการตัดสินใจว่าควรลงทุนหรือไม่ควรลงทุนในโครงการใดบ้างของบริษัท เช่น คุ้มค่าหรือไม่ที่จะลงทุนในโครงการใหม่ของบริษัท เป็นต้น อีกทั้ง WACC นี้ยังสามารถใช้ในการคำนวณหามูลค่าของกิจการ (Enterprise Value) และมูลค่าที่แท้จริงของหุ้น (Intrinsic Value of Stock) ได้อีกด้วย WACC ประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก 2 ประเภท คือ :- ประเภทที่ 1 ต้นทุนจากการเงินกู้ยืม หรือ ที่เข้าใจโดยทั่วไป คือ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืม (kd)   ประเภทที่ 2 ต้นทุนจากเงินทุนของผู้ถือหุ้น  หรือ ที่เข้าใจโดยทั่วไป คือ อัตราผลตอบแทนจากเงินปันผล (ke) เพื่อความง่ายในการทำความเข้าใจ WACC ขอยกตัวอย่างประกอบดังนี้ บริษัท A มีเงินทุนประกอบด้วย เงินกู้จากเจ้าหนี้ที่มีดอกเบี้ย 100 ล้านบาท และเงินทุนจากผู้ถือหุ้น 100 ล้านบาท ดังนั้นเงินทุนทั้งหมดของกิจการ A คือ เงินกู้จากเจ้าหนี้ฯ + เงินทุนจากผู้ถือหุ้น = 100 + 100 ล้านบาท เท่ากับ 200 ล...

ควรตั้งเป้ายอดขายขั้นต่ำเท่าไหร่

ถาม : ตอนนี้ผมทำธุรกิจส่วนตัว และต้องการตั้งเป้าหมายการขายให้กับฝ่ายขาย อาจารย์พอจะมีวิธีที่ใช้ประมาณการขายหรือเปล่าครับ ตอบ : การตั้งเป้าหมายในการขายให้กับฝ่ายขาย เราสามารถคำนวณหาได้จากจุดคุ้มทุนขาย (Break-Even point of Sales) คือ ยอดขายที่ทำไม่มีผลกำไรสุทธิและขาดทุนสุทธิ หรือ ยอดขายที่พอดีกับค่าใช้จ่ายของกิจการ หรืออีกนัยหนึ่ง คือยอดขายขั้นต่ำที่ต้องให้กับฝ่ายขาย โดยมีสูตรดังนี้                                              จุดคุ้มทุนขาย  =   ค่าใช้จ่ายคงที่                                                  ...