ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

แบงก์เวลาปล่อยกู้พิจารณาจากอะไร

ถาม : ผมเปิดบริษัทฯและทำธุรกิจมาแล้วประมาณ 3 ปี ตอนนี้ผมกำลังคิดจะกู้เงิน แบงก์เวลาปล่อยกู้ เขาพิจารณาจากอะไรบ้างครับ

ตอบ : แบงก์จะใช้หลักการวิเคราะห์ 6C’s ซึ่งประกอบด้วยรายละเอียดอย่างย่อดังนี้

1) Character หมายถึง ลักษณะของผู้ขอกู้ หรือกรณีท่านคือ บริษัท ว่ามีความตั้งใจในการชำระหนี้หรือไม่ ซึ่งพิจารณาได้จาก ประวัติการชำระหนี้ที่ผ่านมาของบริษัท ประวัติการถูกฟ้องร้องจากเจ้าหนี้ของบริษัท ความซื่อสัตย์และความมีธรรมภิบาลในการดำเนินธุรกิจของบริษัท เป็นต้น

2) Capacity หมายถึง ความสามารถในการชำระหนี้ของผู้ขอกู้ / บริษัท  ซึ่งพิจารณาได้จาก ความสามารถในการหารายได้ และความสามารถในการทำกำไรของบริษัท โดยดูได้จากงบการเงินที่ผ่านการตรวจสอบแล้วจากผู้สอบบัญชีรับอนุญาต

3) Capital หมายถึง ส่วนทุนของบริษัท โดยปกติแบงก์จะปล่อยกู้ไม่เกินส่วนทุนของบริษัท เหตุผลก็คือ แบงก์ต้องการให้ผู้ถือหุ้นซึ่งโดยมากก็จะเป็นเจ้าของกิจการ ไม่ทิ้งกิจการเวลาที่ธุรกิจประสบปัญหา ตัวอย่างเช่น ผู้ถือหุ้น/เจ้าของกิจการ ลงทุนเงิน 10 ล้านบาท แต่หากแบงก์ปล่อยกู้ให้แก่กิจการ 50 ล้านบาท จึงมีความเป็นไปได้ว่าเมื่อใดที่กิจการประสบปัญหาไม่ว่าจะเป็นการเสียตลาดให้กับคู่แข่ง หรือกิจการถูกฟ้องร้องจากลูกค้า หรือการต้องจ่ายค่าชดเชยจำนวนมากแก่พนักงาน เจ้าของสามารถตัดสินใจทิ้งกิจการได้อย่างไม่ต้องลังเล ในทำนองกลับกัน หากเจ้าของลงทุนเงิน 50 ล้านบาท แต่กู้เงินมาจากแบงก์เพียง 10 ล้านบาท เวลาที่กิจการประสบปัญหาตามที่กล่าวมาข้างต้น เจ้าของจะใช้ความพยายามมากกว่าในการแก้ปัญหา เนื่องจากเงินที่ใช้ในกิจการแทบทั้งหมดเป็นของเจ้าของเอง หลักเกณฑ์โดยทั่วไปแบงก์จะปล่อยกู้ไม่เกินส่วนทุน (ทุนที่ชำระแล้ว บวกด้วยกำไรสะสม)  เช่น ส่วนทุนเท่ากับ 10 ล้านบาท ดังนั้นแบงก์จะปล่อยกู้ไม่เกิน 10 ล้านบาท เป็นต้น

4) Collateral หมายถึง หลักประกันของบริษัท อันได้แก่ ที่ดิน อาคาร เครื่องจักร ปกติแบงก์จะนำมาทรัพย์สินเหล่านี้มาจดจำนองเพื่อค้ำประกันวงเงินกู้เพื่อป้องกันความเสี่ยงในกรณีที่กิจการประสบปัญหาไม่สามารถชำระหนี้คืนได้ แบงก์ก็จะทำการยึดทรัพย์สินเหล่านี้มาขายทอดตลาดเพื่อจะนำเงินที่ได้มาจ่ายคืนหนี้ โดยปกติแต่ละแบงก์จะมีการกำหนดเงื่อนไขไว้ว่าหลักประกันต้องเป็นร้อยละเท่าไหร่ของวงเงินกู้ เช่น แบงก์อาจกำหนดไว้ว่าที่ดินคิดเป็น 80% ของวงเงินกู้ ดังนั้นหากบริษัทต้องการกู้เงิน 80 ล้านบาท บริษัทต้องมีที่ดินซึ่งมีมูลค่าตามประเมินประมาณ 100 ล้านบาท มาเป็นหลักประกัน หรือกรณีเครื่องจักรอาจกำหนดไว้ว่า 50% ของวงเงินกู้ ดังนั้นหากบริษัทต้องการกู้เงิน 50 ล้านบาท บริษัทต้องมีเครื่องจักร 100 ล้านบาท มาเป็นหลักประกัน

5) Conditions หมายถึง สภาพธุรกิจและปัจจัยแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งมีผลกระทบต่อธุรกิจอย่างมีนัยสำคัญ ตัวอย่างเช่น บริษัทพึ่งเปิดโครงการโรงแรมใหม่ที่ภูเก็ต แต่ดันเจอะคลื่นยักษ์สึนามิถล่มทำให้โรงแรมพังทั้งหลัง กรณีนี้จะส่งผลต่อ Capacity ของบริษัท อาจทำให้บริษัทไม่สามารถจะชำระหนี้ได้ตามที่กำหนดไว้ อีกทั้งอาจส่งผลต่อ Collateral ของบริษัท ทำให้หลักประกันที่เป็นตัวอาคารของโรงแรมด้อยค่าลง หรือในกรณีที่เกิดการวิกฤตซับไพร์มขึ้นที่ประเทศอเมริกา อาจส่งผลต่อ  Capacity บริษัทที่ส่งออกไปประเทศอเมริกาได้

6) Country หมายถึง สภาพโดยรวมของประเทศลูกค้าของบริษัท ซึ่งประกอบด้วย เศรษฐกิจ การเมือง นโยบายการค้า เป็นต้น โดยแบงก์จะพิจารณา Country กรณีที่ปล่อยกู้ให้แก่บริษัทส่งออก ปกติแบงก์จะมีการให้การจัดอันดับ (Rating) ว่าประเทศใดบ้างมีความเสี่ยงจากมากไปหาน้อย ดังนั้นหากบริษัทส่งออกไปยังประเทศที่มีความเสี่ยงสูง แบงก์อาจจะไม่ปล่อยสินเชื่อให้ เนื่องจากกังวลว่าการส่งออกนั้นอาจจะเป็นเก็บเงินไม่ได้ และเป็นหนี้สูญในที่สุด

เปิดเผยเคล็ดลับในการกู้เงินสามารถดูได้ที่ www.mebmarket.com






ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

กระบวนการลงทุนแนว VI

ควรมีทุนจดทะเบียนและชำระแล้วเท่าไหร่ดี

ถาม : ดิฉันกำลังคิดจะทำธุรกิจ อยากทราบว่าควรมีทุนจดทะเบียนและชำระแล้วเท่าไหร่ดีค่ะ ตอบ : คุณต้องประมาณเงินลงทุนทั้งหมด โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้ (1) ประมาณการเงินลงทุนสินทรัพย์ถาวร (2) ประมาณการเงินหมุนเวียนสุทธิ (Net Working Capital)  หลังจากนั้นคุณก็นำรายการที่ (1) บวกกับรายการที่ (2) แล้ว ผลรวมที่ได้คือ เงินลงทุนทั้งหมด ในกรณีที่คุณไม่ต้องการกู้เงิน เงินลงทุนทั้งหมดจะเป็นทุนที่ชำระแล้ว ตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์กำหนดไว้ว่า ผู้ถือหุ้นต้องชำระค่าหุ้นขั้นต่ำ 25% ของทุนจดทะเบียน ยกตัวอย่างเช่น หากคุณจดทะเบียน 1.0 ล้านบาท คุณต้องชำระค่าหุ้นขั้นต่ำ 250,000 บาท ส่วนที่เหลืออีก 75% ถือว่าเป็นภาระผูกพันของผู้ถือหุ้นที่มีต่อบริษัท ดังนั้นในกรณีที่บริษัทดำเนินธุรกิจจนเจ๊ง เจ้าหนี้สามารถใช้สิทธิบังคับให้ผู้ถือหุ้นชำระค่าหุ้นคงเหลืออีก 75% ซึ่งหมายความว่า หุ้นที่ชำระไม่ครบ 75% มีสถานะเป็นหนี้ของผู้ถือหุ้นนั่นเอง ตัวอย่าง การประมาณงินลงทุน เช่น บริษัท ABCD จำกัด มีสมมติฐานว่าปีหน้าจะมียอดขายประมาณ 10 ล้านบาท ต้นทุนขายประมาณ 7.5 ล้านบาท และงบประมาณการลงทุนในสินทรัพย์ถาวร...

ช่วงเวลาในการซื้อขายหุ้น (Investment Timing)

ราคาหุ้นในตลาดหุ้น (Market Price) ถูกกำหนดมาจากปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก โดยมีรายละเอียดดังนี้ ปัจจัยภายนอก (External Factor) คือ ปัจจัยที่ไม่ได้มาจากกิจการโดยตรงซึ่งเป็นปัจจัยที่กิจการไม่สามารถควบคุมได้ เช่น กระแสเงินเงินทุนไหลออกและไหลเข้า (Fund Flow) วิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ การอัดฉีดเงินของธนาคารกลางของสหรัฐฯและยุโรป การลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ การปรับลดค่าเงินหยวน สงครามระหว่างประเทศและการก่อการร้ายในกลุ่มประเทศยุโรป จนถึง ตลาดหุ้นในสหรัฐอเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น และจีน ปรับตัวเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างรุนแรง การปรับลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล การปรับเพิ่มขึ้นหรือลดลงของราคาน้ำมัน การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ การเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมของธนาคาร การกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล การเปิดเสรีการค้าระหว่างประเทศ เป็นต้น ปัจจัยภายใน (Internal Factor) คือ ปัจจัยที่มาจากกิจการโดยตรง เช่น การขยายตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ การขยายไปสู่ธุรกิจใหม่ การขายหุ้นเพิ่มทุน การควบรวมกิจการ การซื้อและขายกิจการ การเพิ่มอัตราการก่อหนี้ในกิจการ การปิดบริษัทย่อย...

ต้นทุนเงินทุน (WACC)

ต้นทุนเงินทุน (Cost of Capital) หรือ ที่นิยมเรียกกันโดยทั่วไป คือ WACC (Weighted Average Cost of Capital) หมายถึง ต้นทุนทางการเงินเฉลี่ยของเงินทุน  มีประโยชน์เพื่อใช้ในการตัดสินใจว่าควรลงทุนหรือไม่ควรลงทุนในโครงการใดบ้างของบริษัท เช่น คุ้มค่าหรือไม่ที่จะลงทุนในโครงการใหม่ของบริษัท เป็นต้น อีกทั้ง WACC นี้ยังสามารถใช้ในการคำนวณหามูลค่าของกิจการ (Enterprise Value) และมูลค่าที่แท้จริงของหุ้น (Intrinsic Value of Stock) ได้อีกด้วย WACC ประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก 2 ประเภท คือ :- ประเภทที่ 1 ต้นทุนจากการเงินกู้ยืม หรือ ที่เข้าใจโดยทั่วไป คือ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืม (kd)   ประเภทที่ 2 ต้นทุนจากเงินทุนของผู้ถือหุ้น  หรือ ที่เข้าใจโดยทั่วไป คือ อัตราผลตอบแทนจากเงินปันผล (ke) เพื่อความง่ายในการทำความเข้าใจ WACC ขอยกตัวอย่างประกอบดังนี้ บริษัท A มีเงินทุนประกอบด้วย เงินกู้จากเจ้าหนี้ที่มีดอกเบี้ย 100 ล้านบาท และเงินทุนจากผู้ถือหุ้น 100 ล้านบาท ดังนั้นเงินทุนทั้งหมดของกิจการ A คือ เงินกู้จากเจ้าหนี้ฯ + เงินทุนจากผู้ถือหุ้น = 100 + 100 ล้านบาท เท่ากับ 200 ล...

ควรตั้งเป้ายอดขายขั้นต่ำเท่าไหร่

ถาม : ตอนนี้ผมทำธุรกิจส่วนตัว และต้องการตั้งเป้าหมายการขายให้กับฝ่ายขาย อาจารย์พอจะมีวิธีที่ใช้ประมาณการขายหรือเปล่าครับ ตอบ : การตั้งเป้าหมายในการขายให้กับฝ่ายขาย เราสามารถคำนวณหาได้จากจุดคุ้มทุนขาย (Break-Even point of Sales) คือ ยอดขายที่ทำไม่มีผลกำไรสุทธิและขาดทุนสุทธิ หรือ ยอดขายที่พอดีกับค่าใช้จ่ายของกิจการ หรืออีกนัยหนึ่ง คือยอดขายขั้นต่ำที่ต้องให้กับฝ่ายขาย โดยมีสูตรดังนี้                                              จุดคุ้มทุนขาย  =   ค่าใช้จ่ายคงที่                                                  ...