ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เจ้าสัว...แผนฟื้นฟูกิจการ ตอนที่ 2

หลังจากเวียนเทียนที่วัดเสร็จ ผมก็ได้แยกกับเจ้าสัวและมาถึงที่บ้านประมาณ 3 ทุ่มเศษ ใจผมยังคงสงบเยือกเย็นปรากฎให้เห็นอยู่ ผมจึงได้ตัดสินใจนั่งสมาธิโดยตั้งใจว่าจะนั่งสมาธิประมาณครึ่งชั่วโมง เพราะวันนี้เป็นวันพระใหญ่ ซึ่งผมไม่เคยนั่งสมาธิเลยนับตั้งแต่สึกจากการบวชพระมาเป็นเวลาเกือบ 10 ปี

ในระหว่างที่จิตจะรวมเป็นสมาธิ ผมเกิดนิมิตเห็นภาพของกิจการค้าปลีกเครือข่ายที่เฮียฝากไว้ มีการขยายสาขาออกไปทั่วประเทศไทย ทั้งที่ในปัจจุบันมีเฉพาะในเมืองหลวงเท่านั้น และภาพนิมิตนั้นเปลี่ยนไปเป็นกิจการนี้กำลังเข้าไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และผู้บริหารบริษัททุกคนรวมทั้งเฮียและผมกำลังลุ้นอยู่ว่าราคาเปิดจะวิ่งเกินราคาจอง (IPO) หรือไม่

ผมลืมตาขึ้นมองที่นาฬิกา ขณะนี้เกือบเที่ยงคืน กลายเป็นว่าได้นั่งสมาธิไป 2 ชั่วโมงกว่า ผมลุกขึ้นและเดินไปที่โต๊ะทำงานลงมือเขียนแนวทางในการแก้ปัญหากิจการดังมีรายละเอียดต่อไปนี้

แนวทางแก้ปัญหา (Possible Solutions)

ด้านการตลาด
  • วางกลยุทธ์ทางการตลาดใหม่ (Marketing Strategy)
  • วางแผนทางการตลาดใหม่ (Marketing Plan)
  • สื่อสารกลยุทธ์และแผนการตลาดใหม่ให้แก่ผู้จัดการฝ่ายการตลาดและฝ่ายขาย
  • กำหนดผลตอบแทนของผู้จัดการฝ่ายการตลาดและฝ่ายขายให้เชื่อมโยงกัน
ด้านสินค้าและส่งมอบสินค้า
  • สร้างฝ่ายออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตนเอง
  • จัดทำรายงานการขายแยกเป็นสินค้าขายเร็วและสินค้าล้าสมัย
  • ขายลดสินค้าสมัยทั้งหมดแบบ Grand Sales ให้หมดในครั้งเดียว
  • จัดจ้างบริษัทภายนอก (Outsourcing) เป็นผู้กระจายสินค้าเพื่อแก้ปัญหาระบบกระจายสินค้า
 ด้านบุคลากร
  • สร้างศูนย์อบรมและพัฒนาบุคลากร (Training & Learning Centre)
  • กำหนดตัวชี้วัด (KPIs) เพื่อประเมินผลการทำงาน และเชื่อมโยงกับค่าตอบแทนพนักงาน
  • ปรับโครงสร้างองค์กรใหม่ (Restructure) เพื่อละลายพฤติกรรมการเมืองในองค์กร
  • สร้างวัฒนธรรมร่วม (Core Value) การเป็นองค์กรคุณภาพระดับมาตรฐานสากล
 ด้านการเงิน
  • ปิดสาขาที่ไม่สามารถขายได้ถึงจุดคุ้มทุนขาย (Break-Even Point of Sales)
  • ตามเก็บหนึ้การค้าให้เร็วขึ้นโดยให้ส่วนลด
  • ขายลดราคาสินค้าคงเหลือให้มากที่สุด
  • ต่อรองกับเจ้าหนี้การค้าเพื่อขอยืดระยะเวลาการชำระหนี้
  • ต่อรองกับเจ้าหนี้ธนาคารเพื่อขอยืดระยะเวลาการชำระหนี้เงินกู้หมุนเวียน
  • ต่อรองกับเจ้าหนี้ธนาคารเพื่อขอปรับเงินกู้หมุนเวียนเป็นเงินกู้ระยะยาว
  • ขายหุ้นเพิ่มทุนให้กับผู้ถือหุ้นรายเดิม หรือ รายใหม่

ขณะนี้เวลาเกือบตีสาม....เสียงหมาหอนส่งต่อกันมาเป็นระยะๆ ตั้งแต่ปากซอยจนท้ายซอยเหมือนกับพวกมันเห็นบางสิ่งบางอย่าง ผมเดินไปริมหน้าต่างแล้วมองออกไปที่ถนนท่ามกลางแสงไฟสลัวๆ...

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

กระบวนการลงทุนแนว VI

ควรมีทุนจดทะเบียนและชำระแล้วเท่าไหร่ดี

ถาม : ดิฉันกำลังคิดจะทำธุรกิจ อยากทราบว่าควรมีทุนจดทะเบียนและชำระแล้วเท่าไหร่ดีค่ะ ตอบ : คุณต้องประมาณเงินลงทุนทั้งหมด โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้ (1) ประมาณการเงินลงทุนสินทรัพย์ถาวร (2) ประมาณการเงินหมุนเวียนสุทธิ (Net Working Capital)  หลังจากนั้นคุณก็นำรายการที่ (1) บวกกับรายการที่ (2) แล้ว ผลรวมที่ได้คือ เงินลงทุนทั้งหมด ในกรณีที่คุณไม่ต้องการกู้เงิน เงินลงทุนทั้งหมดจะเป็นทุนที่ชำระแล้ว ตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์กำหนดไว้ว่า ผู้ถือหุ้นต้องชำระค่าหุ้นขั้นต่ำ 25% ของทุนจดทะเบียน ยกตัวอย่างเช่น หากคุณจดทะเบียน 1.0 ล้านบาท คุณต้องชำระค่าหุ้นขั้นต่ำ 250,000 บาท ส่วนที่เหลืออีก 75% ถือว่าเป็นภาระผูกพันของผู้ถือหุ้นที่มีต่อบริษัท ดังนั้นในกรณีที่บริษัทดำเนินธุรกิจจนเจ๊ง เจ้าหนี้สามารถใช้สิทธิบังคับให้ผู้ถือหุ้นชำระค่าหุ้นคงเหลืออีก 75% ซึ่งหมายความว่า หุ้นที่ชำระไม่ครบ 75% มีสถานะเป็นหนี้ของผู้ถือหุ้นนั่นเอง ตัวอย่าง การประมาณงินลงทุน เช่น บริษัท ABCD จำกัด มีสมมติฐานว่าปีหน้าจะมียอดขายประมาณ 10 ล้านบาท ต้นทุนขายประมาณ 7.5 ล้านบาท และงบประมาณการลงทุนในสินทรัพย์ถาวร...

ช่วงเวลาในการซื้อขายหุ้น (Investment Timing)

ราคาหุ้นในตลาดหุ้น (Market Price) ถูกกำหนดมาจากปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก โดยมีรายละเอียดดังนี้ ปัจจัยภายนอก (External Factor) คือ ปัจจัยที่ไม่ได้มาจากกิจการโดยตรงซึ่งเป็นปัจจัยที่กิจการไม่สามารถควบคุมได้ เช่น กระแสเงินเงินทุนไหลออกและไหลเข้า (Fund Flow) วิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ การอัดฉีดเงินของธนาคารกลางของสหรัฐฯและยุโรป การลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ การปรับลดค่าเงินหยวน สงครามระหว่างประเทศและการก่อการร้ายในกลุ่มประเทศยุโรป จนถึง ตลาดหุ้นในสหรัฐอเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น และจีน ปรับตัวเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างรุนแรง การปรับลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล การปรับเพิ่มขึ้นหรือลดลงของราคาน้ำมัน การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ การเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมของธนาคาร การกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล การเปิดเสรีการค้าระหว่างประเทศ เป็นต้น ปัจจัยภายใน (Internal Factor) คือ ปัจจัยที่มาจากกิจการโดยตรง เช่น การขยายตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ การขยายไปสู่ธุรกิจใหม่ การขายหุ้นเพิ่มทุน การควบรวมกิจการ การซื้อและขายกิจการ การเพิ่มอัตราการก่อหนี้ในกิจการ การปิดบริษัทย่อย...

ต้นทุนเงินทุน (WACC)

ต้นทุนเงินทุน (Cost of Capital) หรือ ที่นิยมเรียกกันโดยทั่วไป คือ WACC (Weighted Average Cost of Capital) หมายถึง ต้นทุนทางการเงินเฉลี่ยของเงินทุน  มีประโยชน์เพื่อใช้ในการตัดสินใจว่าควรลงทุนหรือไม่ควรลงทุนในโครงการใดบ้างของบริษัท เช่น คุ้มค่าหรือไม่ที่จะลงทุนในโครงการใหม่ของบริษัท เป็นต้น อีกทั้ง WACC นี้ยังสามารถใช้ในการคำนวณหามูลค่าของกิจการ (Enterprise Value) และมูลค่าที่แท้จริงของหุ้น (Intrinsic Value of Stock) ได้อีกด้วย WACC ประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก 2 ประเภท คือ :- ประเภทที่ 1 ต้นทุนจากการเงินกู้ยืม หรือ ที่เข้าใจโดยทั่วไป คือ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืม (kd)   ประเภทที่ 2 ต้นทุนจากเงินทุนของผู้ถือหุ้น  หรือ ที่เข้าใจโดยทั่วไป คือ อัตราผลตอบแทนจากเงินปันผล (ke) เพื่อความง่ายในการทำความเข้าใจ WACC ขอยกตัวอย่างประกอบดังนี้ บริษัท A มีเงินทุนประกอบด้วย เงินกู้จากเจ้าหนี้ที่มีดอกเบี้ย 100 ล้านบาท และเงินทุนจากผู้ถือหุ้น 100 ล้านบาท ดังนั้นเงินทุนทั้งหมดของกิจการ A คือ เงินกู้จากเจ้าหนี้ฯ + เงินทุนจากผู้ถือหุ้น = 100 + 100 ล้านบาท เท่ากับ 200 ล...

ควรตั้งเป้ายอดขายขั้นต่ำเท่าไหร่

ถาม : ตอนนี้ผมทำธุรกิจส่วนตัว และต้องการตั้งเป้าหมายการขายให้กับฝ่ายขาย อาจารย์พอจะมีวิธีที่ใช้ประมาณการขายหรือเปล่าครับ ตอบ : การตั้งเป้าหมายในการขายให้กับฝ่ายขาย เราสามารถคำนวณหาได้จากจุดคุ้มทุนขาย (Break-Even point of Sales) คือ ยอดขายที่ทำไม่มีผลกำไรสุทธิและขาดทุนสุทธิ หรือ ยอดขายที่พอดีกับค่าใช้จ่ายของกิจการ หรืออีกนัยหนึ่ง คือยอดขายขั้นต่ำที่ต้องให้กับฝ่ายขาย โดยมีสูตรดังนี้                                              จุดคุ้มทุนขาย  =   ค่าใช้จ่ายคงที่                                                  ...