ลูกศิษย์ : ผมได้อ่านหนังสือการเงินมาทุกเล่มเชียนเหมือนกันหมดเลยว่า “ความเสี่ยงสูง ผลตอบแทนต้องสูง (High Risk High Return)” จึงอยากถามอาจารย์ว่า มันมีหรือเปล่าครับที่ ความเสี่ยงต่ำ ผลตอบแทนต้องสูง (Low Risk High Return)
อาจารย์ : คุณชอบคำถามที่ตอบยาก ผมอยากเลิกเป็นอาจารย์คุณแล้ว เพราะคุณทำให้ผมเครียดนับตั้งแต่รู้จักกับคุณ ชีวิตผมมีแต่ต้องตอบคำถามที่คุณหาคำตอบไม่ได้
ลูกศิษย์ : ขอร้องเถอะครับ อย่าเลิกคบกับผมเลย เพราะไม่มีใครมาช่วยระบายความเครียดของผม เพราะชีวิตผมมีคำถามมากมายที่หาคำตอบไม่ได้
อาจารย์ : ตกลง ผมจะไม่เลิกคบกับคุณ เพราะถือว่าเรามีวาสนาต่อกัน เราคงเคยทำบุญทำกรรมร่วมกันมาก่อน แต่ชาตินี้ผมจะพยายามคิดว่าผมชดใช้กรรมกับคุณแล้วกัน เผื่อชาติหน้าจะไม่ต้องได้เจอะกันอีก
ลูกศิษย์ : ไม่เป็นไรครับ งั้นชาติหน้าค่อยว่ากันอีกที ตอนนี้ขอออาจารย์ตอบคำถามผมก่อนครับ
อาจารย์ : ความเสี่ยงต่ำ ผลตอบแทนสูง (High Risk High Return) นั้นจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อเหตุการณ์นั้นมันมีอารมณ์ความรู้สึกอยู่ในนั้น มันจึงเกิดอาการแบบไม่มีเหตุผล ซึ่งหนังสือการเงินก็เขียนถูกต้องที่ว่า “ความเสี่ยงสูง ผลตอบแทนต้องสูง” เพราะเขาเขียนภายใต้สมมติฐานว่าเหตุการณ์นั้นมีความสมเหตุสมผล
แต่ในโลกของความเป็นจริง เหตุการณ์ต่างๆนั้นมีอารมณ์ความรู้สึกอยู่ด้วยตลอดเวลา เพราะมันมีคนเกี่ยวข้องในเหตุการณ์เสมอ ตัวย่างที่ชัดเจน คือ การเล่นหุ้น จะพบว่าคนเป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดการซื้อขายหุ้น เมื่อไหร่ก็ตามที่คนส่วนใหญ่ในตลาดหุ้น กลัวสุดขีด จะเกิดการเทขายแบบไม่ลืมหูลืมตา เกิดสถานการณ์ “กูด้วย (Me Too)” โดยไม่คำนึงถึงว่า หุ้นที่เทขายนั้นราคาถูกเกินไป เนื่องจากอารมณ์ความรู้สึกกลัวได้ครอบงำความมีเหตุผลไปหมดแล้ว
ในทำนองกลับกัน เมื่อไหร่ก็ตามที่คนส่วนใหญ่ในตลาดหุ้น โลภสุดขีด จะเกิดการซื้อกันแบบไม่ลืมหูลืมตา เกิดสถานการณ์ “กูด้วย (Me Too)” เช่นกัน โดยไม่คำนึงถึงว่า หุ้นที่ซื้อนั้นราคาแพงเกินไป เนื่องจากอารมณ์ความรู้สึกโลภได้ครอบงำความมีเหตุผลไปหมดแล้ว
สถานการณ์ “กลัวสุดขีด” จะทำให้เกิด ความเสี่ยงต่ำ ผลตอบแทนต้องสูง (Low Risk High Return)
สถานการณ์ “โลภสุดขีด” จะทำให้เกิด ความเสี่ยงสูง ผลตอบแทนต้องต่ำ (High Risk Low Return)
จากทั้งสองสถานการณ์ พบว่า สถานการณ์ “กลัวสุดขีด” จะทำให้เราสามารถสร้างกำไรได้อย่างเป็นกอบเป็นกำ หรือ อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI) ได้อย่างในระดับที่สูง
ลูกศิษย์ : ก่อนอาจารย์จะอธิบายต่อ วันนี้ผมขอพอแค่นี้ก่อนนะครับ เพราะตอนนี้เกือบตี 4.30 แล้วครับ
อาจารย์พยักหน้ารับ แต่คิดในใจ “ไม่นอนวันเดียว ไม่ตายหรอก”….
อาจารย์ : คุณชอบคำถามที่ตอบยาก ผมอยากเลิกเป็นอาจารย์คุณแล้ว เพราะคุณทำให้ผมเครียดนับตั้งแต่รู้จักกับคุณ ชีวิตผมมีแต่ต้องตอบคำถามที่คุณหาคำตอบไม่ได้
ลูกศิษย์ : ขอร้องเถอะครับ อย่าเลิกคบกับผมเลย เพราะไม่มีใครมาช่วยระบายความเครียดของผม เพราะชีวิตผมมีคำถามมากมายที่หาคำตอบไม่ได้
อาจารย์ : ตกลง ผมจะไม่เลิกคบกับคุณ เพราะถือว่าเรามีวาสนาต่อกัน เราคงเคยทำบุญทำกรรมร่วมกันมาก่อน แต่ชาตินี้ผมจะพยายามคิดว่าผมชดใช้กรรมกับคุณแล้วกัน เผื่อชาติหน้าจะไม่ต้องได้เจอะกันอีก
ลูกศิษย์ : ไม่เป็นไรครับ งั้นชาติหน้าค่อยว่ากันอีกที ตอนนี้ขอออาจารย์ตอบคำถามผมก่อนครับ
อาจารย์ : ความเสี่ยงต่ำ ผลตอบแทนสูง (High Risk High Return) นั้นจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อเหตุการณ์นั้นมันมีอารมณ์ความรู้สึกอยู่ในนั้น มันจึงเกิดอาการแบบไม่มีเหตุผล ซึ่งหนังสือการเงินก็เขียนถูกต้องที่ว่า “ความเสี่ยงสูง ผลตอบแทนต้องสูง” เพราะเขาเขียนภายใต้สมมติฐานว่าเหตุการณ์นั้นมีความสมเหตุสมผล
แต่ในโลกของความเป็นจริง เหตุการณ์ต่างๆนั้นมีอารมณ์ความรู้สึกอยู่ด้วยตลอดเวลา เพราะมันมีคนเกี่ยวข้องในเหตุการณ์เสมอ ตัวย่างที่ชัดเจน คือ การเล่นหุ้น จะพบว่าคนเป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดการซื้อขายหุ้น เมื่อไหร่ก็ตามที่คนส่วนใหญ่ในตลาดหุ้น กลัวสุดขีด จะเกิดการเทขายแบบไม่ลืมหูลืมตา เกิดสถานการณ์ “กูด้วย (Me Too)” โดยไม่คำนึงถึงว่า หุ้นที่เทขายนั้นราคาถูกเกินไป เนื่องจากอารมณ์ความรู้สึกกลัวได้ครอบงำความมีเหตุผลไปหมดแล้ว
ในทำนองกลับกัน เมื่อไหร่ก็ตามที่คนส่วนใหญ่ในตลาดหุ้น โลภสุดขีด จะเกิดการซื้อกันแบบไม่ลืมหูลืมตา เกิดสถานการณ์ “กูด้วย (Me Too)” เช่นกัน โดยไม่คำนึงถึงว่า หุ้นที่ซื้อนั้นราคาแพงเกินไป เนื่องจากอารมณ์ความรู้สึกโลภได้ครอบงำความมีเหตุผลไปหมดแล้ว
สถานการณ์ “กลัวสุดขีด” จะทำให้เกิด ความเสี่ยงต่ำ ผลตอบแทนต้องสูง (Low Risk High Return)
สถานการณ์ “โลภสุดขีด” จะทำให้เกิด ความเสี่ยงสูง ผลตอบแทนต้องต่ำ (High Risk Low Return)
จากทั้งสองสถานการณ์ พบว่า สถานการณ์ “กลัวสุดขีด” จะทำให้เราสามารถสร้างกำไรได้อย่างเป็นกอบเป็นกำ หรือ อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI) ได้อย่างในระดับที่สูง
ลูกศิษย์ : ก่อนอาจารย์จะอธิบายต่อ วันนี้ผมขอพอแค่นี้ก่อนนะครับ เพราะตอนนี้เกือบตี 4.30 แล้วครับ
อาจารย์พยักหน้ารับ แต่คิดในใจ “ไม่นอนวันเดียว ไม่ตายหรอก”….
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น