คนส่วนใหญ่ในตลาดหุ้น มักจะสับสนระหว่าง คำว่า "หุ้นราคาแพง" กับ "หุ้นราคาสูง"
หุ้นราคาแพงของคนส่วนใหญ่ หมายถึง ราคาหุ้นเกิน 100 บาท ยิ่งถ้าราคาหุ้น 1,000 บาท ก็ยิ่งแพงกว่าหุ้นราคา 100 บาท ซึ่งความเข้าใจนี้ผิดอย่างมหันต์
ที่ถูกต้อง ก็คือ หุ้นราคา 1,000 บาท ราคาสูงกว่าหุ้นราคา 100 บาท แต่จะแพงกว่าหรือไม่นั้นยังตอบไม่ได้จากการดูจากราคาหุ้น
การจะพิจารณาว่าหุ้นใดราคาแพงได้นั้น นักลงทุนต้องเทียบราคาหุ้น (Market Price) กับมูลค่าที่แท้จริงของหุ้น (Intrinsic Value) ถ้า ราคาหุ้น สูงกว่า มูลค่าหุ้น แสดงว่าหุ้นนั้น "แพง" ในทางกลับกัน หากราคาหุ้น ต่ำกว่า มูลค่าหุ้น แสดงว่าหุ้นนั้น "ถูก"
ตัวอย่าง หุ้น A มีราคาหุ้น 500 บาท แต่มีมูลค่าที่แท้จริงเท่ากับ 1,000 บาท แสดงว่าหุ้น A มีราคาถูก หรือจะเรียกหุ้น A ว่า Undervalued
ส่วนหุ้น B มีราคาหุ้น 100 บาท แต่มีมูลค่าที่แท้จริงเท่ากับ 50 บาท แสดงว่าหุ้น B มีราคาแพง หรือจะเรียกหุ้น B ว่า Overvalued
จากกรณีตัวอย่างพบว่า หุ้น A มีราคาหุ้น 500 บาท ราคาสูงกว่า หุ้น B ที่มีราคา 100 บาท แต่ หุ้น A ถูกกว่าหุ้น B เพราะหุ้น A มีลักษณะ undervalued เทียบกับหุ้น B ที่มีลักษณะ overvalued
ดังนั้นกรณีเช่นนี้หากเราเป็นนักลงทุนที่มีเหตุมีผล เราจะเลือกลงทุนหุ้น A ทั้งที่หุ้น A ราคาสูงกว่าหุ้น B จำไว้เสมอว่า สิ่งที่เห็นอาจจะไม่จริง สิ่งที่จริงอาจจะไม่เห็น เช่นเดียวกับกรณีของหุ้น A และ B
ปรัชญาในการลงทุนที่ถูกต้องนำมาซึ่งความสำเร็จในการลงทุน หากยังค้นหาปรัชญาการลงทุนที่ถูกต้องไม่เจอะจงอย่ารีบลงทุน เพราะการแก้ไขสิ่งที่ผิดพลาดในการลงทุนต้องใช้ความพยายามหลายเท่าเทียบกับการลงทุนที่ถูกต้องตั้งแต่เริ่มต้น
** มูลค่าที่แท้จริงของหุ้น (Intrinsic Value) ท่านสามารถอ่านแนวทางได้จากบทความก่อนหน้านี้
หุ้นราคาแพงของคนส่วนใหญ่ หมายถึง ราคาหุ้นเกิน 100 บาท ยิ่งถ้าราคาหุ้น 1,000 บาท ก็ยิ่งแพงกว่าหุ้นราคา 100 บาท ซึ่งความเข้าใจนี้ผิดอย่างมหันต์
ที่ถูกต้อง ก็คือ หุ้นราคา 1,000 บาท ราคาสูงกว่าหุ้นราคา 100 บาท แต่จะแพงกว่าหรือไม่นั้นยังตอบไม่ได้จากการดูจากราคาหุ้น
การจะพิจารณาว่าหุ้นใดราคาแพงได้นั้น นักลงทุนต้องเทียบราคาหุ้น (Market Price) กับมูลค่าที่แท้จริงของหุ้น (Intrinsic Value) ถ้า ราคาหุ้น สูงกว่า มูลค่าหุ้น แสดงว่าหุ้นนั้น "แพง" ในทางกลับกัน หากราคาหุ้น ต่ำกว่า มูลค่าหุ้น แสดงว่าหุ้นนั้น "ถูก"
ตัวอย่าง หุ้น A มีราคาหุ้น 500 บาท แต่มีมูลค่าที่แท้จริงเท่ากับ 1,000 บาท แสดงว่าหุ้น A มีราคาถูก หรือจะเรียกหุ้น A ว่า Undervalued
ส่วนหุ้น B มีราคาหุ้น 100 บาท แต่มีมูลค่าที่แท้จริงเท่ากับ 50 บาท แสดงว่าหุ้น B มีราคาแพง หรือจะเรียกหุ้น B ว่า Overvalued
จากกรณีตัวอย่างพบว่า หุ้น A มีราคาหุ้น 500 บาท ราคาสูงกว่า หุ้น B ที่มีราคา 100 บาท แต่ หุ้น A ถูกกว่าหุ้น B เพราะหุ้น A มีลักษณะ undervalued เทียบกับหุ้น B ที่มีลักษณะ overvalued
ดังนั้นกรณีเช่นนี้หากเราเป็นนักลงทุนที่มีเหตุมีผล เราจะเลือกลงทุนหุ้น A ทั้งที่หุ้น A ราคาสูงกว่าหุ้น B จำไว้เสมอว่า สิ่งที่เห็นอาจจะไม่จริง สิ่งที่จริงอาจจะไม่เห็น เช่นเดียวกับกรณีของหุ้น A และ B
ปรัชญาในการลงทุนที่ถูกต้องนำมาซึ่งความสำเร็จในการลงทุน หากยังค้นหาปรัชญาการลงทุนที่ถูกต้องไม่เจอะจงอย่ารีบลงทุน เพราะการแก้ไขสิ่งที่ผิดพลาดในการลงทุนต้องใช้ความพยายามหลายเท่าเทียบกับการลงทุนที่ถูกต้องตั้งแต่เริ่มต้น
** มูลค่าที่แท้จริงของหุ้น (Intrinsic Value) ท่านสามารถอ่านแนวทางได้จากบทความก่อนหน้านี้
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น