หลังจากดำเนินธุรกิจมาได้หลายปีแล้ว ผมได้รับคำสั่งซื้อจำนวนมากจากลูกค้าเดิม เพราะการทำธุรกิจที่มีแต่ความซื่อสัตย์ จริงใจ และเอาใจใส่ต่อลูกค้ามาโดยตลอด แต่สิ่งหนึ่งที่ยังคงเป็นปัญหาของธุรกิจในขณะนี้ก็คือ การตึงตัวของฐานะการเงิน
ผมจึงได้เข้าไปหารือกับเจ้าสัวซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทว่าจะดำเนินการอย่างไรกับสภาพคล่องของกิจการ เจ้าสัวจึงได้ให้ข้อเสนอแนะดังนี้
การหาเงินเข้าสู่กิจการคือ 1) การกู้ยืมเงินจากธนาคาร ซึ่งมีต้นทุนทางการเงินแก่กิจการ ก็คือดอกเบี้ยจ่าย 2) การเพิ่มทุนจากผู้ถือหุ้น ซึ่งมีต้นทุนทางการเงินแก่กิจการ ก็คือเงินปันผลแก่ผู้ถือหุ้น 3) การบริหารทรัพย์สินของกิจการ เช่น การเก็บหนี้ให้เร็วขึ้นโดยการให้ส่วนลด การขายสินค้าคงเหลือในราคาส่วนลด เป็นต้น ซึ่งกรณีนี้ไม่มีต้นทุนทางการเงินที่เพิ่มขึ้น
หากเปรียบเทียบต้นทุนทั้ง 3 แหล่งเรียงตามลำดับจากต้นทุนต่ำสุดไปหาสูงสุด ก็คือการขายสินค้าคงเหลือมีต้นทุนต่ำที่สุด หากสามารถขายได้ก็ยังเป็นลดต้นทุนการเก็บสินค้าคงเหลือ เนื่องจากประหยัดพื้นที่และการดูแลรักษา รวมทั้งได้ตรวจสอบสินค้าคงเหลือในเวลาเดียวกันว่าตรงกับการบันทึกบัญชีหรือไม่
ส่วนการกู้ยืมเงินจากธนาคารยังคงมีประโยชน์ในแง่ของการนำดอกเบี้ยจ่ายมาประหยัดภาษี และหากสามารถจ่ายคืนหนี้ได้ตามกำหนดจะเป็นการสร้างเครดิตให้แก่ผู้บริหารและกิจการ ซึ่งนำไปสู่การได้รับอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำลงในอนาคต
สุดท้ายการขายหุ้นเพิ่มทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขายหุ้นเพิ่มทุนจะส่งผลให้ผู้ถือหุ้นเดิมเสียสัดส่วนการถือครองหุ้นด้วย หากผู้ถือหุ้นเดิมตัดสินใจไม่ซื้อหุ้นเพิ่มทุน
ตัวอย่างเช่น นาย ก ถึงครองหุ้น 50 ล้านหุ้น นาย ข ถึอครองหุ้น 50 ล้านหุ้น พบว่านาย กและข ถือหุ้นฝ่ายละ 50% (50 x 100% / 100) ต่อมามีการขายหุ้นเพิ่มทุนจำนวน 100 หุ้น ให้แก่นาย กและข โดยนาย ก ซื้อหุ้นเพิ่มทุนทั้งจำนวนคือ 50 ล้านหุ้น แต่นาย ข ไม่ซื้อหุ้นเพิ่มทุน จึงส่งผลให้นาย ก มีหุ้นทั้งหมดเป็น 100 ล้านหุ้น ส่วนนาย ข มีหุ้นเท่าเดิมคือ 50 ล้านหุ้น สิ่งที่ตามมาคือ นาย ก มีสัดส่วนการถือครองหุ้นเพิ่มขึ้นจาก 50% เป็น 66.66% (100 x 100% / 150) ส่วนนาย ข มีสัดส่วนการถือครองหุ้นลดลงจาก 50% เหลือ 33.33% (50 x 100% / 150)
นอกจากนี้ในอนาคต หากกิจการมีการจ่ายเงินปันผลจะส่งผลให้นาย ก ได้รับเงินปันผลมากกว่า นาย ข เพราะสัดส่วนการถือครองหุ้นนาย ก มากกว่า นายข และนาย ก ก็ยังมีอำนาจในการควบคุมกิจการมากกว่านาย ข อีกด้วย
เจ้าสัวถามผมต่อว่าอยากจะขายหุ้นเพิ่มทุนหรือเปล่าล่ะ แกพร้อมที่จะซื้อหุ้นเพิ่มทุนเสมอ ผมนึกในใจว่าผมไม่มีกำลังจะซื้อหุ้นเพิ่มทุน ดังนั้นการตกลงธุรกิจครั้งนี้ผมมีแต่เสียเปรียบ ผมคงต้องกลับไปดูว่าสินค้าคงเหลือของบริษัทก่อนตัดสินใจอะไรลงไป…
ผมจึงได้เข้าไปหารือกับเจ้าสัวซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทว่าจะดำเนินการอย่างไรกับสภาพคล่องของกิจการ เจ้าสัวจึงได้ให้ข้อเสนอแนะดังนี้
การหาเงินเข้าสู่กิจการคือ 1) การกู้ยืมเงินจากธนาคาร ซึ่งมีต้นทุนทางการเงินแก่กิจการ ก็คือดอกเบี้ยจ่าย 2) การเพิ่มทุนจากผู้ถือหุ้น ซึ่งมีต้นทุนทางการเงินแก่กิจการ ก็คือเงินปันผลแก่ผู้ถือหุ้น 3) การบริหารทรัพย์สินของกิจการ เช่น การเก็บหนี้ให้เร็วขึ้นโดยการให้ส่วนลด การขายสินค้าคงเหลือในราคาส่วนลด เป็นต้น ซึ่งกรณีนี้ไม่มีต้นทุนทางการเงินที่เพิ่มขึ้น
หากเปรียบเทียบต้นทุนทั้ง 3 แหล่งเรียงตามลำดับจากต้นทุนต่ำสุดไปหาสูงสุด ก็คือการขายสินค้าคงเหลือมีต้นทุนต่ำที่สุด หากสามารถขายได้ก็ยังเป็นลดต้นทุนการเก็บสินค้าคงเหลือ เนื่องจากประหยัดพื้นที่และการดูแลรักษา รวมทั้งได้ตรวจสอบสินค้าคงเหลือในเวลาเดียวกันว่าตรงกับการบันทึกบัญชีหรือไม่
ส่วนการกู้ยืมเงินจากธนาคารยังคงมีประโยชน์ในแง่ของการนำดอกเบี้ยจ่ายมาประหยัดภาษี และหากสามารถจ่ายคืนหนี้ได้ตามกำหนดจะเป็นการสร้างเครดิตให้แก่ผู้บริหารและกิจการ ซึ่งนำไปสู่การได้รับอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำลงในอนาคต
สุดท้ายการขายหุ้นเพิ่มทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขายหุ้นเพิ่มทุนจะส่งผลให้ผู้ถือหุ้นเดิมเสียสัดส่วนการถือครองหุ้นด้วย หากผู้ถือหุ้นเดิมตัดสินใจไม่ซื้อหุ้นเพิ่มทุน
ตัวอย่างเช่น นาย ก ถึงครองหุ้น 50 ล้านหุ้น นาย ข ถึอครองหุ้น 50 ล้านหุ้น พบว่านาย กและข ถือหุ้นฝ่ายละ 50% (50 x 100% / 100) ต่อมามีการขายหุ้นเพิ่มทุนจำนวน 100 หุ้น ให้แก่นาย กและข โดยนาย ก ซื้อหุ้นเพิ่มทุนทั้งจำนวนคือ 50 ล้านหุ้น แต่นาย ข ไม่ซื้อหุ้นเพิ่มทุน จึงส่งผลให้นาย ก มีหุ้นทั้งหมดเป็น 100 ล้านหุ้น ส่วนนาย ข มีหุ้นเท่าเดิมคือ 50 ล้านหุ้น สิ่งที่ตามมาคือ นาย ก มีสัดส่วนการถือครองหุ้นเพิ่มขึ้นจาก 50% เป็น 66.66% (100 x 100% / 150) ส่วนนาย ข มีสัดส่วนการถือครองหุ้นลดลงจาก 50% เหลือ 33.33% (50 x 100% / 150)
นอกจากนี้ในอนาคต หากกิจการมีการจ่ายเงินปันผลจะส่งผลให้นาย ก ได้รับเงินปันผลมากกว่า นาย ข เพราะสัดส่วนการถือครองหุ้นนาย ก มากกว่า นายข และนาย ก ก็ยังมีอำนาจในการควบคุมกิจการมากกว่านาย ข อีกด้วย
เจ้าสัวถามผมต่อว่าอยากจะขายหุ้นเพิ่มทุนหรือเปล่าล่ะ แกพร้อมที่จะซื้อหุ้นเพิ่มทุนเสมอ ผมนึกในใจว่าผมไม่มีกำลังจะซื้อหุ้นเพิ่มทุน ดังนั้นการตกลงธุรกิจครั้งนี้ผมมีแต่เสียเปรียบ ผมคงต้องกลับไปดูว่าสินค้าคงเหลือของบริษัทก่อนตัดสินใจอะไรลงไป…
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น