วันที่ได้เข้าไปสวัสดีปีใหม่ล่วงหน้าประจำปี 2557 กับเจ้าสัวที่คอยให้เป็นทั้งนายทุน เจ้าหนี้ หุ้นส่วนธุรกิจ และที่ปรึกษา ให้กับผม แกเลยถือโอกาสให้พรพร้อมทั้งสอนธรรมดังนี้
มนุษย์และสัตว์ทุกตัวในโลกนี้ ล้วนแต่แสวงหาความสุขเหมือนกันทั้งหมด แต่ที่แตกต่างกัน คือ พระพุทธเจ้าท่านทรงค้นหาวิธีแสวงหาความสุขที่เป็นนิรันดร์ ท่านจึงพบว่าอริยสัจ 4 อันประกอบด้วย ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เป็นทางพ้นทุกข์ที่แท้จริงทำให้ใจไม่กลับไปทุกข์อีก คือ มีใจอยู่แต่ความทุกข์เข้าไม่ถึงใจ
การปฎิบัติเริ่มต้นจากการรู้ทุกข์ ซึ่งการจะรู้ทุกข์ได้นั้น ต้องอาศัยสติเป็นเครื่องรู้ แล้วใช้สติเข้าไปรู้ทุกข์ที่ปรากฎในกายใจของตนเอง เมื่อมีสติรู้บ่อยๆย่อมจะพบว่าสิ่งต่างๆที่ปรากฎในกายใจ มีลักษณะเป็นไตรลักษณ์ ประกอบด้วย อนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา เหมือนกันทั้งหมด ไม่มีสิ่งใดที่ไม่เป็นไตรลักษณ์
(อนิจจัง คือ ความไม่เที่ยง ทุกขัง คือ ความแปรปรวน และอนัตตา คือ ความไม่มีตัวตน)
เมื่อใจได้เรียนรู้กายและใจว่าเป็นไตรลักษณ์แบบเต็มที่แล้ว ใจจะเกิดความเบื่อหน่ายต่อกายและใจ อันนำไปสู่ความเข้าใจแบบรวบยอดว่า กายและใจไม่ใช่เรา ซึ่งข้อสรุปนี้เป็นการทำลายความเห็นผิดมาตลอดว่ากายและใจเป็นเรา
หลังจากความเห็นผิดถูกทำลายแล้ว จิตใจจะได้พบสัมผัสความสุขที่เป็นนิรันดร์ครั้งแรกในการมีชีวิต ซึ่งความสุขนี้ ภาษาที่เข้าใจโดยทั่วไปสำหรับชาวพุทธ ก็คือ นิพพาน และจากนี้ต่อไปความเห็นผิดนี้จะไม่สามารถคงอยู่ในจิตใจนี้อีกต่อไป
แววตาของผมคงแสดงความสงสัยต่อว่า แล้วสมุทัย นิโรธ และมรรค ใช้ในการปฏิบัติช่วงไหน แกตอบกลับเหมือว่าอ่านใจผมได้ "เมื่อรู้ทุกข์แล้ว จะทำให้ละสมุทัย ซึ่งก็คือ ละกิเลส แล้วแจ้งนิโรธ ซึ่งก็คือ เห็นนิพพาน และเจริญมรรคแล้ว ซึ่งก็คือ ปฎิบัติทางพ้นทุกข์ นั่นหมายความว่า เพียงแค่รู้ทุกข์อย่างถูกต้อง แล้ว สมุทัย นิโรธ และมรรค จะเกิดขึ้นอย่างอัตโนมัติ"
จากการได้ฟังธรรมจากเจ้าสัว มันทำให้จิตใจของผมสงบเยือกเย็นอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน เสมือนว่าตลอดชีวิตที่ผ่านมาผมรอคอยสิ่งนี้มานานแสนนาน เสมือนชีวิตใหม่อีกด้านหนึ่งได้ถือกำเนิดแล้วในวันปีใหม่นี้
มนุษย์และสัตว์ทุกตัวในโลกนี้ ล้วนแต่แสวงหาความสุขเหมือนกันทั้งหมด แต่ที่แตกต่างกัน คือ พระพุทธเจ้าท่านทรงค้นหาวิธีแสวงหาความสุขที่เป็นนิรันดร์ ท่านจึงพบว่าอริยสัจ 4 อันประกอบด้วย ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เป็นทางพ้นทุกข์ที่แท้จริงทำให้ใจไม่กลับไปทุกข์อีก คือ มีใจอยู่แต่ความทุกข์เข้าไม่ถึงใจ
การปฎิบัติเริ่มต้นจากการรู้ทุกข์ ซึ่งการจะรู้ทุกข์ได้นั้น ต้องอาศัยสติเป็นเครื่องรู้ แล้วใช้สติเข้าไปรู้ทุกข์ที่ปรากฎในกายใจของตนเอง เมื่อมีสติรู้บ่อยๆย่อมจะพบว่าสิ่งต่างๆที่ปรากฎในกายใจ มีลักษณะเป็นไตรลักษณ์ ประกอบด้วย อนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา เหมือนกันทั้งหมด ไม่มีสิ่งใดที่ไม่เป็นไตรลักษณ์
(อนิจจัง คือ ความไม่เที่ยง ทุกขัง คือ ความแปรปรวน และอนัตตา คือ ความไม่มีตัวตน)
เมื่อใจได้เรียนรู้กายและใจว่าเป็นไตรลักษณ์แบบเต็มที่แล้ว ใจจะเกิดความเบื่อหน่ายต่อกายและใจ อันนำไปสู่ความเข้าใจแบบรวบยอดว่า กายและใจไม่ใช่เรา ซึ่งข้อสรุปนี้เป็นการทำลายความเห็นผิดมาตลอดว่ากายและใจเป็นเรา
หลังจากความเห็นผิดถูกทำลายแล้ว จิตใจจะได้พบสัมผัสความสุขที่เป็นนิรันดร์ครั้งแรกในการมีชีวิต ซึ่งความสุขนี้ ภาษาที่เข้าใจโดยทั่วไปสำหรับชาวพุทธ ก็คือ นิพพาน และจากนี้ต่อไปความเห็นผิดนี้จะไม่สามารถคงอยู่ในจิตใจนี้อีกต่อไป
แววตาของผมคงแสดงความสงสัยต่อว่า แล้วสมุทัย นิโรธ และมรรค ใช้ในการปฏิบัติช่วงไหน แกตอบกลับเหมือว่าอ่านใจผมได้ "เมื่อรู้ทุกข์แล้ว จะทำให้ละสมุทัย ซึ่งก็คือ ละกิเลส แล้วแจ้งนิโรธ ซึ่งก็คือ เห็นนิพพาน และเจริญมรรคแล้ว ซึ่งก็คือ ปฎิบัติทางพ้นทุกข์ นั่นหมายความว่า เพียงแค่รู้ทุกข์อย่างถูกต้อง แล้ว สมุทัย นิโรธ และมรรค จะเกิดขึ้นอย่างอัตโนมัติ"
จากการได้ฟังธรรมจากเจ้าสัว มันทำให้จิตใจของผมสงบเยือกเย็นอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน เสมือนว่าตลอดชีวิตที่ผ่านมาผมรอคอยสิ่งนี้มานานแสนนาน เสมือนชีวิตใหม่อีกด้านหนึ่งได้ถือกำเนิดแล้วในวันปีใหม่นี้
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น