ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

งานที่ปรึกษาทางการเงิน

นับตั้งแต่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจปี 40 จนถึงปัจจุบัน มันทำให้ผมได้รับประสบการณ์ที่รอบด้าน นับตั้งแต่การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ การฟื้นฟูกิจการ การ Refiance หนี้จากเจ้าหนี้รายหลายให้เหลือเพียงเจ้าหนี้รายเดียว การระดมทุนผ่านกองทุนต่างประเทศในรูปแบบ Private Placement  การทำประชาสัมพันธ์กิจการต่อผู้ลงทุน (Investor Relations Activities) จนกระทั่งถึงการขยายกิจการ

กล่าวโดยย่อคือ ได้รับประสบการณ์อันมีค่านับเริ่มตั้งแต่กิจการกำลังจะตาย จนกิจการฟื้นคืนชีพ และกลับมาเติบโตอีกครั้ง และหวังเป็นอย่างยิ่งว่ากิจการในประเทศไทยจะไม่วนกลับไปใกล้ตายอีก  

จากความรู้ความเข้าใจในการทำงานมาอย่างต่อเนื่องมาแล้วในหลายอุตสาหกรรม ทำให้สามารถกำหนดขอบเขตงานของที่ปรึกษาทางการเงินให้กับผู้ที่สนใจจะก้าวเดินในเส้นทางนี้ได้โดยย่อดังนี้

1) การวางแผนทางการเงินระยะเร่งด่วนสำหรับกิจการ
    (Ad-Hoc Financial Planning for the Enterprise)

ประกอบด้วย การประเมินสภาพคล่องของกิจการ และวงเงินกู้เดิม การกำหนดวงเงินกู้ที่เหมาะสมสำหรับกิจการ การจัดทำแผนการเงินสำหรับขอวงเงินกู้จากธนาคาร


2) การวางแผนทางการเงินระยะสั้น กลาง และยาวสำหรับกิจการ
    (Short, Medium & Long-term Financial Planning)

ประกอบด้วย การวางระบบรายงานประจำเดือน ประจำไตรมาส และการจัดทำงบประมาณ การจัดทำประมาณการทางการเงินระยะเวลา 3 - 5 ปี (Pro-forma Fiancial Statements) การกำหนดความต้องการเงินทุนในอนาคต การจัดโครงสร้างทางการเงินที่เหมาะสม และการประเมินความเสี่ยงทางการเงิน

3) การประเมินความเป็นไปได้ในการลงทุนสำหรับโครงการ
    (Project Feasibility Study)

ประกอบด้วย การจัดทำประมาณการทางการเงินระยะเวลา 3-5 ปี สำหรับโครงการ การกำหนดเป้าหมายการขายและกำไรของโครงการ และการประเมินความเป็นไปได้ในการลงทุนสำหรับโครงการ (Capital Budgeting)


4) การประเมินความอยู่รอดของการลงทุนสำหรับโครงการ
     (Project Viability Review)

ประกอบด้วย การจัดทำงบการเงินย้อนหลังเปรียบเทียบสำหรับโครงการ การจัดทำงบลงทุนย้อนหลังและประเมินมูลค่าเพิ่มของโครงการ และการวัดความแปรปรวนของโครงการ และความน่าจะเป็นของโครงการ (Sensitivity and Scenario Analysis)

5) การประเมินมูลค่ากิจการและมูลค่าหุ้น
    (Enterprise & Share Valuation)

ประกอบด้วย การประเมินมูลค่าที่แท้จริงของกิจการและหุ้น ด้วยแบบจำลองทางการเงิน ได้แก่ กระแสเงินสดส่วนลดสำหรับกิจการ และผู้ถือหุ้น (Discounted Cash Flow) การใช้วิธีผลคูณ (Multiple Approach)

สำหรับผู้ที่สนใจเดินเส้นทางนี้ อ่านแล้วอย่างท้อนะครับ เพราะทุกเรื่องยิ่งได้ทำจะยิ่งรักงาน เพราะจะทำให้คุณค้นพบเคล็ดลับของธุรกิจ ซึ่งนำไปสู่เคล็ดลับของความร่ำรวยที่เปิดเผยตัวตนของมันออกมาให้ท่านได้สัมผัส "มันช่างมีคุณค่ามากกว่าเงินเป็นไหนๆ"


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

กระบวนการลงทุนแนว VI

ควรมีทุนจดทะเบียนและชำระแล้วเท่าไหร่ดี

ถาม : ดิฉันกำลังคิดจะทำธุรกิจ อยากทราบว่าควรมีทุนจดทะเบียนและชำระแล้วเท่าไหร่ดีค่ะ ตอบ : คุณต้องประมาณเงินลงทุนทั้งหมด โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้ (1) ประมาณการเงินลงทุนสินทรัพย์ถาวร (2) ประมาณการเงินหมุนเวียนสุทธิ (Net Working Capital)  หลังจากนั้นคุณก็นำรายการที่ (1) บวกกับรายการที่ (2) แล้ว ผลรวมที่ได้คือ เงินลงทุนทั้งหมด ในกรณีที่คุณไม่ต้องการกู้เงิน เงินลงทุนทั้งหมดจะเป็นทุนที่ชำระแล้ว ตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์กำหนดไว้ว่า ผู้ถือหุ้นต้องชำระค่าหุ้นขั้นต่ำ 25% ของทุนจดทะเบียน ยกตัวอย่างเช่น หากคุณจดทะเบียน 1.0 ล้านบาท คุณต้องชำระค่าหุ้นขั้นต่ำ 250,000 บาท ส่วนที่เหลืออีก 75% ถือว่าเป็นภาระผูกพันของผู้ถือหุ้นที่มีต่อบริษัท ดังนั้นในกรณีที่บริษัทดำเนินธุรกิจจนเจ๊ง เจ้าหนี้สามารถใช้สิทธิบังคับให้ผู้ถือหุ้นชำระค่าหุ้นคงเหลืออีก 75% ซึ่งหมายความว่า หุ้นที่ชำระไม่ครบ 75% มีสถานะเป็นหนี้ของผู้ถือหุ้นนั่นเอง ตัวอย่าง การประมาณงินลงทุน เช่น บริษัท ABCD จำกัด มีสมมติฐานว่าปีหน้าจะมียอดขายประมาณ 10 ล้านบาท ต้นทุนขายประมาณ 7.5 ล้านบาท และงบประมาณการลงทุนในสินทรัพย์ถาวร...

ช่วงเวลาในการซื้อขายหุ้น (Investment Timing)

ราคาหุ้นในตลาดหุ้น (Market Price) ถูกกำหนดมาจากปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก โดยมีรายละเอียดดังนี้ ปัจจัยภายนอก (External Factor) คือ ปัจจัยที่ไม่ได้มาจากกิจการโดยตรงซึ่งเป็นปัจจัยที่กิจการไม่สามารถควบคุมได้ เช่น กระแสเงินเงินทุนไหลออกและไหลเข้า (Fund Flow) วิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ การอัดฉีดเงินของธนาคารกลางของสหรัฐฯและยุโรป การลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ การปรับลดค่าเงินหยวน สงครามระหว่างประเทศและการก่อการร้ายในกลุ่มประเทศยุโรป จนถึง ตลาดหุ้นในสหรัฐอเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น และจีน ปรับตัวเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างรุนแรง การปรับลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล การปรับเพิ่มขึ้นหรือลดลงของราคาน้ำมัน การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ การเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมของธนาคาร การกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล การเปิดเสรีการค้าระหว่างประเทศ เป็นต้น ปัจจัยภายใน (Internal Factor) คือ ปัจจัยที่มาจากกิจการโดยตรง เช่น การขยายตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ การขยายไปสู่ธุรกิจใหม่ การขายหุ้นเพิ่มทุน การควบรวมกิจการ การซื้อและขายกิจการ การเพิ่มอัตราการก่อหนี้ในกิจการ การปิดบริษัทย่อย...

ต้นทุนเงินทุน (WACC)

ต้นทุนเงินทุน (Cost of Capital) หรือ ที่นิยมเรียกกันโดยทั่วไป คือ WACC (Weighted Average Cost of Capital) หมายถึง ต้นทุนทางการเงินเฉลี่ยของเงินทุน  มีประโยชน์เพื่อใช้ในการตัดสินใจว่าควรลงทุนหรือไม่ควรลงทุนในโครงการใดบ้างของบริษัท เช่น คุ้มค่าหรือไม่ที่จะลงทุนในโครงการใหม่ของบริษัท เป็นต้น อีกทั้ง WACC นี้ยังสามารถใช้ในการคำนวณหามูลค่าของกิจการ (Enterprise Value) และมูลค่าที่แท้จริงของหุ้น (Intrinsic Value of Stock) ได้อีกด้วย WACC ประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก 2 ประเภท คือ :- ประเภทที่ 1 ต้นทุนจากการเงินกู้ยืม หรือ ที่เข้าใจโดยทั่วไป คือ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืม (kd)   ประเภทที่ 2 ต้นทุนจากเงินทุนของผู้ถือหุ้น  หรือ ที่เข้าใจโดยทั่วไป คือ อัตราผลตอบแทนจากเงินปันผล (ke) เพื่อความง่ายในการทำความเข้าใจ WACC ขอยกตัวอย่างประกอบดังนี้ บริษัท A มีเงินทุนประกอบด้วย เงินกู้จากเจ้าหนี้ที่มีดอกเบี้ย 100 ล้านบาท และเงินทุนจากผู้ถือหุ้น 100 ล้านบาท ดังนั้นเงินทุนทั้งหมดของกิจการ A คือ เงินกู้จากเจ้าหนี้ฯ + เงินทุนจากผู้ถือหุ้น = 100 + 100 ล้านบาท เท่ากับ 200 ล...

ควรตั้งเป้ายอดขายขั้นต่ำเท่าไหร่

ถาม : ตอนนี้ผมทำธุรกิจส่วนตัว และต้องการตั้งเป้าหมายการขายให้กับฝ่ายขาย อาจารย์พอจะมีวิธีที่ใช้ประมาณการขายหรือเปล่าครับ ตอบ : การตั้งเป้าหมายในการขายให้กับฝ่ายขาย เราสามารถคำนวณหาได้จากจุดคุ้มทุนขาย (Break-Even point of Sales) คือ ยอดขายที่ทำไม่มีผลกำไรสุทธิและขาดทุนสุทธิ หรือ ยอดขายที่พอดีกับค่าใช้จ่ายของกิจการ หรืออีกนัยหนึ่ง คือยอดขายขั้นต่ำที่ต้องให้กับฝ่ายขาย โดยมีสูตรดังนี้                                              จุดคุ้มทุนขาย  =   ค่าใช้จ่ายคงที่                                                  ...