ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

นักล่าอาณานิคมยุคโลกาภิวัฒน์ (ต่อ)

หลังจากวิกฤติประมาณสักประมาณ 2 ปี ก็ได้เวลาเริ่มเข้าสู่การลงทุนของกองทุนล่าอาณานิคม เพราะช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาที่สุกงอมและทราบแล้วว่าบริษัทจดทะเบียนใด (บริษัทที่มีหุ้นซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์) สามารถผ่านพ้นวิกฤติไปได้ แต่ยังคงบาดเจ็บและอ่อนแออยู่ ถ้าได้รับการเยียวยาที่ถูกต้องจะเกิดอาการ "เกือบตาย แล้วฟื้นคืนชีพ" หรือนักลงทุนเรียกกันว่าธุรกิจ / หุ้น ประเภท Turnaround โดยกองทุนเหล่านี้จะเสนอตัวเข้ามาซื้อหุ้นของบริษัทฯแบบเฉพาะเจาะจง (Private Placement) ในราคาถูกแสนถูก และบริษัทฯส่วนใหญ่ก็ยินดีจะขายด้วย เนื่องจาก ถ้าไม่ขายอาการเกือบตายอาจจะกลับไปตายได้ คือสูญเสียทุกอย่างให้กับเจ้าหนี้เงินกู้ เพราะอาจไม่มีกำลังจ่ายดอกเบี้ยและเงินต้น และจะถูกยึดทรัพย์ในที่สุด ดังนั้นการขายหุ้นครั้งนี้เปรียบได้กับการตัดอวัยวะเพื่อรักษาชีวิต

กองทุนนักล่าเหล่านี้จะเลือกบริษัทที่มีลักษณะ คือ มีกำไรจากการดำเนินงาน แต่มีผลขาดทุนสุทธิ โดยผลขาดทุนสุทธินี้สาเหตุหลักมาจากดอกเบี้ยจ่ายที่มีจำนวนสูงมากซึ่งจะแสดงในรูปแแบบงบการเงินดังนี้

งบกำไรขาดทุน ก่อนขายหุ้นเพิ่มทุน

หน่วย : ล้านบาท

รายได้จากการขาย                         1,000        
ต้นทุนขาย                                        700
กำไรขั้นต้น                                       300
ค่าใช้จ่ายขายและบริหาร                  100
กำไจากการดำเนินงาน                     200
ดอกเบี้ยจ่าย                                   250
ขาดทุนสุทธิ                                      50

เมื่อเลือกบริษัทเป้าหมายได้แล้ว สิ่งที่ต้องดำเนินต่อไป คือ การซื้อหุ้นของบริษัท และกำหนดในเงื่อนไขในสัญญาว่าให้บริษัทต้องนำเงินที่ได้จากการขายหุ้นเพิ่มทุน ไปใช้คืนหนี้เงินกู้ยืมกับเจ้าหนี้เงินกู้

หลังจากนั้นบริษัทก็นำเงินไปจ่ายคืนหนี้กับเจ้าหนี้เงินกู้ซึ่งจะส่งผลให้ดอกเบี้ยจ่ายลดลงอย่างมาก สมมติ ดอกเบี้ยจ่ายลดลงจาก 250 ล้านบาทเหลือ เพียง 100 ล้านบาททำให้บริษัทพลิกจากขาดทุนเป็นกำไร 100 ล้านบาท แสดงงบกำไรขาดทุนได้ดังนี้


งบกำไรขาดทุน หลังขายหุ้นเพิ่มทุน

หน่วย : ล้านบาท

รายได้จากการขาย                         1,000        
ต้นทุนขาย                                        700
กำไรขั้นต้น                                       300
ค่าใช้จ่ายขายและบริหาร                  100
กำไจากการดำเนินงาน                     200
ดอกเบี้ยจ่าย                                   100
กำไรสุทธิ                                        100

บริษัทฯได้พลิกกลับมาทำกำไรแล้ว สิ่งที่เกิดขึ้นตามมา คือ ราคาหุ้นก็จะปรับตัวขึ้นอย่างรวดเร็วตามผลการดำเนินงานที่ฟื้นตัว กองทุนนักล่านี้ก็จะขายหุ้นที่ได้มาในราคาที่ได้กำไรอย่างน้อย 100% คืนให้กับนักลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ แค่นี้ก็เสร็จสิ้นกระบวนการทำกำไรอย่างเป็นกอบเป็นกำ

กองทุนนักล่าจะใช้วิธีซ้ำๆแบบนี้ในการแสวงหากำไรไปเรื่อยๆ เพื่อสร้างความร่ำรวยให้กับตัวเอง สิ่งที่เล่ามาทั้ืงหมดนี้จึงเรียกว่า "วิกฤติ คือ โอกาส" ที่แท้จริง หมายถึง ความวิบัติของสิ่งหนึ่ง แต่สร้างความมั่งคั่งให้กับอีกสิ่งหนึ่ง

ทั้งหมดที่เล่าสู่กันฟังนี้สอนบทเรียนให้รู้ว่า อย่าเห็นแก่ประโยชน์ในระยะสั้นแต่มองข้ามประโยชน์ในระยะยาว เพราะวิกฤติที่เกิดขึ้นทุกครั้งเกิดจากการเห็นแก่ประโยชน์ในระยะสั้นทั้งนั้น

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

กระบวนการลงทุนแนว VI

ควรมีทุนจดทะเบียนและชำระแล้วเท่าไหร่ดี

ถาม : ดิฉันกำลังคิดจะทำธุรกิจ อยากทราบว่าควรมีทุนจดทะเบียนและชำระแล้วเท่าไหร่ดีค่ะ ตอบ : คุณต้องประมาณเงินลงทุนทั้งหมด โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้ (1) ประมาณการเงินลงทุนสินทรัพย์ถาวร (2) ประมาณการเงินหมุนเวียนสุทธิ (Net Working Capital)  หลังจากนั้นคุณก็นำรายการที่ (1) บวกกับรายการที่ (2) แล้ว ผลรวมที่ได้คือ เงินลงทุนทั้งหมด ในกรณีที่คุณไม่ต้องการกู้เงิน เงินลงทุนทั้งหมดจะเป็นทุนที่ชำระแล้ว ตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์กำหนดไว้ว่า ผู้ถือหุ้นต้องชำระค่าหุ้นขั้นต่ำ 25% ของทุนจดทะเบียน ยกตัวอย่างเช่น หากคุณจดทะเบียน 1.0 ล้านบาท คุณต้องชำระค่าหุ้นขั้นต่ำ 250,000 บาท ส่วนที่เหลืออีก 75% ถือว่าเป็นภาระผูกพันของผู้ถือหุ้นที่มีต่อบริษัท ดังนั้นในกรณีที่บริษัทดำเนินธุรกิจจนเจ๊ง เจ้าหนี้สามารถใช้สิทธิบังคับให้ผู้ถือหุ้นชำระค่าหุ้นคงเหลืออีก 75% ซึ่งหมายความว่า หุ้นที่ชำระไม่ครบ 75% มีสถานะเป็นหนี้ของผู้ถือหุ้นนั่นเอง ตัวอย่าง การประมาณงินลงทุน เช่น บริษัท ABCD จำกัด มีสมมติฐานว่าปีหน้าจะมียอดขายประมาณ 10 ล้านบาท ต้นทุนขายประมาณ 7.5 ล้านบาท และงบประมาณการลงทุนในสินทรัพย์ถาวร...

ช่วงเวลาในการซื้อขายหุ้น (Investment Timing)

ราคาหุ้นในตลาดหุ้น (Market Price) ถูกกำหนดมาจากปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก โดยมีรายละเอียดดังนี้ ปัจจัยภายนอก (External Factor) คือ ปัจจัยที่ไม่ได้มาจากกิจการโดยตรงซึ่งเป็นปัจจัยที่กิจการไม่สามารถควบคุมได้ เช่น กระแสเงินเงินทุนไหลออกและไหลเข้า (Fund Flow) วิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ การอัดฉีดเงินของธนาคารกลางของสหรัฐฯและยุโรป การลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ การปรับลดค่าเงินหยวน สงครามระหว่างประเทศและการก่อการร้ายในกลุ่มประเทศยุโรป จนถึง ตลาดหุ้นในสหรัฐอเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น และจีน ปรับตัวเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างรุนแรง การปรับลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล การปรับเพิ่มขึ้นหรือลดลงของราคาน้ำมัน การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ การเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมของธนาคาร การกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล การเปิดเสรีการค้าระหว่างประเทศ เป็นต้น ปัจจัยภายใน (Internal Factor) คือ ปัจจัยที่มาจากกิจการโดยตรง เช่น การขยายตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ การขยายไปสู่ธุรกิจใหม่ การขายหุ้นเพิ่มทุน การควบรวมกิจการ การซื้อและขายกิจการ การเพิ่มอัตราการก่อหนี้ในกิจการ การปิดบริษัทย่อย...

ต้นทุนเงินทุน (WACC)

ต้นทุนเงินทุน (Cost of Capital) หรือ ที่นิยมเรียกกันโดยทั่วไป คือ WACC (Weighted Average Cost of Capital) หมายถึง ต้นทุนทางการเงินเฉลี่ยของเงินทุน  มีประโยชน์เพื่อใช้ในการตัดสินใจว่าควรลงทุนหรือไม่ควรลงทุนในโครงการใดบ้างของบริษัท เช่น คุ้มค่าหรือไม่ที่จะลงทุนในโครงการใหม่ของบริษัท เป็นต้น อีกทั้ง WACC นี้ยังสามารถใช้ในการคำนวณหามูลค่าของกิจการ (Enterprise Value) และมูลค่าที่แท้จริงของหุ้น (Intrinsic Value of Stock) ได้อีกด้วย WACC ประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก 2 ประเภท คือ :- ประเภทที่ 1 ต้นทุนจากการเงินกู้ยืม หรือ ที่เข้าใจโดยทั่วไป คือ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืม (kd)   ประเภทที่ 2 ต้นทุนจากเงินทุนของผู้ถือหุ้น  หรือ ที่เข้าใจโดยทั่วไป คือ อัตราผลตอบแทนจากเงินปันผล (ke) เพื่อความง่ายในการทำความเข้าใจ WACC ขอยกตัวอย่างประกอบดังนี้ บริษัท A มีเงินทุนประกอบด้วย เงินกู้จากเจ้าหนี้ที่มีดอกเบี้ย 100 ล้านบาท และเงินทุนจากผู้ถือหุ้น 100 ล้านบาท ดังนั้นเงินทุนทั้งหมดของกิจการ A คือ เงินกู้จากเจ้าหนี้ฯ + เงินทุนจากผู้ถือหุ้น = 100 + 100 ล้านบาท เท่ากับ 200 ล...

ควรตั้งเป้ายอดขายขั้นต่ำเท่าไหร่

ถาม : ตอนนี้ผมทำธุรกิจส่วนตัว และต้องการตั้งเป้าหมายการขายให้กับฝ่ายขาย อาจารย์พอจะมีวิธีที่ใช้ประมาณการขายหรือเปล่าครับ ตอบ : การตั้งเป้าหมายในการขายให้กับฝ่ายขาย เราสามารถคำนวณหาได้จากจุดคุ้มทุนขาย (Break-Even point of Sales) คือ ยอดขายที่ทำไม่มีผลกำไรสุทธิและขาดทุนสุทธิ หรือ ยอดขายที่พอดีกับค่าใช้จ่ายของกิจการ หรืออีกนัยหนึ่ง คือยอดขายขั้นต่ำที่ต้องให้กับฝ่ายขาย โดยมีสูตรดังนี้                                              จุดคุ้มทุนขาย  =   ค่าใช้จ่ายคงที่                                                  ...