ตัวอย่าง สมมติว่าปีก่อนธุรกิจมีรายได้ 100 ล้านบาท เมื่อหักด้วยค่าใช้จ่ายทั้งหมด รวมทั้งภาษี 90 ล้านบาท ทำให้ธุรกิจมีกำไรสุทธิ 10 ล้านบาท หรือ คิดเป็น 10% ตามที่คุณบอก และสมมติต่อไปอีกว่ากำไรสุทธิ 10 ล้านบาท เป็นเงินสดทั้งหมดที่ 10 ล้านบาท
แต่ในปีนี้คุณวางแผนไว้ว่าจะมียอดขายเพิ่มขึ้น 20% จากปีก่อน และต้องมีการลงทุนเปิดร้านค้าเพิ่มขึ้นอีกจำนวน 2 แห่ง จากแผนงานของคุณ อันดับแรกคุณต้องลองคำนวณหาเงินทุนหมุนเวียนโดยใช้สูตรดังนี้
เงินทุนหมุนเวียน = ลูกหนี้การค้า + สินค้าคงเหลือ - เจ้าหนี้การค้า
ยอดขาย
คุณลองเปิดในงบการเงินของปีก่อนในส่วนของงบดุล คุณสามารถหารายการลูกหนี้การค้า สินค้าคงเหลือ และเจ้าหนี้การค้าได้ สมมติว่า ลูกหนี้การค้า 50 ล้านบาท สินค้าคงเหลือ 50 ล้านบาท และเจ้าหนี้การค้า 50 ล้านบาท ดังนั้นตอนนี้คุณสามารถหาเงินทุนหมุนเวียนได้ดังนี้
100
จากเงินทุนหมุนเวียนที่คำนวณได้ข้างต้น หากต้องการยอดขายเพิ่มขึ้น 20% หรือ 20 ล้านบาท (100x20%) ต้องใช้เงินทุนหมุนเวียน 10 ล้านบาท (20x0.5) และกิจการต้องการลงทุนเปิดร้านค้า 2 แห่ง สมมติว่าต้องใช้เงินลงทุนแห่งละ 2.5 ล้านบาท ดังนั้นทั้งหมด 2 แห่งต้องใช้เงินลงทุน 5.0 ล้านบาท
สรุปได้ว่าในปีนี้ต้องใช้เงินทั้งหมด 15 ล้านบาท ประกอบด้วย เงินทุนหมุนเวียนที่รองรับยอดขายเพิ่มขึ้นจำนวน 10 ล้านบาท และเงินลงทุนในสินทรัพย์ถาวรจากการเปิดร้านใหม่อีก 5 ล้านบาท ในขณะที่มีเงินสดจากปีก่อนแค่ 10 ล้านบาท จะพบว่ากิจการต้องการเงินทุนเพิ่มเติมอีก 5 ล้านบาท ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่คุณไม่มีเงินเก็บ แถมยังต้องหาเงินใส่เพิ่มเข้าไปในธุรกิจ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น