จากบทความก่อนหน้านี้ที่กล่าวว่า “เมื่อราคาหุ้นลดลงจะทำให้อัตราผลตอบแทนเงินปันผลเพิ่มขึ้น จนในที่สุดราคาหุ้นจะไม่ลดลงอีกเพราะนักลงทุนจะรู้สึกว่าได้รับอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลสูงมากจึงเริ่มมีแรงซื้อมากกว่าแรกขาย ตรงจุดนั้นจึงเป็นจุดต่ำสุด หรือใกล้เคียงกับจุดต่ำสุด”
กล่าวเพิ่มเติมได้ว่าเมื่อราคาหุ้นตกลงมากความเสี่ยงจะลดลง แต่ผลตอบแทนจากการลงทุนเพิ่มขึ้น ซึ่งตลาดหุ้นจะปรับไปสู่สมดุลในเวลาต่อมาคือ ความเสี่ยงเพิ่มขึ้น แต่ผลตอบแทนจากการลงทุนลดลง โดยสามารถอธิบายเป็นวัฏจักรได้ดังนี้
ขั้นที่ 1 ราคาหุ้นและตลาดหุ้นมีความสมเหตุผลพอสมควร คือ ราคาหุ้น (P) เท่ากับ 12 บาท และกำไรสุทธิต่อหุ้น (EPS) เท่ากับ 1 บาท ดังนั้น P/E = 12 เท่า (12/1) และจ่ายเงินปันผลต่อหุ้น (DPS) เท่ากับ 0.5 บาท ดังนั้น Dividend Yield เท่ากับ 4.2% (0.5x100%/12)
กล่าวคือ ความเสี่ยงปรกติ และอัตราผลตอบแทนเท่ากับ 4.2% ต่อปี
ขั้นที่ 2 ราคาหุ้นและตลาดหุ้นตื่นตระหนกแบบขาดเหตุผลจากข่าวร้ายต่างๆทั้งในประเทศและต่างประเทศ ส่งผลให้ราคาหุ้น (P) ลดลงจาก 12 บาท เหลือ 6 บาท หรือลดลง 50% แต่กำไรสุทธิต่อหุ้นเท่าเดิม 1 บาท ดังนั้น P/E = 6 เท่า (6/1) และจ่ายเงินปันผลต่อหุ้น (DPS) เท่ากับ 0.5 บาท ดังนั้น Dividend Yield เท่ากับ 8.3% (0.5x100%/6)
กล่าวคือ ความเสี่ยงลดลงเพราะกำไรสุทธิและเงินปันผลเหมือนเดิมแต่ราคาหุ้นกลับลดลงไม่สอดคล้องกับพื้นฐานหุ้น ในขณะที่อัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้นจาก 4.2% เป็น 8.3% ต่อปี
ขั้นที่ 3 ราคาหุ้นและตลาดหุ้นปรับตัวเพิ่มขึ้นเพราะหายตกใจจากข่าวร้ายต่างๆ ส่งผลให้ราคาหุ้นกลับไปเท่ากับขั้นตอนที่ 1
กล่าวคือ ตลาดหุ้นปรับสมดุล คือกลับไปที่ความเสี่ยงปรกติ และอัตราผลตอบแทนตามปรกติ นั่นหมายถึงตลาดหุ้นกลับมีเหตุผลอีกครั้งหนึ่ง
สรุปได้ว่า นักลงทุนที่ประสบความสำเร็จต้องมีเหตุผลในขณะที่ตลาดหุ้นไร้เหตุผล เพราะเขาจะลงทุนในขั้นตอนที่ 2 และทำกำไรในขั้นตอนที่ 3 แม้ว่าตลาดหุ้นจะไม่มีเหตุผลไปอีกนาน เขายังคงได้ประโยชน์จากอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลที่ยอดเยี่ยมอยู่ดี เปรียบเหมือนยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัว นกตัวที่หนึ่ง คือ เงินปันผล (Dividend Yield) และนักตัวที่สอง คือ กำไรจากราคาหุ้น (Capital Gain)
กล่าวเพิ่มเติมได้ว่าเมื่อราคาหุ้นตกลงมากความเสี่ยงจะลดลง แต่ผลตอบแทนจากการลงทุนเพิ่มขึ้น ซึ่งตลาดหุ้นจะปรับไปสู่สมดุลในเวลาต่อมาคือ ความเสี่ยงเพิ่มขึ้น แต่ผลตอบแทนจากการลงทุนลดลง โดยสามารถอธิบายเป็นวัฏจักรได้ดังนี้
ขั้นที่ 1 ราคาหุ้นและตลาดหุ้นมีความสมเหตุผลพอสมควร คือ ราคาหุ้น (P) เท่ากับ 12 บาท และกำไรสุทธิต่อหุ้น (EPS) เท่ากับ 1 บาท ดังนั้น P/E = 12 เท่า (12/1) และจ่ายเงินปันผลต่อหุ้น (DPS) เท่ากับ 0.5 บาท ดังนั้น Dividend Yield เท่ากับ 4.2% (0.5x100%/12)
กล่าวคือ ความเสี่ยงปรกติ และอัตราผลตอบแทนเท่ากับ 4.2% ต่อปี
ขั้นที่ 2 ราคาหุ้นและตลาดหุ้นตื่นตระหนกแบบขาดเหตุผลจากข่าวร้ายต่างๆทั้งในประเทศและต่างประเทศ ส่งผลให้ราคาหุ้น (P) ลดลงจาก 12 บาท เหลือ 6 บาท หรือลดลง 50% แต่กำไรสุทธิต่อหุ้นเท่าเดิม 1 บาท ดังนั้น P/E = 6 เท่า (6/1) และจ่ายเงินปันผลต่อหุ้น (DPS) เท่ากับ 0.5 บาท ดังนั้น Dividend Yield เท่ากับ 8.3% (0.5x100%/6)
กล่าวคือ ความเสี่ยงลดลงเพราะกำไรสุทธิและเงินปันผลเหมือนเดิมแต่ราคาหุ้นกลับลดลงไม่สอดคล้องกับพื้นฐานหุ้น ในขณะที่อัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้นจาก 4.2% เป็น 8.3% ต่อปี
ขั้นที่ 3 ราคาหุ้นและตลาดหุ้นปรับตัวเพิ่มขึ้นเพราะหายตกใจจากข่าวร้ายต่างๆ ส่งผลให้ราคาหุ้นกลับไปเท่ากับขั้นตอนที่ 1
กล่าวคือ ตลาดหุ้นปรับสมดุล คือกลับไปที่ความเสี่ยงปรกติ และอัตราผลตอบแทนตามปรกติ นั่นหมายถึงตลาดหุ้นกลับมีเหตุผลอีกครั้งหนึ่ง
สรุปได้ว่า นักลงทุนที่ประสบความสำเร็จต้องมีเหตุผลในขณะที่ตลาดหุ้นไร้เหตุผล เพราะเขาจะลงทุนในขั้นตอนที่ 2 และทำกำไรในขั้นตอนที่ 3 แม้ว่าตลาดหุ้นจะไม่มีเหตุผลไปอีกนาน เขายังคงได้ประโยชน์จากอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลที่ยอดเยี่ยมอยู่ดี เปรียบเหมือนยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัว นกตัวที่หนึ่ง คือ เงินปันผล (Dividend Yield) และนักตัวที่สอง คือ กำไรจากราคาหุ้น (Capital Gain)
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น