ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

P/E สูง ควรลงทุน ? ตอนที่ 2

ลูกศิษย์ : คำถามครั้งก่อนที่ถามอาจารย์ไว้ว่า ผมจะรู้ได้อย่างไรว่าหุ้น P/E สูง ที่ผมสนใจเป็นหุ้นกลุ่มไหนจาก 3 กลุ่ม  คือ หุ้นกลุ่มฟื้นตัว (Turn Around Stocks) หุ้นกลุ่มเติบโตสูง (Hyper Growth Stocks) และหุ้นกลุ่มเก็งกำไร (Speculative Stocks)

อาจารย์ : ตกลงคุณไปทำบุญมาหรือยัง

ลูกศิษย์อ้ำอึ้งไม่ยอมตอบ เพราะไม่เชื่อว่าทำบุญแล้วจะทำให้รวย แต่ก็พยักหน้าสื่อว่าได้ทำบุญมาแล้วครับ

อาจารย์ : ถ้าคุณจะดูว่าเป็นหุ้นกลุ่มไหน วิธีง่ายๆ คือ ให้กลับไปดูงบการเงินย้อนหลังของบริษัทฯ

ลูกศิษย์ : ดูอย่างไงครับ ช่วยอธิบายเพิ่มเติมได้ไหมครับ

อาจารย์ : งบการเงินย้อนหลัง หมายถึงงบการเงินที่ผ่านมา จะประกอบด้วย งบกำไรขาดทุน งบแสดงฐานะการเงิน และงบกระแสเงินสด แต่ง่ายๆก่อน ให้ดูที่งบกำไรขาดทุน และงบแสดงฐานะการเงิน

งบกำไรขาดทุน จะแสดงรายการ รายได้ ค่าใช้จ่าย และกำไรสุทธิ (ขาดทุนสุทธิ)
 

งบแสดงฐานการเงิน จะแสดงรายการ สินทรัพย์ หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น


หาก 5 ปี ที่ผ่านมา รายได้และกำไรสุทธิ ลดลงอย่างต่อเนื่อง แสดงว่าอาจเป็นหุ้นกลุ่มฟื้นตัว หรือ หุ้นเก็งกำไร ก็ได้ แต่หากดูส่วนของผู้ถือหุ้นด้วย พบว่ามีขาดทุนสะสมอยู่เป็นจำนวนมาก ในขณะที่ราคาหุ้นที่ผ่านมามีการเปลี่ยนแปลงอย่างหวือหวา เช่น ราคาหุ้นเพิ่มขึ้นสลับกับลดลงกลับไปกลับมาอย่างรวดเร็ว สามารถฟันธงได้เลยว่าเป็นหุ้นเก็งกำไร

 
แต่หากดูส่วนของผู้ถือหุ้นพบว่าไม่มีการขาดทุนสะสม และราคาหุ้นปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องสอดคล้องกับกำไรสุทธิที่ลดลง อาจจะเป็นหุ้นกลุ่มฟื้นตัวก็ได้ หรืออาจะเป็นหุ้นที่กำลังจะเจ๊งก็ได้

ลูกศิษย์ : แล้วจะรู้ได้อย่างไงครับ ว่าจะหุ้นฟื้นตาย เฮ้ยไม่ใช่ ฟื้นตัว

อาจารย์ : ง่ายๆ ก็ดูได้จากว่า หนิ้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น หากมีหนี้สินน้อยมาก หรือ เท่ากับส่วนของผู้ถือหุ้น ก็มีความเป็นไปได้จะเป็นหุ้นฟื้นตัว อีกทั้งให้ดูว่ามีกำไรพอจ่ายดอกเบี้ยหรือไม่ หากมีกำไรเกินพอจ่ายดอกเบี้ยก็พอตอบได้ว่า น่าจะฟื้นตัวได้ในอนาคต

ในขณะที่หาก หนี้สินมากกว่าทุนเป็นจำนวนมาก และไม่มีกำไรพอจ่ายดอกเบี้ย ก็พอจะตอบได้ว่า น่าจะเจ๊งในอนาคต

สีหน้าของลูกศิษย์แสดงความกังวลอย่างเห็นได้ชัด อาจารย์จึงพูดต่อว่า “อะไรที่ผิดพลาดแล้วก็ให้แล้วกันไป ชีวิตนับหนึ่งได้ทุกวัน” อาจารย์พูดออกมาพร้อมถอนหายใจเฮือกใหญ่ เหมือนกับปรอบใจตนเองมากกว่าบอกลูกศิษย์

ลมเย็นๆพร้อมกับละอองฝนปลิวมาบอกถึงฤดูกาลใหม่ที่กำลังจะมาถึงในเร็วๆนี้…

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

กระบวนการลงทุนแนว VI

ควรมีทุนจดทะเบียนและชำระแล้วเท่าไหร่ดี

ถาม : ดิฉันกำลังคิดจะทำธุรกิจ อยากทราบว่าควรมีทุนจดทะเบียนและชำระแล้วเท่าไหร่ดีค่ะ ตอบ : คุณต้องประมาณเงินลงทุนทั้งหมด โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้ (1) ประมาณการเงินลงทุนสินทรัพย์ถาวร (2) ประมาณการเงินหมุนเวียนสุทธิ (Net Working Capital)  หลังจากนั้นคุณก็นำรายการที่ (1) บวกกับรายการที่ (2) แล้ว ผลรวมที่ได้คือ เงินลงทุนทั้งหมด ในกรณีที่คุณไม่ต้องการกู้เงิน เงินลงทุนทั้งหมดจะเป็นทุนที่ชำระแล้ว ตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์กำหนดไว้ว่า ผู้ถือหุ้นต้องชำระค่าหุ้นขั้นต่ำ 25% ของทุนจดทะเบียน ยกตัวอย่างเช่น หากคุณจดทะเบียน 1.0 ล้านบาท คุณต้องชำระค่าหุ้นขั้นต่ำ 250,000 บาท ส่วนที่เหลืออีก 75% ถือว่าเป็นภาระผูกพันของผู้ถือหุ้นที่มีต่อบริษัท ดังนั้นในกรณีที่บริษัทดำเนินธุรกิจจนเจ๊ง เจ้าหนี้สามารถใช้สิทธิบังคับให้ผู้ถือหุ้นชำระค่าหุ้นคงเหลืออีก 75% ซึ่งหมายความว่า หุ้นที่ชำระไม่ครบ 75% มีสถานะเป็นหนี้ของผู้ถือหุ้นนั่นเอง ตัวอย่าง การประมาณงินลงทุน เช่น บริษัท ABCD จำกัด มีสมมติฐานว่าปีหน้าจะมียอดขายประมาณ 10 ล้านบาท ต้นทุนขายประมาณ 7.5 ล้านบาท และงบประมาณการลงทุนในสินทรัพย์ถาวร...

ช่วงเวลาในการซื้อขายหุ้น (Investment Timing)

ราคาหุ้นในตลาดหุ้น (Market Price) ถูกกำหนดมาจากปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก โดยมีรายละเอียดดังนี้ ปัจจัยภายนอก (External Factor) คือ ปัจจัยที่ไม่ได้มาจากกิจการโดยตรงซึ่งเป็นปัจจัยที่กิจการไม่สามารถควบคุมได้ เช่น กระแสเงินเงินทุนไหลออกและไหลเข้า (Fund Flow) วิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ การอัดฉีดเงินของธนาคารกลางของสหรัฐฯและยุโรป การลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ การปรับลดค่าเงินหยวน สงครามระหว่างประเทศและการก่อการร้ายในกลุ่มประเทศยุโรป จนถึง ตลาดหุ้นในสหรัฐอเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น และจีน ปรับตัวเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างรุนแรง การปรับลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล การปรับเพิ่มขึ้นหรือลดลงของราคาน้ำมัน การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ การเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมของธนาคาร การกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล การเปิดเสรีการค้าระหว่างประเทศ เป็นต้น ปัจจัยภายใน (Internal Factor) คือ ปัจจัยที่มาจากกิจการโดยตรง เช่น การขยายตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ การขยายไปสู่ธุรกิจใหม่ การขายหุ้นเพิ่มทุน การควบรวมกิจการ การซื้อและขายกิจการ การเพิ่มอัตราการก่อหนี้ในกิจการ การปิดบริษัทย่อย...

ต้นทุนเงินทุน (WACC)

ต้นทุนเงินทุน (Cost of Capital) หรือ ที่นิยมเรียกกันโดยทั่วไป คือ WACC (Weighted Average Cost of Capital) หมายถึง ต้นทุนทางการเงินเฉลี่ยของเงินทุน  มีประโยชน์เพื่อใช้ในการตัดสินใจว่าควรลงทุนหรือไม่ควรลงทุนในโครงการใดบ้างของบริษัท เช่น คุ้มค่าหรือไม่ที่จะลงทุนในโครงการใหม่ของบริษัท เป็นต้น อีกทั้ง WACC นี้ยังสามารถใช้ในการคำนวณหามูลค่าของกิจการ (Enterprise Value) และมูลค่าที่แท้จริงของหุ้น (Intrinsic Value of Stock) ได้อีกด้วย WACC ประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก 2 ประเภท คือ :- ประเภทที่ 1 ต้นทุนจากการเงินกู้ยืม หรือ ที่เข้าใจโดยทั่วไป คือ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืม (kd)   ประเภทที่ 2 ต้นทุนจากเงินทุนของผู้ถือหุ้น  หรือ ที่เข้าใจโดยทั่วไป คือ อัตราผลตอบแทนจากเงินปันผล (ke) เพื่อความง่ายในการทำความเข้าใจ WACC ขอยกตัวอย่างประกอบดังนี้ บริษัท A มีเงินทุนประกอบด้วย เงินกู้จากเจ้าหนี้ที่มีดอกเบี้ย 100 ล้านบาท และเงินทุนจากผู้ถือหุ้น 100 ล้านบาท ดังนั้นเงินทุนทั้งหมดของกิจการ A คือ เงินกู้จากเจ้าหนี้ฯ + เงินทุนจากผู้ถือหุ้น = 100 + 100 ล้านบาท เท่ากับ 200 ล...

ควรตั้งเป้ายอดขายขั้นต่ำเท่าไหร่

ถาม : ตอนนี้ผมทำธุรกิจส่วนตัว และต้องการตั้งเป้าหมายการขายให้กับฝ่ายขาย อาจารย์พอจะมีวิธีที่ใช้ประมาณการขายหรือเปล่าครับ ตอบ : การตั้งเป้าหมายในการขายให้กับฝ่ายขาย เราสามารถคำนวณหาได้จากจุดคุ้มทุนขาย (Break-Even point of Sales) คือ ยอดขายที่ทำไม่มีผลกำไรสุทธิและขาดทุนสุทธิ หรือ ยอดขายที่พอดีกับค่าใช้จ่ายของกิจการ หรืออีกนัยหนึ่ง คือยอดขายขั้นต่ำที่ต้องให้กับฝ่ายขาย โดยมีสูตรดังนี้                                              จุดคุ้มทุนขาย  =   ค่าใช้จ่ายคงที่                                                  ...