ถาม : ธุรกิจของผมก็มีกำไรอย่างสม่ำเสมอ ทำไมถึงขาดสภาพคล่องได้ล่ะครับ
ตอบ : กำไรที่บึนทึกตามบัญชี เป็นเกณฑ์สิทธิ ไม่ใช่เกณฑ์เงินสดครับ ดังนั้นกิจการที่มีกำไรจึงอาจขาดสภาพคล่องได้
ตัวอย่าง สมมติว่าบริษัท กขคง จำกัด มีงบกำไรขาดทุน ปีที่ 2 ดังนี้
รายได้จากการขาย 100 ล้านบาท
ต้นทุนขาย 70 ล้านบาท
ค่าใช้จ่ายในการบริหาร 20 ล้านบาท
กำไรก่อนหักภาษี 10 ล้านบาท
ภาษี 3 ล้านบาท
กำไรสุทธิ 7 ล้านบาท
หากดูจากผลการดำเนินงานข้างต้นจะเห็นว่ากิจการมีกำไร แต่เป็นกำไรตามเกณฑ์สิทธิ ดังนั้นหากต้องการดูสภาพคล่อง หรือสภาพเงินสด ต้องปรับตัวเลขใหม่โดยใช้สูตรดังนี้
รายได้จากการขาย เปลี่ยนเป็น เงินสดรับจากการขาย โดยใช้สูตรนี้
เงินสดรับจากการขาย = รายได้จากการขาย + ลูกหนี้การค้าต้นงวด – ลูกหนี้การค้าปลายงวด
ต้นทุนขาย เปลี่ยนเป็น เงินสดจ่ายค่าสินค้า โดยใช้สูตรนี้
เงินสดจ่ายค่าสินค้า = ซื้อ + เจ้าหนี้การค้าต้นงวด – เจ้าหนี้การค้าปลายงวด
ซื้อ = ต้นทุนขาย – สินค้าคงเหลือต้นงวด + สินค้าคงเหลือปลายงวด
ค่าใช้จ่าย เปลี่ยนเป็น เงินสดจ่ายค่าใช้จ่าย โดยใช้สูตรนี้
เงินสดจ่ายค่าใช้จ่าย = ค่าใช้จ่าย + ค่าใช้จ่ายค้างจ่ายต้นงวด – ค่าใช้จ่ายค้างจ่ายปลายงวด – ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้าต้นงวด + ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้าปลายงวด
สมมติว่าบริษัท กขคง จำกัด มีงบดุลส่วนสินทรัพย์ปีที่ 1 และปีที่ 2 ดังนี้
หน่วย : ล้านบาท
ปีที่ 1 ปีที่ 2
เงินสด 10 10
ลูกหนี้การค้า 20 40
สินค้าคงเหลือ 30 60
รวมสินทรัพย์หมุนเวียน 60 110
รวมสินทรัพย์ถาวร 40 40
รวมสินทรัพย์ 100 150
เจ้าหนี้ปีที่ 1 เท่ากับ 10 ล้านบาท ปีที่ 2 เท่ากับ 20 ล้านบาท
ไม่มีค่าใช้จ่ายค้างจ่าย และค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้าของปีที่ 1 และ ปีที่ 2
จากงบดุลข้างต้นเราสามารถปรับงบกำไรขาดทุน เป็นงบกำไรขาดทุนแบบเกณฑ์เงินสดดังนี้
เงินสดรับจากการขาย = 100 + 20 – 40 = 80
เงินสดจ่ายค่าสินค้า = 70 – 30 + 60 + 10 – 20 = 90
เมื่อไม่มีค่าใช้จ่ายค้างจ่ายและจ่ายล่วงหน้า จะทำให้ เงินสดจ่ายค่าใช้จ่าย เท่ากับ ค่าใช้จ่าย
ดังนั้นงบกำไรขาดทุนแบบเกณฑ์เงินสดของปีที่ 2 จึงมีรายละเอียดดังนี้
เงินสดรับจากการขาย 80 ล้านบาท
เงินสดจ่ายค่าสินค้า -90 ล้านบาท
ค่าใช้จ่ายในการบริหาร -20 ล้านบาท
เงินสดก่อนหักภาษี -30 ล้านบาท
เงินสดจ่ายภาษี -3 ล้านบาท
เงินสดหลังหักภาษี -33 ล้านบาท
(เครื่องหมายลบแสดงถึง เงินสดจ่าย)
สรุปได้ว่า กิจการมีกำไรที่เป็นเกณฑ์สิทธิ 7 ล้านบาท แต่เมื่อปรับเป็นเกณฑ์เงินสดกิจการขาดเงินสดถึง 33 ล้านบาท ซึ่งกรณีนี้หากกิจการไม่มีเงินสดคงเหลือต้นงวด 33 ล้านบาท กิจการจะขาดสภาพคล่องทันที
ตอบ : กำไรที่บึนทึกตามบัญชี เป็นเกณฑ์สิทธิ ไม่ใช่เกณฑ์เงินสดครับ ดังนั้นกิจการที่มีกำไรจึงอาจขาดสภาพคล่องได้
ตัวอย่าง สมมติว่าบริษัท กขคง จำกัด มีงบกำไรขาดทุน ปีที่ 2 ดังนี้
รายได้จากการขาย 100 ล้านบาท
ต้นทุนขาย 70 ล้านบาท
ค่าใช้จ่ายในการบริหาร 20 ล้านบาท
กำไรก่อนหักภาษี 10 ล้านบาท
ภาษี 3 ล้านบาท
กำไรสุทธิ 7 ล้านบาท
หากดูจากผลการดำเนินงานข้างต้นจะเห็นว่ากิจการมีกำไร แต่เป็นกำไรตามเกณฑ์สิทธิ ดังนั้นหากต้องการดูสภาพคล่อง หรือสภาพเงินสด ต้องปรับตัวเลขใหม่โดยใช้สูตรดังนี้
รายได้จากการขาย เปลี่ยนเป็น เงินสดรับจากการขาย โดยใช้สูตรนี้
เงินสดรับจากการขาย = รายได้จากการขาย + ลูกหนี้การค้าต้นงวด – ลูกหนี้การค้าปลายงวด
ต้นทุนขาย เปลี่ยนเป็น เงินสดจ่ายค่าสินค้า โดยใช้สูตรนี้
เงินสดจ่ายค่าสินค้า = ซื้อ + เจ้าหนี้การค้าต้นงวด – เจ้าหนี้การค้าปลายงวด
ซื้อ = ต้นทุนขาย – สินค้าคงเหลือต้นงวด + สินค้าคงเหลือปลายงวด
ค่าใช้จ่าย เปลี่ยนเป็น เงินสดจ่ายค่าใช้จ่าย โดยใช้สูตรนี้
เงินสดจ่ายค่าใช้จ่าย = ค่าใช้จ่าย + ค่าใช้จ่ายค้างจ่ายต้นงวด – ค่าใช้จ่ายค้างจ่ายปลายงวด – ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้าต้นงวด + ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้าปลายงวด
สมมติว่าบริษัท กขคง จำกัด มีงบดุลส่วนสินทรัพย์ปีที่ 1 และปีที่ 2 ดังนี้
หน่วย : ล้านบาท
ปีที่ 1 ปีที่ 2
เงินสด 10 10
ลูกหนี้การค้า 20 40
สินค้าคงเหลือ 30 60
รวมสินทรัพย์หมุนเวียน 60 110
รวมสินทรัพย์ถาวร 40 40
รวมสินทรัพย์ 100 150
เจ้าหนี้ปีที่ 1 เท่ากับ 10 ล้านบาท ปีที่ 2 เท่ากับ 20 ล้านบาท
ไม่มีค่าใช้จ่ายค้างจ่าย และค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้าของปีที่ 1 และ ปีที่ 2
จากงบดุลข้างต้นเราสามารถปรับงบกำไรขาดทุน เป็นงบกำไรขาดทุนแบบเกณฑ์เงินสดดังนี้
เงินสดรับจากการขาย = 100 + 20 – 40 = 80
เงินสดจ่ายค่าสินค้า = 70 – 30 + 60 + 10 – 20 = 90
เมื่อไม่มีค่าใช้จ่ายค้างจ่ายและจ่ายล่วงหน้า จะทำให้ เงินสดจ่ายค่าใช้จ่าย เท่ากับ ค่าใช้จ่าย
ดังนั้นงบกำไรขาดทุนแบบเกณฑ์เงินสดของปีที่ 2 จึงมีรายละเอียดดังนี้
เงินสดรับจากการขาย 80 ล้านบาท
เงินสดจ่ายค่าสินค้า -90 ล้านบาท
ค่าใช้จ่ายในการบริหาร -20 ล้านบาท
เงินสดก่อนหักภาษี -30 ล้านบาท
เงินสดจ่ายภาษี -3 ล้านบาท
เงินสดหลังหักภาษี -33 ล้านบาท
(เครื่องหมายลบแสดงถึง เงินสดจ่าย)
สรุปได้ว่า กิจการมีกำไรที่เป็นเกณฑ์สิทธิ 7 ล้านบาท แต่เมื่อปรับเป็นเกณฑ์เงินสดกิจการขาดเงินสดถึง 33 ล้านบาท ซึ่งกรณีนี้หากกิจการไม่มีเงินสดคงเหลือต้นงวด 33 ล้านบาท กิจการจะขาดสภาพคล่องทันที
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น