ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บันได 3 ขั้นสู่อิสรภาพทางการเงิน

ถาม : ตอนนี้ผมทำงานเป็นลูกจ้างครับ และคิดว่าจะออกมาทำธุรกิจส่วนตัว ควรจะเริ่มต้นอย่างไรบ้าง

ตอบ : ควรเริ่มต้นจาก “บันได 3 ขั้นสู่อิสรภาพทางการเงิน” โดยมีรายละเอียดดังนี้

บันไดขั้นแรก : ค้นหาธุรกิจ

1. เลือกหมวดอุตสาหกรรมจากตลาดหลักทรัพย์ที่ตัวเองมีความสนใจ หรือมีประสบการณ์โดยตรง หรือมีคนรู้จักที่อยู่ในอุตสาหกรรมนั้น
2. ศึกษาแนวโน้มของอุตสาหกรรมว่ามีทิศทางในระยะยาวเป็นอย่างไรเพื่อสรุปให้ได้ว่า อุตสาหกรรมอยู่ในช่วงขาลง หรือทรงตัว หรือช่วงขาขึ้น
3. เมื่อเลือกอุตสาหกรรมได้แล้ว ศึกษาบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในอุตสาหกรรมนั้นว่าสามารถทำกำไรได้หรือไม่จากงบการเงินย้อนหลัง และการแข่งขันมีความรุนแรงมากน้อยเพียงใด
4. ค้นหาว่าแต่ละบริษัทฯมีกลุ่มสินค้ากี่ประเภท ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายคือใคร และจัดจำหน่ายอย่างไร เพื่อที่จะนำมากำหนดตลาดเฉพาะ(Niche market) ของบริษัท

บันไดขั้นสอง : ทำแผนการเงิน

1. กำหนดรูปแบบการทำธุรกิจ การตั้งบริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือ คณะบุคคล หรือ บุคคลธรรมดา
2. กำหนดประเภทธุรกิจว่าจะเป็นแบบ ผลิต หรือ ซื้อมาขายไป หรือ บริการ และมีการบริหารจัดการอย่างไร นับตั้งแต่เริ่มต้นของสินค้าจนกระทั่งถึงมือลูกค้า
3. หาข้อมูลเพิ่มเติมทางการตลาดเพื่อนำมากำหนดรายได้ และต้นทุนขาย
4. จัดทำแผนผังองค์กร ประมาณกำลังคน และค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับพนักงาน
5. ประมาณค่าใช้จ่ายอื่นๆที่คาดว่าจะเกิดขึ้นโดยแบ่งเป็น ค่าใช้จ่ายผันแปร และค่าใช้จ่ายคงที่
6. ประมาณเงินทุนหมุนเวียน :ลูกหนี้การค้า สินค้าคงเหลือ เจ้าหนี้การค้า เงินสดหมุนเวียน
7. ประมาณงบลงทุน เช่น ค่าอุปกรณ์ ค่าสิทธิการเช่า เป็นต้น
8. จัดทำงบการเงินล่วงหน้าประมาณ 5 ปี ได้แก่ งบกำไรขาดทุน งบดุล และงบกระแสเงินสด (แบบวิธีอ้อม)

บันไดขั้นสาม : หาเงินลงทุน

1. จัดทำเอกสารเพื่อเสนอให้กับนายทุน ซึ่งประกอบ แผนการตลาด แผนผังองค์กร งบกำไรขาดทุน งบแหล่งที่มาของเงิน แหล่งที่ใช้ไปของเงิน และงบกระแสเงินสด แบบกระแสเงินสดรับ-กระแสเงินสดจ่าย
2. กำหนดสัดส่วนเงินลงทุนของนายทุน และอำนาจในการบริหารงานของนายทุน
3. ขั้นตอนที่ชัดเจนในเรื่องการอนุมัติการเบิกจ่ายการลงทุนที่สำคัญ
4. จัดทำเอกสารการจ่ายเงินปันผลจากงบกระแสเงินสดรับจ่าย และคิดอัตราเงินปันผลต่อปี
5. แสดงให้เห็นว่าส่วนเหลือจากเงินปันผลก็ยังเป็นเงินร่วมกันของนายทุน และนำไปทำไปใช้ประโยชน์อะไรบ้าง
6. กำหนดระยะเวลาสิ้นสุดการร่วมลงทุน และขั้นตอนการติดต่อกลับ
7. หนังสือแสดงเจตจำนงว่าจะร่วมลงทุน และหนังสือสัญญาการร่วมลงทุนของผู้ถือหุ้น (ถ้ามี)
เหตุผลในบันไดขั้นสามเป็นการหาเงินจากนายทุน ไม่ใช่จากธนาคาร เนื่องจากปกติแบงก์จะปล่อยเงินกู้ให้แก่บริษัทฯ เมื่อบริษัทฯมีการดำเนินงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี ดังนั้นในช่วงเริ่มต้นของการทำธุรกิจจึงต้องหาเงินจากนายทุนเท่านั้น

ข้อมูลเพิ่มเติม : หากท่านต้องการจัดทำงบการเงินล่วงหน้าได้ด้วยตนเองโดยใช้ Excel สามารถหาอ่านได้จาก คู่มือ เขียนแผนธุรกิจ สร้างงบการเงินด้วยตนเอง ซึ่งมีจำหน่ายที่ www.mebmarket.com




ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

กระบวนการลงทุนแนว VI

ควรมีทุนจดทะเบียนและชำระแล้วเท่าไหร่ดี

ถาม : ดิฉันกำลังคิดจะทำธุรกิจ อยากทราบว่าควรมีทุนจดทะเบียนและชำระแล้วเท่าไหร่ดีค่ะ ตอบ : คุณต้องประมาณเงินลงทุนทั้งหมด โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้ (1) ประมาณการเงินลงทุนสินทรัพย์ถาวร (2) ประมาณการเงินหมุนเวียนสุทธิ (Net Working Capital)  หลังจากนั้นคุณก็นำรายการที่ (1) บวกกับรายการที่ (2) แล้ว ผลรวมที่ได้คือ เงินลงทุนทั้งหมด ในกรณีที่คุณไม่ต้องการกู้เงิน เงินลงทุนทั้งหมดจะเป็นทุนที่ชำระแล้ว ตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์กำหนดไว้ว่า ผู้ถือหุ้นต้องชำระค่าหุ้นขั้นต่ำ 25% ของทุนจดทะเบียน ยกตัวอย่างเช่น หากคุณจดทะเบียน 1.0 ล้านบาท คุณต้องชำระค่าหุ้นขั้นต่ำ 250,000 บาท ส่วนที่เหลืออีก 75% ถือว่าเป็นภาระผูกพันของผู้ถือหุ้นที่มีต่อบริษัท ดังนั้นในกรณีที่บริษัทดำเนินธุรกิจจนเจ๊ง เจ้าหนี้สามารถใช้สิทธิบังคับให้ผู้ถือหุ้นชำระค่าหุ้นคงเหลืออีก 75% ซึ่งหมายความว่า หุ้นที่ชำระไม่ครบ 75% มีสถานะเป็นหนี้ของผู้ถือหุ้นนั่นเอง ตัวอย่าง การประมาณงินลงทุน เช่น บริษัท ABCD จำกัด มีสมมติฐานว่าปีหน้าจะมียอดขายประมาณ 10 ล้านบาท ต้นทุนขายประมาณ 7.5 ล้านบาท และงบประมาณการลงทุนในสินทรัพย์ถาวร...

ช่วงเวลาในการซื้อขายหุ้น (Investment Timing)

ราคาหุ้นในตลาดหุ้น (Market Price) ถูกกำหนดมาจากปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก โดยมีรายละเอียดดังนี้ ปัจจัยภายนอก (External Factor) คือ ปัจจัยที่ไม่ได้มาจากกิจการโดยตรงซึ่งเป็นปัจจัยที่กิจการไม่สามารถควบคุมได้ เช่น กระแสเงินเงินทุนไหลออกและไหลเข้า (Fund Flow) วิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ การอัดฉีดเงินของธนาคารกลางของสหรัฐฯและยุโรป การลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ การปรับลดค่าเงินหยวน สงครามระหว่างประเทศและการก่อการร้ายในกลุ่มประเทศยุโรป จนถึง ตลาดหุ้นในสหรัฐอเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น และจีน ปรับตัวเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างรุนแรง การปรับลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล การปรับเพิ่มขึ้นหรือลดลงของราคาน้ำมัน การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ การเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมของธนาคาร การกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล การเปิดเสรีการค้าระหว่างประเทศ เป็นต้น ปัจจัยภายใน (Internal Factor) คือ ปัจจัยที่มาจากกิจการโดยตรง เช่น การขยายตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ การขยายไปสู่ธุรกิจใหม่ การขายหุ้นเพิ่มทุน การควบรวมกิจการ การซื้อและขายกิจการ การเพิ่มอัตราการก่อหนี้ในกิจการ การปิดบริษัทย่อย...

ต้นทุนเงินทุน (WACC)

ต้นทุนเงินทุน (Cost of Capital) หรือ ที่นิยมเรียกกันโดยทั่วไป คือ WACC (Weighted Average Cost of Capital) หมายถึง ต้นทุนทางการเงินเฉลี่ยของเงินทุน  มีประโยชน์เพื่อใช้ในการตัดสินใจว่าควรลงทุนหรือไม่ควรลงทุนในโครงการใดบ้างของบริษัท เช่น คุ้มค่าหรือไม่ที่จะลงทุนในโครงการใหม่ของบริษัท เป็นต้น อีกทั้ง WACC นี้ยังสามารถใช้ในการคำนวณหามูลค่าของกิจการ (Enterprise Value) และมูลค่าที่แท้จริงของหุ้น (Intrinsic Value of Stock) ได้อีกด้วย WACC ประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก 2 ประเภท คือ :- ประเภทที่ 1 ต้นทุนจากการเงินกู้ยืม หรือ ที่เข้าใจโดยทั่วไป คือ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืม (kd)   ประเภทที่ 2 ต้นทุนจากเงินทุนของผู้ถือหุ้น  หรือ ที่เข้าใจโดยทั่วไป คือ อัตราผลตอบแทนจากเงินปันผล (ke) เพื่อความง่ายในการทำความเข้าใจ WACC ขอยกตัวอย่างประกอบดังนี้ บริษัท A มีเงินทุนประกอบด้วย เงินกู้จากเจ้าหนี้ที่มีดอกเบี้ย 100 ล้านบาท และเงินทุนจากผู้ถือหุ้น 100 ล้านบาท ดังนั้นเงินทุนทั้งหมดของกิจการ A คือ เงินกู้จากเจ้าหนี้ฯ + เงินทุนจากผู้ถือหุ้น = 100 + 100 ล้านบาท เท่ากับ 200 ล...

ควรตั้งเป้ายอดขายขั้นต่ำเท่าไหร่

ถาม : ตอนนี้ผมทำธุรกิจส่วนตัว และต้องการตั้งเป้าหมายการขายให้กับฝ่ายขาย อาจารย์พอจะมีวิธีที่ใช้ประมาณการขายหรือเปล่าครับ ตอบ : การตั้งเป้าหมายในการขายให้กับฝ่ายขาย เราสามารถคำนวณหาได้จากจุดคุ้มทุนขาย (Break-Even point of Sales) คือ ยอดขายที่ทำไม่มีผลกำไรสุทธิและขาดทุนสุทธิ หรือ ยอดขายที่พอดีกับค่าใช้จ่ายของกิจการ หรืออีกนัยหนึ่ง คือยอดขายขั้นต่ำที่ต้องให้กับฝ่ายขาย โดยมีสูตรดังนี้                                              จุดคุ้มทุนขาย  =   ค่าใช้จ่ายคงที่                                                  ...