ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

คู่มือหาเงินทำธุรกิจ

ขออนุญาตประชาสัมพันธ์
 
หนังสือ E Book "คู่มือ...หาเงินทำธุรกิจ"
   

สามารถดูรายละเอียดได้ที่
 

 
 
หนังสือเล่มนี้เป็นเรื่องราวที่ผู้เขียนต้องการถ่ายทอดให้ผู้อ่านได้เรียนรู้ชีวิตของผู้ชายคนหนึ่ง ซึ่งเขาดำเนินชีวิตเหมือนกับคนทั่วไปในสังคม เรียนจบมาก็เริ่มต้นจากทำงานเป็นลูกจ้างประจำในบริษัทยักษ์ใหญ่แห่งหนึ่ง มีความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน จนกระทั่งได้รับการส่งเสริมให้มีตำแหน่งเป็นผู้จัดการของบริษัทฯ และโชคชะตาก็ยังคงเป็นใจทำให้เขาได้พบรักกับแฟนสาว ที่สวย แถมยังฉลาดอีกด้วย เมื่อเขาเป็นคนสำคัญของบริษัท ใครๆก็ให้เกียรติและเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวาง เขาหลงระเริงกับสิ่งเหล่านี้ จนลืมเอาใจใส่ครอบครัวของเขาที่คอยมอบความรักให้เสมอมา
 
 แต่แล้วโชคชะตาก็พลิกผัน เมื่อเขาเริ่มสูญเสียสิ่งที่มีค่าไปทีละอย่างสองอย่าง มันสร้างความเจ็บปวดให้เขาเป็นอย่างมาก เขาจึงเริ่มหันกลับมามองตัวเอง และรู้ว่าสิ่งที่เขาลุ่มหลงอยู่นั้น แท้จริงเป็นเพียงเงาที่ปรากฎอยู่ในน้ำซึ่งจับต้องไม่ได้ และยังคงไม่เที่ยงเปลี่ยนแปลงไปตามแรงกระเพื่อมของน้ำอยู่ตลอดเวลา
 
เขาเริ่มเข้าใจความจริงของชีวิตที่ว่า สิ่งที่เห็นนั้นมันยังไม่จริง แต่สิ่งที่จริงเรายังไม่ได้เห็น นี่คือจุดเริ่มต้นของการเดินทางไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่กว่าครั้งไหนๆในชีวิตที่ผ่านมาของเขา โดยเขาต้องตัดสินใจทุกอย่างด้วยสติปัญญาของตนเท่านั้นจึงจะผ่านบททดสอบที่หฤโหดเหล่านี้ไปได้
 
บททดสอบที่ 1 เขาควรจะลาออกจากการเป็นผู้จัดการ และผันตัวเองมาเป็นผู้ประกอบการ ดีหรือเปล่า ?
 
บททดสอบที่ 2 เมื่อตัดสินใจที่จะเป็น “ผู้ประกอบการ” แล้ว ควรจะเลือกทำธุรกิจที่มีลักษณะอย่างไร ?
 
บททดสอบที่ 3 เงินลงทุนทำธุรกิจ เราควรจะกู้เงินธนาคาร หรือ ระดมทุนจากนายทุน วิธีไหนจะดีกว่ากัน ?
 
            บททดสอบที่ 4 หากตัดสินใจจะ “ระดมทุน” แล้ว เราต้องการเงินทุนจำนวนใด ?
 
บททดสอบที่ 5 มูลค่าหุ้นที่จะขายควรจะมีราคาเท่าไหร่ ?
 
บททดสอบที่ 6 มีวิธีโน้มน้าวนายทุนมาร่วมลงทุนได้อย่างไร ?

หากผู้อ่านมีคำถามเหล่านี้อยู่ในใจ และสามารถตอบคำถามได้ด้วยตนเองแล้ว ย่อมเป็นการพิสูจน์ได้ว่าท่านมีความรู้ทางด้านบริหารการเงินพร้อมแล้วที่จะเดินทางไปสู่การเป็นผู้ประกอบการที่มีแนวโน้มจะประสบความสำเร็จได้อย่างไม่ยากเย็นนัก
 
 
ผมหวังว่าหนังสือเล่มนี้จะเป็นแรงบันดาลใจให้ผู้อ่านได้กล้าตัดสินใจที่จะออกมาประกอบธุรกิจส่วนตัว เพื่อให้เมล็ดพันธุ์แห่งความเข้าใจชีวิตได้เติบโตอย่างสมบูรณ์เท่าที่จะเป็นได้ ดังคำกล่าวที่ว่า “มองโลกตามความเป็นจริง ย่อมดีกว่า มองโลกในแง่ดี”



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

กระบวนการลงทุนแนว VI

ควรมีทุนจดทะเบียนและชำระแล้วเท่าไหร่ดี

ถาม : ดิฉันกำลังคิดจะทำธุรกิจ อยากทราบว่าควรมีทุนจดทะเบียนและชำระแล้วเท่าไหร่ดีค่ะ ตอบ : คุณต้องประมาณเงินลงทุนทั้งหมด โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้ (1) ประมาณการเงินลงทุนสินทรัพย์ถาวร (2) ประมาณการเงินหมุนเวียนสุทธิ (Net Working Capital)  หลังจากนั้นคุณก็นำรายการที่ (1) บวกกับรายการที่ (2) แล้ว ผลรวมที่ได้คือ เงินลงทุนทั้งหมด ในกรณีที่คุณไม่ต้องการกู้เงิน เงินลงทุนทั้งหมดจะเป็นทุนที่ชำระแล้ว ตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์กำหนดไว้ว่า ผู้ถือหุ้นต้องชำระค่าหุ้นขั้นต่ำ 25% ของทุนจดทะเบียน ยกตัวอย่างเช่น หากคุณจดทะเบียน 1.0 ล้านบาท คุณต้องชำระค่าหุ้นขั้นต่ำ 250,000 บาท ส่วนที่เหลืออีก 75% ถือว่าเป็นภาระผูกพันของผู้ถือหุ้นที่มีต่อบริษัท ดังนั้นในกรณีที่บริษัทดำเนินธุรกิจจนเจ๊ง เจ้าหนี้สามารถใช้สิทธิบังคับให้ผู้ถือหุ้นชำระค่าหุ้นคงเหลืออีก 75% ซึ่งหมายความว่า หุ้นที่ชำระไม่ครบ 75% มีสถานะเป็นหนี้ของผู้ถือหุ้นนั่นเอง ตัวอย่าง การประมาณงินลงทุน เช่น บริษัท ABCD จำกัด มีสมมติฐานว่าปีหน้าจะมียอดขายประมาณ 10 ล้านบาท ต้นทุนขายประมาณ 7.5 ล้านบาท และงบประมาณการลงทุนในสินทรัพย์ถาวร...

ช่วงเวลาในการซื้อขายหุ้น (Investment Timing)

ราคาหุ้นในตลาดหุ้น (Market Price) ถูกกำหนดมาจากปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก โดยมีรายละเอียดดังนี้ ปัจจัยภายนอก (External Factor) คือ ปัจจัยที่ไม่ได้มาจากกิจการโดยตรงซึ่งเป็นปัจจัยที่กิจการไม่สามารถควบคุมได้ เช่น กระแสเงินเงินทุนไหลออกและไหลเข้า (Fund Flow) วิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ การอัดฉีดเงินของธนาคารกลางของสหรัฐฯและยุโรป การลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ การปรับลดค่าเงินหยวน สงครามระหว่างประเทศและการก่อการร้ายในกลุ่มประเทศยุโรป จนถึง ตลาดหุ้นในสหรัฐอเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น และจีน ปรับตัวเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างรุนแรง การปรับลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล การปรับเพิ่มขึ้นหรือลดลงของราคาน้ำมัน การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ การเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมของธนาคาร การกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล การเปิดเสรีการค้าระหว่างประเทศ เป็นต้น ปัจจัยภายใน (Internal Factor) คือ ปัจจัยที่มาจากกิจการโดยตรง เช่น การขยายตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ การขยายไปสู่ธุรกิจใหม่ การขายหุ้นเพิ่มทุน การควบรวมกิจการ การซื้อและขายกิจการ การเพิ่มอัตราการก่อหนี้ในกิจการ การปิดบริษัทย่อย...

ต้นทุนเงินทุน (WACC)

ต้นทุนเงินทุน (Cost of Capital) หรือ ที่นิยมเรียกกันโดยทั่วไป คือ WACC (Weighted Average Cost of Capital) หมายถึง ต้นทุนทางการเงินเฉลี่ยของเงินทุน  มีประโยชน์เพื่อใช้ในการตัดสินใจว่าควรลงทุนหรือไม่ควรลงทุนในโครงการใดบ้างของบริษัท เช่น คุ้มค่าหรือไม่ที่จะลงทุนในโครงการใหม่ของบริษัท เป็นต้น อีกทั้ง WACC นี้ยังสามารถใช้ในการคำนวณหามูลค่าของกิจการ (Enterprise Value) และมูลค่าที่แท้จริงของหุ้น (Intrinsic Value of Stock) ได้อีกด้วย WACC ประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก 2 ประเภท คือ :- ประเภทที่ 1 ต้นทุนจากการเงินกู้ยืม หรือ ที่เข้าใจโดยทั่วไป คือ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืม (kd)   ประเภทที่ 2 ต้นทุนจากเงินทุนของผู้ถือหุ้น  หรือ ที่เข้าใจโดยทั่วไป คือ อัตราผลตอบแทนจากเงินปันผล (ke) เพื่อความง่ายในการทำความเข้าใจ WACC ขอยกตัวอย่างประกอบดังนี้ บริษัท A มีเงินทุนประกอบด้วย เงินกู้จากเจ้าหนี้ที่มีดอกเบี้ย 100 ล้านบาท และเงินทุนจากผู้ถือหุ้น 100 ล้านบาท ดังนั้นเงินทุนทั้งหมดของกิจการ A คือ เงินกู้จากเจ้าหนี้ฯ + เงินทุนจากผู้ถือหุ้น = 100 + 100 ล้านบาท เท่ากับ 200 ล...

ควรตั้งเป้ายอดขายขั้นต่ำเท่าไหร่

ถาม : ตอนนี้ผมทำธุรกิจส่วนตัว และต้องการตั้งเป้าหมายการขายให้กับฝ่ายขาย อาจารย์พอจะมีวิธีที่ใช้ประมาณการขายหรือเปล่าครับ ตอบ : การตั้งเป้าหมายในการขายให้กับฝ่ายขาย เราสามารถคำนวณหาได้จากจุดคุ้มทุนขาย (Break-Even point of Sales) คือ ยอดขายที่ทำไม่มีผลกำไรสุทธิและขาดทุนสุทธิ หรือ ยอดขายที่พอดีกับค่าใช้จ่ายของกิจการ หรืออีกนัยหนึ่ง คือยอดขายขั้นต่ำที่ต้องให้กับฝ่ายขาย โดยมีสูตรดังนี้                                              จุดคุ้มทุนขาย  =   ค่าใช้จ่ายคงที่                                                  ...